HR Metric หรือ ตัวชี้วัดทรัพยากรบุคคลเป็นวิธีการวัดว่ากิจกรรมทางด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรของคุณมีส่วนช่วยในการดําเนินธุรกิจอย่างไร เป็นการคํานวณค่าใช้จ่ายและประโยชน์ของด้านทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจ
เป็น Metric ที่ HR มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บ Data เหล่านี้เพื่อให้แผนก HR นั้นสามารถ Detect ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวกับบุคลากร ประสิทธิภาพในการทำงาน ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงที่แผนก HR จำเป็นต้องใช้
1. Average Revenue Per Employee (ARPE) รายได้ของบริษัทต่อพนักงานหนึ่งคน
คำนวณหา ‘รายได้ของบริษัทต่อพนักงานหนึ่งคน’ ใช้ชี้วัดว่าประสิทธิภาพในการทำเงินขององค์กรของคุณสอดคล้องกันกับจำนวนพนักงานอย่างไร
คำนวณ ARPE = Total Monthly Revenue / Number of staff
2. Cost Per Recruit ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต่อการจ้างพนักงานหนึ่งคน
คำนวณหา ‘ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงต่อการจ้างพนักงานหนึ่งคน’ โดยเริ่มตั้งแต่ Recruit จน Onboarding ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้
คำนวณ Cost Per Recruit = Total Expense on Recruitment / Number of newcomers
3. Turnover Rate of Employee อัตราการลาออกของพนักงาน
คำนวณหา ‘อัตราการลาออกของพนักงาน’ ตัวเลขนี้มีความสำคัญมาก ๆ ต่อองค์กร ในทุก ๆ มิติ เป็นตัวเลขที่บอกว่าพนักงานนั้นมีความสุขกับบริษัทมากน้อยแค่ไหน Career Path ที่มีเป็นอย่างไร เงินเดือน Competitive หรือไม่ บรรยากาศการทำงานเป็นอย่างไร โดยค่าเฉลี่ยของ Turnover Rate ควรจะอยู่ที่ราวๆ 10% -20%
คำนวณ Turnover Rate = (จำนวนพนักงานที่ลาออก / จำนวนพนักงานโดยเฉลี่ย) x 100
4. การขาดงาน หรือ ลา
จำนวนวันที่พนักงานลาต่อปีเพื่อประเมินสุขภาพและสุขภาวะของพนักงาน
คำนวณ อัตราการลา = ( วันที่ลา / วันที่ทำงานจริง ) x 100
5. Length of Serving อายุงาน
อายุงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถใช้ระบุเรื่องของ ความพึงพอใจในการทำงาน และความสุขในการทำงาน อายุงานของพนักงานยิ่งยาว เสถียรภาพในการบริหารงานและการปฎิบัติงานก็จะคงที่ และสามารถคาดการณ์ได้
คำนวณ อายุงาน = ( วันที่ต้องการทำการคำนวณ – วันที่พนักงานเริ่มทำงานวันแรก ) / 365
6.Overtime Rate การจ่ายค่าล่วงเวลา
คือการจ่าย Overtime การคำนวณ Overtime Rate ก็จำเป็น การคำนวณ Overtime Rate เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะหากบริษัทมีการจ่ายค่าล่วงเวลาที่มากเกินไป นั่นหมายถึง การจัดการตารางงาน หรือ Time Management ยังทำได้ไม่ดี
คำนวณ Overtime Rate = ( ยอดค่าจ้างล่วงเวลา / เงินจ่ายสุทธิ ) x100
ที่มา hrnote