Digital Detox เทรนด์พักใจของคนวัยทำงาน

          ดิจิทัลดีท็อก (Digital Detox) เป็นการบำบัดอาการเสพติดเทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดีย โดยการนำตัวเองออกห่างจากสมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เป็นการพักใจ พักสมอง และฟื้นฟูตนเอง จากเทคโนโลยี  การ “พัก” หรือ “เว้น” การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่า ไม่ต้องเล่นมือถือบ้างก็ได้

         เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกับวิถีชีวิตยุคใหม่ ล้วนแล้วก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย วันนี้น้องบีพลัสจะพามาดู ผลเสียที่ทำให้เราควรทำ Digital Detox กัน เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาสมดุล ให้ชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

ผลเสียต่อสุขภาพจิต

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทำงาน รู้สึก burnout คือการเช็กอีเมล ตอบแชทงานตลอดเวลา การเสพโซเชียลมีเดีย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง อาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้

 

ผลเสียต่อสุขภาพกาย

นั่งเล่น มือถือ คอมพิวเตอรืเป้นเวลานานๆ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ อย่างเช่นโรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ  office syndrome

 

ภาวะการนอนไม่หลับ

อาจจะทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลโดยตรงให้ร่างการอ่อนแอ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไปจนถึงรู้สึกเครียดได้ง่าย

 

อาการรอไม่ได้

ด้วยความที่เทคโนโลยีทุกวันนี้มีความสะดวกสบาย การหาข้อมูลรวดเร็วทันใจ ทำให้คนในยุคปัจจุบัน ไม่ชินกับการต้องรออะไรนานๆ และอาจนำไปสู่การใจร้อน ไม่สามารถอดทนรออะไรนานๆได้

 

อาการโนโมโฟเบีย

Nomophobia หรือ No mobile phone phobia อาการขาดโทรศัพท์มือถือไม่ได้ ต้องพกไปในทุกที่ ทุกกิจกรรม หากไม่ได้พกจะรู้สึกว่าขาดอะไรไปบางอย่าง

 

วิธีทำ Digital Detox

  • ปิดแจ้งเตือน

ปิด Notification สัก 15-30 นาที อาจลองปิดในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยมีคนติดต่อเข้ามา เพื่อลดความอยากรู้อยากเห้นว่ามีใครติดต่อเข้ามา แล้วโฟกัสกับงาน หรือกิจกรรมตรงหน้ามากขึ้น เป็นการเพิ่มสมาธิที่ดี

  • กำหนดช่วงเวลา

ฝึกวินัยตนเอง ด้วยการกำหนดเวลาในการเสพโซเชียล หรือเล่นมือถือ กำหนดแล้วทำตามสัญญาของตนเอง

  • ทำกิจกรรมอย่างอื่น

ลองทำกิจกรรมอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการนั่งเล่น นอนเล่น ออกกำลังกาย เลี้ยงสัตว์ เพื่อลดความสนใจจากมือถือลง

  • ชาร์จมือถือไว้นอกห้องนอน

จะทำให้คุณได้พักผ่อนมากขึ้น ลดการเล่นมือถือก่อนนอน และการตื่นนอน ที่กดเปิดแอปโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ลดความเคยชิน 

 

ที่มา JobsDB