ออกกฎห้ามพนักงานส่งของเมาก่อนขับรถส่งของ 10 ชั่วโมง บังคับใช้ได้จริงหรือไม่

          การเมา แม้จะเป็นเครื่องประเทืองความสุข แต่การได้มาซึ่งความสุขนั้นจะต้องแลกด้วยสติสัมปชัญญะที่ลดน้อยถอยลง นายจ้างจึงมักออกระเบียบทำนองว่า

"ห้ามดื่มสุรายาเมา ก่อนขับรถไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง"

          การกำหนดกฎห้ามพนักงานส่งของเมาก่อนขับรถส่งของเป็นมาตรการที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับในการรักษาความปลอดภัยขณะทำงาน หากลูกจ้างก็แย้งว่าข้อบังคับที่ล่วงล้ำเข้าไปในชีวิตส่วนตัว นายจ้างก็อ้างว่าการเมาส่งผลล่วงล้ำเข้ามาในเวลางาน และนายจ้างก็จ้างมาเพื่อต้องการ แรงงานที่มีความสามารถ การขับขี่ในสภาพความไม่มีสติทางจิตและร่างกายที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปรับปรุงสภาพความปลอดภัยทั้งสำนักงานและบนท้องถนน

          เคยมีประเด็นศาลเคยตัดสินว่า ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถพ่วง 18 ล้อ เมาสุราในเวลาประมาณ 20.00 น. ขณะรอให้ถึงเวลา 02.00 น. (เมาก่อนขับประมาณ 4 ชั่วโมง) เมื่อถึง 02.00 น. ก็ทำการขับรถบรรทุกสินค้าจากบริษัทนายจ้างในจังหวัดชลบุรีไปส่งให้ลูกค้าที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อส่งสินค้าเสร็จก็ขับรถมาจอดที่สำนักงานนายจ้าง "อย่างปลอดภัย" แต่ก็ถือว่าลูกจ้างได้ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย และเป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อสังเกต
1.เรื่องนี้เป็นการเมาก่อนขับก็เลิกจ้างได้ แต่ถ้าเมาในขณะขับรถจะยิ่งผิดกฎหมายบ้านเมืองอีกด้วย
2.ในส่วนนายจ้างเองก็อาจลองดูกฎระเบียบ หากไม่ครอบคลุมก็ปรับปรุงได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวลูกจ้าง  ทรัพย์สินของนายจ้าง และประชาชนผู้ใช้เส้นทาง

 

ที่มา คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๕๘๑/๒๕๕๖

ที่มา กฎหมายแรงงาน