เปิด “ร้านขายของชำ” ทำอย่างไรให้ขายดีมีกำไร

“ร้านขายของชำ” หรือร้านโชห่วย ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดนิยมในไทย ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะเจอกับร้านขายของทุกที่ สำหรับใครที่กำลังมีแพลนจะเปิดร้านขายของชำ แต่ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรหรือเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เราไปดูกัน

1.ศึกษาตลาด และศึกษาคู่แข่ง

ร้านขายของชำ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากเพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะเจอร้านขายของอยู่ทุกที่ แต่ใช่ว่ามีร้านเปิดอยู่แล้วเราจะเปิดอีกไม่ได้ อยากให้ลองสังเกตุดูว่า หากคิดจะเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ไหน ก็ต้องดูว่า คนในพื้นที่นั้นยังต้องการสินค้าประเภทใดบ้าง

โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ร้านขายของชำ มินิมาร์ท และร้านสะดวกซื้อทั่วไปมีบริการ ได้แก่ อาหารพร้อมทาน อาหารแห้ง เครื่องดื่ม ของใช้ เป็นต้น ดังนั้น เราควรดูว่ามีสินค้าประเภทใดที่ยังขาดอยู่ แล้วเลือกสินค้านั้นมาขายให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พยายามมีสินค้าให้หลากหลาย ความหลากหลายจะช่วยดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น

2.ศึกษาขั้นตอนการจดทะเบียน

หากคุณกำลังวางแผนเปิดร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือว่าร้านสะดวกซื้อ ก็ต้องมีการยื่นเอกสารเพื่อการจดทะเบียนร้านหรือจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า/บุคคลธรรมดา ซึ่งตามหลักของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีการเตรียมเอกสารเพื่อใช้ควบคู่กับการดำเนินการ ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของเจ้าของหรือของผู้จัดการแล้วแต่กรณี
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
  • หนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประชาชนประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้สามารถดูเอกสารในการจดทะเบียนพาณิชย์ได้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย ! และเมื่อคุณเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็จะช่วยให้จดทะเบียนร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อของคุณได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

หมายเหตุ :

  • ในการจดทะเบียนพาณิชย์คุณจะต้องตั้งชื่อร้านไปด้วย
  • หากจะขายเหล้า บุหรี่ ในการจดทะเบียนพาณิชย์คุณจะต้องตั้งชื่อร้านไปด้วย

3.เลือกทำเลให้ดี ขายได้แน่นอน

ทำเล ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างมากสำหรับการเปิดร้านขายของ ซึงแนวทางของการเลือกทำเลมีดังนี้

  • อยู่ในพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังร้าน เพื่อให้มองเห็นได้หลายมุมและเพิ่มโอกาสในการขาย
  • ไม่ควรอยู่ในบริเวณทางสามแพร่ง ซึ่งทางโบราณเชื่อว่าเป็นทำเลที่ไม่ดีและตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ทางสามแพร่งถือว่าไม่เป็นมงคลแก่การค้าขาย
  • อยู่ใกล้กับร้านอื่น ไม่ควรอยู่โดด ๆ แต่ควรมีร้านค้าอื่น ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย และจำไว้ว่าร้านขายของชำของคุณต้องอยู่ในแหล่งที่ผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย
  • มีที่จอดรถสำหรับลูกค้า อาจจะเป็นที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเป็นที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบายก็ได้ ลองนึกดูว่าถ้าคุณเป็นลูกค้าเองและต้องเดินทางไปร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ก็คงจะไม่อยากไปสักเท่าไหร่จริงไหมล่ะ ?
  • อยู่ในทำเลที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาจจะเปิดในชุมชน ใกล้โรงเรียน ใกล้มหาลัย หรือพื้นที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็พอ
  • ขยายพื้นที่ได้ ทำเลที่ดีจะต้องช่วยให้คุณขยายพื้นที่ร้านในอนาคตได้ด้วย เพราะเมื่อร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณไปได้สวย ยังไงคุณก็อยากขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าแน่นอน

4.ตกแต่งร้านให้โดนใจลูกค้า

ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านขายของแบบห้องแถว ห้องเช่า แบบมีหน้าร้านถาวร หรือจะเป็นล็อคขายของในตลาดนัด การตกแต่งร้านก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสมัยนี้การตกแต่งที่สวย อาร์ต มีเอกลักษณ์ และเข้ากับสินค้าที่ขายนั้นเป็นตัวช่วยดึงดูดลูกค้าให้เราเป็นอย่างดี ส่วนใครที่คิดแนวทางการตกแต่งไม่ออก เน้นความเรียบง่าย โปร่ง โล่งสบาย และทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้สะดวกที่สุด หยิบสินค้ามาชำระเงินได้ง่ายที่สุด สิ่งเหล่านี้คือเทคนิคสำคัญที่เราอยากแนะนำ

