ตามกฎหมายแล้ว ไม่มีข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานและสาธารณสุขใด ที่บังคับให้ผู้สมัครงานส่งผลการตรวจร่างกายให้กับบริษัทก่อนเข้าทำงาน ยกเว้นตำแหน่งงานนั้นมีสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับอันตราย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรทำงานในสถานที่ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจ เช่น การทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอันตราย อย่างเช่น เชื้อโรค, สารเคมี, สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่นที่อันตรายต่อปอด, สภาพแวดล้อมที่อาจเกิดเสียงดังที่ทำให้เสี่ยงต่อการตกใจจนทำให้โรคหัวใจกำเริบ ซึ่งกฎหมายได้มีข้อบังคับนี้กำหนดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทเข้าไปเสี่ยงอันตรายโดยไม่รู้ตัว
แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้บังคับให้ต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน แต่ใช่ว่าบริษัทจะไม่สามารถกำหนดให้ผู้สมัครงานเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ แม้ว่าบริษัทที่เรากำลังจะเข้าทำงานไม่ได้อยู่ในข้อกฎหมายที่บังคับไว้ ซึ่งเราสามารถปฏิเสธการไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพได้ก็จริง แต่นั่นก็หมายความว่า บริษัทมีสิทธิ์ปฏิเสธการรับเข้าทำงานโดยไม่ผิดกฎหมายได้เช่นกัน เพราะกระบวนการสมัครงานยังไม่สิ้นสุดลงตามเกณฑ์ของบริษัท ถ้าหากบริษัทมีความต้องการให้ผู้สมัครงานเข้ารับการตรวจสุขภาพแสดงว่าต้องมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างแน่นอน
การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานเป็นขั้นตอนที่หลายบริษัทใช้เพื่อประเมินสุขภาพของพนักงานใหม่ก่อนการจ้างงานจริง แม้ว่าการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานจะไม่เป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ แต่ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถกำหนดได้ในนโยบายของบริษัท นี่คือเหตุผลหลักที่นายจ้างอาจต้องการให้พนักงานตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
-
ประเมินความพร้อมทางสุขภาพ การตรวจสุขภาพช่วยให้นายจ้างมั่นใจได้ว่าพนักงานใหม่มีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจที่จะทำงานในตำแหน่งที่ต้องการ โดยเฉพาะในงานที่มีความเสี่ยงสูงหรืองานที่ต้องใช้ความสามารถทางกายภาพ
-
ป้องกันการแพร่กระจายของโรค ในบางกรณี เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การดูแลสุขภาพ หรือการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง การตรวจสุขภาพช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน
-
ปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทหรืออุตสาหกรรม บางอุตสาหกรรมมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการตรวจสุขภาพพนักงาน เช่น งานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง หรือการขนส่ง ที่จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
-
ป้องกันปัญหาทางกฎหมายในอนาคต การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานอาจช่วยให้นายจ้างหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการจ้างงานพนักงานที่มีภาวะสุขภาพไม่ดี ซึ่งอาจนำไปสู่การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุในที่ทำงาน
-
สร้างความเชื่อมั่นในสุขภาพของพนักงาน การตรวจสุขภาพยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับทั้งนายจ้างและพนักงานว่าพนักงานมีสุขภาพที่ดีพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทให้ตรวจ HIV ด้วย ผิดกฎหมายไหม ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกินไปหรือเปล่า
“ตรวจได้แต่ต้องมีเอกสารที่เราเป็นคนยินยอมก่อน! และหากผลตรวจออกมาว่ามีเชื้อ HIV บริษัทก็ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ”
เพราะจะดูเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้สมัครมากเกินไป หากไม่มีโอกาสเสียเลือดหรือแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น เนื่องจากเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถติดต่อกันง่าย และคนที่มีเชื้อ HIV ที่มีการดูแลรักษาตัวเองเป็นอย่างดี ก็ยังสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนกับคนอื่น ๆ
อย่างไรก็ตามก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในความเป็นจริงแล้วหากบริษัทไม่พร้อมที่จะรับคนที่ติดเชื้อ HIV มาร่วมงานด้วย เขาก็อาจหยิบเหตุผลอื่นขึ้นมาใช้อยู่ดี ดังนั้นเราจึงควรสอบถามรายละเอียดเรื่องการตรวจสุขภาพจากฝ่ายบุคคลให้ชัดเจนก่อน ว่าเขาต้องการผลตรวจอะไรและเราคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ จะได้ไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราคิดว่ามันไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุผลพียงพอ
ที่มา Jobthai