วิธีการบันทึกปรับเงินเดือนระหว่างงวด



       สำหรับสารสัมพันธ์ฉบับประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563 นี้  ทีมงานขอแนะนำความรู้เรื่องการบันทึกปรับเงินเดือน โดยมีขั้นตอนและหลักการบันทึกปรับเงินเดือน ดังนี้

 

1. กรณีเป็นพนักงานรายเดือน

 

 

ตัวอย่างนายศิระ ชาติพจน์ มีอัตราเงินเดือน 50,000บาท/เดือนในวันที่ 11/01/2563 ได้รับการปรับเงินเดือนเป็นอัตราใหม่เท่ากับ 60,000 บาท/เดือน
ก่อนปรับเงินเดือน มีค่าล่วงเวลา1.5 เท่า = 25 ชม. 
หลังปรับเงินเดือน มีค่าล่วงเวลา1.5 เท่า = 35 ชม. 

1.1 การบันทึกข้อมูลปรับเงินเดือน


  >> เลือกหน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือกหน้าจอเงินได้เงินหัก >> เลือก ไอคอนเพิ่มเติม >> เลือก ปรับเงินเดือน  >> เลือก บันทึกหลายพนักงานอัตราใหม่ไม่เท่ากัน >> คลิก ปุ่มอ่านค่าเดิม >> เลือก พนักงานที่ต้องการปรับเงินเดือน >> ระบุ วันที่เริ่มอัตราใหม่ >> ระบุ อัตราใหม่ >> กดปุ่มลูกศรลงที่แป้นคีย์บอร์ด >> คลิก ปุ่มบันทึกจบ  





1.2  การบันทึกเงินเพิ่มเงินหักกรณีที่มีการปรับเงินเดือนพนักงานในระหว่างงวด


กรณีที่มีการปรับเงินเดือนพนักงานในระหว่างงวด เพื่อให้โปรแกรมคำนวณเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างต่อวัน เช่น ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า หรือเงินหักขาดงาน เป็นต้น ทั้งจากอัตราเงินเดือนเก่า และอัตราเงินเดือนใหม่ได้อย่างถูกต้อง ผู้ใช้งานจะต้องบันทึกเงินเพิ่มเงินหักแต่ละประเภทของพนักงานแต่ละคน โดยแยกเป็น 2 รายการดังนี้
-รายการแรก :บันทึกเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราเงินเดือนเก่า ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของเงินเพิ่มเงินหักของพนักงานเป็น วันที่ก่อนวันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่
-รายการที่สอง :บันทึกเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราเงินเดือนใหม่ ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของเงินเพิ่มเงินหักของพนักงานเป็น วันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่

วิธีการบันทึกข้อมูลเงินเพิ่มเงินหักอื่นๆ

  >> เลือกหน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือกหน้าจอเงินได้เงินหัก >> เลือก ไอคอนเพิ่มเติม >> เลือก เงินเพิ่มเงินหักอื่นๆ >> เลือก บันทึกหลายพนักงานหลายประเภทเงินเพิ่มเงินหัก >> คลิก ปุ่มอ่านค่าเดิม >> จากนั้นทำการบันทึกรายการเงินเพิ่มเงินหักแต่ละประเภทของพนักงานโดยแยกเป็น 2 รายการ คือ รายการก่อนปรับเงินเดือน และรายการหลังปรับเงินเดือน ตามตัวอย่างดังรูป >> กดปุ่มลูกศรลงที่แป้นคีย์บอร์ด >> คลิก ปุ่มบันทึกจบ  






     

1.3 วิธีการตรวจสอบผลการคำนวณ


หลังจากทำการคำนวณเงินเดือน โปรแกรมจะทำการคำนวณเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างต่อวัน เช่น ค่าล่วง เวลา 1.5 เท่า เป็นต้น ทั้งจากอัตราเงินเดือนเก่า และอัตราเงินเดือนใหม่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบผลการคำนวณได้ตามขั้นตอนด้านล่างนี้

  >> หน้าจอ ผลคำนวณเงินเดือน >> คลิก เลือกแผนกของพนักงานที่ต้องการตรวจสอบ >> เลือก ชื่อพนักงานที่ต้อง การตรวจสอบ >> คลิกเมาส์ขวา>> เลือก แสดงผลการคำนวณ  

 

วิธีคิดอัตราเงินเดือน: กรณีที่มีการปรับเงินเดือนระหว่างงวด
อัตราเงินเดือน ก่อนปรับเงินเดือน มีวันทำงาน 10 วัน = (50,000/31)x10 =16,129.00 บาท
อัตราเงินเดือน หลัง ปรับเงินเดือน มีวันทำงาน 21 วัน = (60,000/31)x21= 40,645.19บาท
ดังนั้น อัตราเงินเดือนทั้งก่อนปรับเงินเดือนและหลังปรับเงินเดือน รวมเงินทั้งสิ้น 56,774.19บาท
หมายเหตุ: สำหรับกรณีปรับเงินเดือนระหว่างงวด โปรแกรมจะนำอัตราเงินเดือนมาหารจำนวนวันจริงในเดือน เพื่อหาอัตราค่าจ้างต่อวัน

