จัดการสินค้าขายไม่ออก – ระบายสินค้าค้างสต็อกอย่างไรดี? ให้คืนทุนมากที่สุด

หนึ่งในปัญหาของการขายสินค้า คือ จะมีสินค้าที่ขายไม่ออก ทำให้หลายๆร้าน จะต้องพยายามระบายสินค้าค้างสต็อก เพราะหากไม่ทำการระบายสินค้าเหล่านี้ จะทำให้พื้นที่ในการเก็บสินค้าเต็มไปด้วยสินค้าเก่า และยังจะทำให้เกิดปัญหาทุนจม การระบายสินค้าค้างสต็อกจึงจำเป็นจำจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และจะไม่ทำให้การขายสินค้านั้นขาดทุน

วิธีการจัดการสินค้าขายไม่ออก และระบายสินค้าค้างสต็อก

1. วางโชว์สินค้าค้างสต็อก ให้เด่นกว่าสินค้าตัวอื่น

วิธีทำก็คือ หากเป็นสินค้าที่ขายหน้าร้าน ให้วางสินค้าตัวนั้นใกล้ๆทางเข้าร้าน หรือบริเวณจุดชำระเงิน อาจจะมีป้ายกำกับว่า “สินค้าแนะนำ” เพื่อให้ลูกค้าเกิดสะดุดตา เวลาลูกค้าเดินผ่านมาเห็น จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าตัวนี้เป็นสินค้าที่น่าลองเอาไปใช้หรือลองไปรับประทาน สำหรับกลุ่มที่ขายของทางออนไลน์ก็อาจจะใช้วิธีปักหมุดให้สินค้า ให้อยู่ในหน้าแรกของเว็บไซต์หรือบริเวณอยู่ด้านบนสุดของแต่ละหมวดหมู่

2. ลดราคาของสินค้าให้มากกว่าสินค้าตัวอื่น หรือจัดทำเป็นโปรโมชั่น

เมื่อขายสินค้าเป็นระยะเวลาหนึ่ง สินค้าจะเริ่มขายไม่ออก คุณจำเป็นจะต้องรีบลดราคาสินค้าให้ขายออกโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้คุณอาจจะทำโปรโมชั่น ส่วนลด หรือส่งฟรี

3. ทำให้เป็นสินค้าของแถม พ่วงกับสินค้าที่ลูกค้าซื้อไป

วิธีการนี้คือ การจัดโปรโมชั่นซื้อสินค้าบางอย่าง และแถมสินค้าที่เราต้องการล้างสต็อก วิธีการนี้นอกจากจะดึงดูดลูกค้าให้อยากจะซื้อสินค้าแล้ว ยังจะเป็นวิธีการระบายสินค้าค้างสต็อกได้เป็นอย่างดี

4. ขายขาดทุน

วิธีนี้การนี้อาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดี แต่เมื่อสินค้าของคุณค้างสต็อกมาเป็นเวลานาน สินค้าจะเริ่มเสื่อมสภาพ จึงจำเป็นจะต้องขายในราคาที่ถูกกว่าปกติ โดยอาจจะขายราคาเท่าทุน หรือต่ำกว่าทุน

5.ติดต่อกับผู้ผลิตสินค้า

วิธีนี้คือ การติดต่อเพื่อคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าอื่นๆ คุณจะต้องลองคุยกับทางผู้ผลิตสินค้าว่า จะสามารถช่วยแก้ปัญหา สินค้าที่ขายไม่ออกได้หรือไม่ เพราะบางครั้งผู้ผลิตเอง จะช่วยติดต่อหาทางออกให้กับคุณ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และบริษัทผู้ผลิตสินค้า

เทคนิคแก้ปัญหาจัดการสินค้าค้างสต็อก

1. วางแผนก่อนสั่งสินค้า

ขั้นตอนนี้คือการที่คุณจะต้องสังเกตออร์เดอร์ของคุณ ว่าสินค้าตัวไหนขายได้ หรือขายไม่ได้ สังเกตจากยอดขายในแต่ละเดือน ทั้งนี้คุณจะต้องดูว่าสินค้าที่ขายดีนั้นอยู่ในเทรนด์ หรืออยู่ในช่วงฤดูกาลซื้อสินค้านั้นๆหรือไม่

2.เข้าใจคลังสินค้าของตนเองผ่านช่องทางการขาย

ในแต่ละช่องทางการขายสินค้า จะมีลูกค้าที่แตกต่างกัน อาทิเช่น ขายในเฟสบุ๊ค อาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่ซื้อสินค้า แต่ถ้าขายใน Shopee ลูกค้าของคุณอาจจะเป็นวัยรุ่น ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละช่องทางการขายสินค้า จะต้องมีการจัดสต็อกแต่ละช่องทางที่ไม่เท่ากัน วิธีนี้คือ ให้สังเกตว่าแต่ละช่องทางใครคือลูกค้าของคุณ จากนั้นตัดสต็อกสินค้าไปลงขายให้ถูกช่องทาง

3.เลือกใช้โปรแกรม บริหารคลังสินค้า

หากคุณขายสินค้า 100 ชิ้น โดยไม่ได้ใช้โปรแกรมบริหารคลังสินค้า คุณอาจจะต้องเสียเวลาในการเช็คสินค้า หรือพบปัญหาสินค้าหมดคลัง การใช้โปรแกรมจะมีข้อดีที่จะช่วยให้คุณเห็นคลังสินค้าทั้งหมด ตัวโปรแกรมยังจะมีฟังก์ชั่น เตือนให้สั่งสินค้า เมื่อสินค้าเหลือน้อยหรือหมด

4.จัดทำช่วงเวลาเคลียร์สต็อกสินค้า

จะเห็นได้ว่าทุกๆสิ้นเดือน หรือทุกๆสิ้นปี สินค้าแบรนด์ต่างๆ จะพากันจัดโปรโมชั่นออกมา เพื่อดึงดูดลูกค้า คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าต้องการเคลียร์สต็อกสินค้าในช่วงเวลาใด ข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ หากไม่มีการเคลียร์สินค้าเลย คลังสินค้าจะเต็มไปด้วยสินค้า เกิดทุนจม และยากจะต่อการจัดการหากสินค้าค้างสต็อกมีจำนวนที่มากจนเกินไป

 

ที่มา : smeleader.com