เคยมีคดีที่ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างโดยสามารถเบิกค่าน้ำมันรถตามที่ใช้จริง ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่าวันที่ ๑๐ สค ๕๔ รถยนต์ของลูกจ้างคันที่ติด GPS จอดอยู่ที่บ้านบริเวณแขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม แต่เอกสารการเบิกจ่ายค่าน้ำมันไม่ไม่สอดคล้องกับรายงานการวิเคราะห์การใช้รถยนต์จาก GPS และใบบันทึกเวลาการทำงาน จึงเป็นการเบิกค่านำ้มันรถยนต์อันเป็นเท็จ มีพิรุธแสดงว่าลูกจ้างใช้เวลาในการทำงานอยู่ที่บ้าน หรือสถานที่อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณและละทิ้งหน้าที่การงาน เป็นความผิดร้ายแรง และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อสังเกต
๑) คดีนี้ ไม่ใช่แค่ทุจริตการเบิกค่าน้ำมัน ซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูล GPS ซึ่งรถจอดนิ่งอยู่ที่บ้านแต่เบิกค่าน้ำมันเพียงอย่างเดียว แต่การที่รถจอดอยู่ที่บ้านตามข้อมูล GPS ยังเป็นการชี้ให้เห็นว่าลูกจ้างไม่ไปทำงานอีกด้วย ซึ่งในคำพิพากษาใช้คำว่า “ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณและละทิ้งหน้าที่การงาน” ซึ่งคำนี้เป็นคำในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ศาลนำมาปรับใช้
๒) จะเห็นได้ว่าศาลรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การปฎิเสธหรือสู้คดีค่อนข้างยาก เพราะวิทยาศาสตร์ไม่โกหกใคร (เว้นแต่ใครจะโกหกวิทยาศาสตร์ เพราะเก่งหรือเชี่ยวชาญ) อย่างไรก็ตาม กรณีนี้การปฎิบัติงานของลูกจ้างอาจต้องกระทำการโดยระมัดระวัง เช่น หากอุกรณ์เสีย หรือมีเหตุขัดข้องก็ควรแสวงหาหลักฐาน หรือแสดงความบริสุทธิ์ใจ เช่น การโพสข้อความหรือไลฟ์สดถึงปัญหาลงเฟสบุ๊ค หรือการแจ้งกลับไปยังบริษัทฯ ซึ่งฝ่ายบุคคลควรก็มีแนวปฎิบัติ ในประเด็นเหล่านี้ไว้ก็จะช่วยให้ลูกจ้างปฎิบัติได้อย่างถูกต้องในกรณีเทคโนโลยีเกิดการขัดข้องในมุมของนายจ้างก็สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อกำกับการทำงานได้
ที่มาข้อมูล กฎหมายแรงงาน และ คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๓/๒๕๕๙
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน
ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม
ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง
เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่
เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่
เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?
เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่
“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?