วิธีคิดค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า: กรณีที่มีการปรับเงินเดือนระหว่างงวด
ก่อนปรับเงินเดือน มีค่าล่วงเวลา1.5 เท่า 25 ชม.  =  50,000/30/8x1.5x25 = 7,812.50 บาท
หลังปรับเงินเดือน มีค่าล่วงเวลา1.5 เท่า  35 ชม.  =  60,000/30/8x1.5x35 = 13,125.00 บาท
ดังนั้น ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า ทั้งหมด 60 ชม. รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,937.50 บาท

 

 

2. กรณีเป็นพนักงานรายวัน

 


ตัวอย่างน.ส.อัญชุลีมีสายใจ มีอัตราค่าจ้าง 500บาท/วันในวันที่ 11/01/2563  มีการปรับค่าจ้างเป็นอัตราใหม่เท่ากับ 600 บาท/วัน
ก่อนปรับเงินเดือน
- จำนวนวันทำงาน = 8 วัน
- ขาดงาน = 1 วัน
หลังปรับเงินเดือน
- จำนวนวันทำงาน = 18 วัน
- ขาดงาน = 1 วัน

2.1 การบันทึกข้อมูลปรับเงินเดือน


  >> เลือกหน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือกหน้าจอเงินได้เงินหัก >> เลือก ไอคอนเพิ่มเติม >> เลือก ปรับเงินเดือน >> เลือก บันทึกหลายพนักงานอัตราใหม่ไม่เท่ากัน >> คลิก ปุ่มอ่านค่าเดิม >> เลือก พนักงานที่ต้องการปรับเงินเดือน >> ระบุ วันที่เริ่มอัตราใหม่ >> ระบุ อัตราใหม่ >> กดปุ่มลูกศรลงที่แป้นคีย์บอร์ด >> คลิก ปุ่มบันทึกจบ  






2.2 การบันทึกจำนวนวันทำงานของพนักงานรายวันกรณีที่มีการปรับเงินเดือนพนักงานในระหว่างงวด


กรณีที่มีการบันทึกปรับเงินเดือนให้พนักงานรายวัน โดยระบุวันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่เป็นวันที่ในระหว่างงวดของงวดนั้นๆ  เช่น รอบการคำนวณเงินเดือนของเดือน มกราคม เริ่มตั้งแต่วันที่ 01/01/2563 – 31/01/2563และวันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่เป็นวันที่  11/01/2563 เพื่อให้โปรแกรมคำนวณเงินเดือนของพนักงานรายวันจากทั้งอัตราค่าจ้างเก่า และอัตราค่าจ้างใหม่ได้อย่างถูกต้อง ท่านจะต้องบันทึกจำนวนวันทำงานของพนักงานรายวันแต่ละคน โดยแยกเป็น 2 รายการดังนี้
-รายการแรก: บันทึกจำนวนวันทำงานของอัตราค่าจ้างเก่า ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของจำนวนวันทำงานของพนักงานรายวันเป็น วันที่ก่อนเริ่มอัตราค่าจ้างใหม่
-รายการที่สอง: บันทึกจำนวนวันทำงานของอัตราค่าจ้างใหม่ ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของจำนวนวันทำงานของพนักงานรายงานวันเป็น วันที่เริ่มอัตราค่าจ้างใหม่

วิธีการบันทึกข้อมูลจำนวนวันทำงานของพนักงานรายวัน

  >> เลือกหน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือกหน้าจอเงินได้เงินหัก >> เลือก ไอคอนเพิ่มเติม >> เลือก จำนวนวันทำงานพนักงานรายวัน >> เลือก บันทึกหลายพนักงานหลายประเภทเงินเพิ่มเงินหัก >> คลิก ปุ่มอ่านค่าเดิม >>จากนั้นทำการบันทึกรายการเงินเพิ่มเงินหักแต่ละประเภทของพนักงานโดยแยกเป็น 2 รายการ คือ รายการก่อนปรับเงินเดือน และรายการหลังปรับเงินเดือน ตามตัวอย่างดังรูป >> กดปุ่มลูกศรลงที่แป้นคีย์บอร์ด >> คลิก ปุ่มบันทึกจบ  




2.3 การบันทึกเงินเพิ่มเงินหักกรณีที่มีการปรับเงินเดือนพนักงานในระหว่างงวด


กรณีที่มีการปรับเงินเดือนพนักงานในระหว่างงวด เพื่อให้โปรแกรมคำนวณเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างต่อวัน เช่น ค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า หรือเงินหักขาดงาน เป็นต้น ทั้งจากอัตราค่าจ้างเก่า และอัตราค่าจ้างใหม่ได้อย่างถูกต้อง ท่านจะต้องบันทึกเงินเพิ่มเงินหักแต่ละประเภทของพนักงานแต่ละคน โดยแยกเป็น 2 รายการดังนี้
- รายการแรก บันทึกเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างเก่า ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของเงินเพิ่มเงินหักของพนักงานเป็น วันที่ก่อนวันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่
- รายการที่สอง บันทึกเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างใหม่ ซึ่งต้องระบุวันที่รายการของเงินเพิ่มเงินหักของพนักงานเป็น วันที่เริ่มอัตราเงินเดือนใหม่