5.ประเมินต้นทุนทั้งหมด

งบในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้านที่ต้องการเปิด งบโดยประมาณ 

  • หากไม่มีพื้นที่และต้องก่อสร้างใหม่ทั้งหมด งบเริ่มต้นก็อาจจะอยู่ที่ 100,000 บาท
  • ถ้ามีพื้นที่อยู่แล้ว แค่ต้องจ่ายค่าสินค้าหมุนเวียนในร้าน ตุนสต๊อกสินค้า หรือตู้ทำความเย็นก็อาจจะเริ่มต้นที่ 50,000-80,000 บาท
  • ถ้าต้องเช่าที่และซื้อสินค้ามาหมุนเวียนในร้าน ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 50,000-100,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกทีว่า งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน หากคุณวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ และมีพื้นที่อยู่แล้วก็จะใช้งบน้อยหน่อยกว่านี้ ดังนั้นถ้าจะให้ดีจริง ๆ คุณควรค่อย ๆ ลงทุนเปิดร้านขายของชำตามงบที่มีก่อนจะดีกว่า แล้วถ้าร้านไปได้สวยก็ค่อยขยายกิจการร้านของชำของคุณ จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเจ๊ง

6.มองหาแหล่งสินค้าราคาถูกหรือสินค้าคุณภาพราคาประหยัด

เมื่อสำรวจตลาดความต้องการของลูกค้าจนรู้แล้วว่าจะนำสินค้าประเภทใดมาขายบ้าง ขั้นตอนต่อมา คือ การมองหาแหล่งวัตถุดิบหรือสินค้าราคาถูกเพื่อให้เราสามารถประหยัดต้นทุนมากที่สุด ซึ่งควรเปรียบเทียบราคาจากหลายๆแหล่ง รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าด้วย ปัจจุบันมีแหล่งค้าส่งอยู่มากมายให้เลือกซื้อ ซึ่งจะมีการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า นี่ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสในการเพิ่มกำไร ดังนั้นควรติดตามข่าวสารจากแหล่งค้าส่งต่างๆ เพื่อไม่พลาดโอกาสในการซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติ

7.ตั้งราคาขายให้เหมาสม

การตั้งราคาขายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยในเรื่องของการตัดสินใจซื้อจากลูกค้า หากคุณตั้งราคาสินค้าต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อกำไรร้าน หรือเผลอ ๆ หากตั้งราคาผิดก็เสี่ยงต่อการขาดทุนไปเลย แต่ถ้าตั้งราคาสูงเกินไป ก็จะขายของไม่ออก ของแพงลูกค้าไม่อยากซื้อ โดยเกณฑ์การตั้งราคาสินค้าสำหรับร้านขายของชำมีดังนี้

  • กำไรควรจะอยู่ที่ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ จากราคาขาย 
  • ไม่ตั้งราคาแพงจนเกินไป เพราะสินค้าบางตัวมีป้ายราคาบอกอย่างชัดเจน การขายแพงกว่าที่ราคากำหนดทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อ
  • ทำโปรโมชั่น เช่น การจับคู่สินค้าราคาถูก อย่างการขายขนมพร้อมน้ำดื่มให้ลูกค้าซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าซื้อแยกชิ้น

8.ขายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์

ในเมื่อเรามีหน้าร้านแล้ว การจะมีหน้าร้านออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ LINE รวมถึงมีบริการเดลิเวอรี่สำหรับลูกค้าพื้นที่ใกล้เคียงด้วย นอกจากจะใช้เป็นช่องทางการขาย ยังเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์หรือการทำการตลาดได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งไม่ต้องลงทุนอะไรมาก

ที่มา ชี้ช่องทางรวย

 

BUSINESS PLUS POS สุดยอดโปรแกรมบริหารงานค้าปลีก-ค้าส่งสำเร็จรูป ระบบขายหน้าร้าน ระบบคิดเงิน โปรแกรมคิดเงินร้านค้า บริหารการจัดแคมเปญ/โปรโมชั่น บริหารจัดการสมาชิก เพื่อการซื้อซ้ำ และเพิ่มยอดขาย เติมเต็มสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับได้หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น ร้านค้าปลีก (Retail) ร้านค้าส่ง Wholesale ห้างสรรพสินค้า(Department Store) ช็อปปิ้งมอลล์ (Shopping Mall) ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ร้านขายของชำ (Grocery Store) ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) พร้อมมีระบบให้ท่านเลือกใช้ตามขนาดธุรกิจ เพื่อขยายธุรกิจได้อย่างมั่นคง