วิธีการบันทึกข้อมูลเงินเพิ่มเงินหักอื่นๆ

  >> เลือกหน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือกหน้าจอเงินได้เงินหัก >> เลือก ไอคอนเพิ่มเติม >> เลือก เงินเพิ่มเงินหักอื่นๆ >> เลือก บันทึกหลายพนักงานหลายประเภทเงินเพิ่มเงินหัก >> คลิก ปุ่มอ่านค่าเดิม >> จากนั้นทำการบันทึกรายการเงินเพิ่มเงินหักแต่ละประเภทของพนักงานโดยแยกเป็น 2 รายการ คือ รายการก่อนปรับเงินเดือน และรายการหลังปรับเงินเดือน ตามตัวอย่างดังรูป >> กดปุ่มลูกศรลงที่แป้นคีย์บอร์ด >> คลิก ปุ่มบันทึกจบ  





2.4 วิธีการตรวจสอบผลการคำนวณ


หลังจากทำการคำนวณเงินเดือน โปรแกรมจะทำการคำนวณค่าจ้าง และเงินเพิ่มเงินหักที่คำนวณจากฐานอัตราค่าจ้างต่อวัน เช่น หักขาดงาน เป็นต้น ทั้งจากอัตราเงินเดือนเก่า และอัตราเงินเดือนใหม่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบผลการคำนวณได้ตามขั้นตอนด้านล่างนี้

  >> หน้าจอ งานเงินเดือน >> เลือก ผลการคำนวณเงินเดือน >> คลิก เลือกแผนกของพนักงานที่ต้องการตรวจสอบ >> เลือก ชื่อพนักงานที่ต้อง การตรวจสอบ >> คลิกเมาส์ขวา >> เลือก แสดงผลการคำนวณ  


 

วิธีคิดค่าจ้างของพนักงานรายวัน กรณีที่มีการปรับเงินเดือนระหว่างงวด
ก่อนปรับเงินเดือน มีจำนวนวันทำงาน 8 วัน  = 500 x 8 =4,000.00 บาท
หลังปรับเงินเดือน มีจำนวนวันทำงาน 18 วัน  =  600 x 18 = 10,800.00บาท
ดังนั้น ค่าจ้างทั้งหมด 26 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,800.00 บาท

วิธีคิดเงินหักขาดงาน กรณีที่มีการปรับเงินเดือนระหว่างงวด
ก่อนปรับเงินเดือน มีขาดงาน 1 วัน  =  500 x 1 =500.00 บาท
หลังปรับเงินเดือน มีขาดงาน 1 วัน  =  600 x 1 = 600.00 บาท
ดังนั้น ขาดงานทั้งหมด  2 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,100.00 บาท

ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สารสัมพันธ์ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าทุกท่านในการให้คำแนะนำการปรับเงินเดือนระหว่างงวดได้อย่างถูกต้องทีมงานยังคงมุ่งมั่นที่จะเลือกข่าวสารและความรู้ที่เป็นประโยชน์มานำเสนอให้สมาชิกทุกท่านอย่างต่อเนื่องค่ะ โปรดติดตามต่อไปในฉบับหน้านะคะ

ฝ่ายบริการหลังการขายด้านผู้ชำนาญการโปรแกรม (ระบบเงินเดือน)

สำหรับท่านที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายขาย หรือฝ่ายบริการหลังการขาย

 

โทร. : ฝ่ายบริการ 0-2880-8800, 0-2409-5409 ฝ่ายขาย 0-2880-9700
E-mail : support_payroll@businessplus.co.th
Web board : http://www.businessplus.co.th/forum/index.php

 


ขอแนะนำช่องทางการอบรมผ่าน Youtube สำหรับท่านที่ไม่สะดวกเข้าอบรมที่ศูนย์บริการ Business Plus ในทุก ๆ หลักสูตร ท่านสามารถสมัครการอบรมได้ที่ www.businessplus.co.th
ส่วนงานบริการ หรือท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือดาวน์โหลดอับเกรดโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันได้ที่ www.businessplus.co.th

หรือติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายบริการหลังการขาย 0-2880-8800, 0-2409-5409 ฝ่ายขาย 0-2880-9700

 

 

© Copyrights บริษัท อี-บิซิเนส พลัส จำกัด All Rights Reserved

12-14 ซอยบรมราชชนนี 39 ถ.บรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ฝ่ายขาย 02 880 9700 , 02 409 5409 ฝ่ายบริการและอื่น ๆ 02 880 8800
Mobile Call Center 080-915-5660 , 065-629-0509 , 094-997-3559