กฏหมายแรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่คนทำงาน HR จำเป็นต้องรู้ HR มือใหม่อาจจะยังงง ๆ กับกฏหมายแรงงานที่มีมากมายหลายข้อ ถ้าหากจะศึกษาควรเริ่มจากข้อไหนก่อนหลัง ถ้าไม่รู้ก็ไม่ได้อีก วันนี้น้องบีพลัสได้รวบรวม 8 ข้อกฎหมายที่ HR มือใหม่ต้องรู้มาให้ค่ะ มาดูกันเลยค่ะ HR มือใหม่ควรรู้ข้อกฎหมายข้อไหนบ้างที่ต้องเป็นต้องรู้แบบเร่งด่วน
1. สัญญาการจ้างงาน หรือสัญญาว่าจ้าง สัญญาการจ้างงาน หรือสัญญาว่าจ้าง คือ สัญญาข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งอาจมีการตกลงกันด้วยวาจา หรือเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ทั้งฝ่ายยอมรับจะถือเป็นสัญญาว่าจ้างแล้ว และเมื่อใดที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้วก็จะถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ ดังนั้นเพื่อการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังจึงควรทำข้อตกลงให้เป็นหนังสือสัญญาจ้าง เนื้อหาในสัญญาจ้างจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ
2. การกำหนดวัน เวลาทำงาน และเวลาพัก ตามกฏหมายแรงงานกำหนดชั่วโมงการทำงานนั้นแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังต่อไปนี้
- งานด้านพาณิชยกรรม หรืองานอื่นทั่วไป ทำงานไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง แต่สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
- งานด้านอุตสาหกรรม สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
- งานขนส่ง ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
ต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงติดต่อกัน
3. กำหนดวันหยุด วันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องจัดให้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วันทำงาน หรือที่เข้าใจง่าย ๆ ทำงาน 6 วันต้องหยุด 1 วัน จะสะสมวันหยุดหรือเลื่อนไม่ได้
เว้นแต่ธุรกิจโรงแรม งานขนส่ง หรืองานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
วันหยุดตามประเพณี
- ต้องมีการประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างได้ทราบล่วงหน้า 1 ปี
- วันหยุดตามประเพณีให้มีไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ
ทั้งนี้พิจารณาจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือขนมธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และถ้าหากวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ต้องให้ลูกจ้างหยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
ข้อควรระวัง
- กรณีนายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีไม่ถูกต้องตามกฏหมาย มีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- กรณีที่นายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณี ต้องจ่ายค่าจ้างทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกฏหมายมาตรา 46 ให้แก่ลูกจ้างด้วย
- วันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปี (พักร้อน) ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน
- ต้องแจ้งจำนวนวันหยุดพักร้อนให้ลูกจ้างทราบ
- การทำข้อตกลงการสะสม และเลื่อนวันพักร้อน (กรณีที่ใช้ในปีนั้นไม่หมด) ไปรวมกับปีถัดไป
- นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างวันลาพักร้อนที่เหลือ (คำนวณตามจำนวนวันทำงาน) ในวันที่ลูกจ้างลาออก หรือถูกยกเลิก
4. กำหนดหลักการลาของลูกจ้าง
- ลาป่วย มีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันสามารถกำหนดให้ลูกจ้างที่ลาป่วยได้ 3 วันทำงานขึ้นไป แสดงใบรับรองแพทย์ (หากลูกจ้างไม่ยอมแสดง ถือว่าเป็นการผิดวินัยฐานลาผิดระเบียบ)
- ลาทำหมัน ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อการทำหมัน ตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด ออกใบรับรอง โดยไม่กำหนดว่ากี่ครั้ง โดยจ่ายค่าจ้างเสมือนลูกจ้างมาทำงานตามปกติ
- ลาตั้งครรภ์ ลูกจ้างผู้หญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร แต่ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย และต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน
- ลากิจ ลากิจธุระอันจำเป็น ลูกจ้างสามารถลากิจ เพื่อธุรกิจอันจำเป็น อย่างน้อย 3 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
- ลาเพื่อรับราชการทหาร ลูกจ้างผู้ชายสามารถลาเพื่อเข้ารับราชการทหารได้ ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารตามกฏหมายว่าด้วยการรับราชการทหารไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
- ลาเพื่อฝึกอบรม ลาเพื่อฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด ทำได้โดยการจ่ายค่าจ้างจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
การทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานล่วงเวลา
- ค่าล่วงเวลา คือ การทำงานตั้งแต่เวลาเลิกงาน (เวลาหลังเลิกงานที่แต่ละบริษัทกำหนด) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
- ค่าทำงานในวันหยุด คือ ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 0-8 ชั่วโมงแรก (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
- ค่าล่วงเวลาในวันหยุด คือ ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 9 เป็นต้นไป (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 3 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง
การลากิจส่วนตัว มีรายละเอียดการลาดังนี้
- ลาได้ไม่เกินปีละ 45 วันทำการ
- ปีแรกที่เข้ารับราชการ ลาได้ไม่เกิน 15 วัน
- ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร (ต่อจากการลาคลอดบุตร) ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ
- การเสนอใบลา ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะสามารถหยุดได้
- หากราชการมีความจำเป็น สามารถเรียกตัวกลับได้
5. การลาพักผ่อน มีรายละเอียดการลาดังนี้
- สามารถลาได้ปีละ 10 วัน
- สามารถสะสมได้ไม่เกิน 20 วันทำการ
- สามารถสะสมได้ไม่เกิน 30 วันทำการ (กรณีรับราชการ 10 ปีขึ้นไป)
- ถ้าบรรจุไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิ์ลาพักผ่อน
- การเสนอใบลาต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงหยุดได้
- ถ้าราชการมีความจำเป็น สามารถเรียกตัวกลับได้
6. กำหนดการจ่ายค่าตอบแทน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินประโยชน์อื่น ๆ เนื่องจากการจ้างเป็นเงินตราไทย ต้องกำหนดวันที่จ่าย และวิธีการจ่ายเงินให้ชัดเจน
อัตราการจ้างงานขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ต้องทราบ คือ นายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้โดยเด็ดขาด ยกเว้นลูกจ้างอยู่ในช่วงทดลองงาน แต่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอัตราค่าจ้างในระหว่างทดลองงานนี้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
7. สิทธิ์ในการได้รับการคุ้มครองแรงงาน สิทธิพื้นฐานที่กระทรวงแรงงานระบุไว้ หากนายจ้างทำละเมิดสัญญาจ้าง หรือขัดกับกฎหมาย รัฐสามารถแทรกแซงเอกชนเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างได้
8. กองทุนเงินทดแทน กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทน ที่ดูแลโดยสำนักงานประจำสังคม กระทรวงเพื่อคุ้มครองกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โดยนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายปี ภายใน 31 มกราคมของทุกปี ต้องรายงานค่าจ้างจริงของปีที่ผ่านมาภายในเดือนกุมภาพันธ์
- หากค่าจ้างที่ประมาณไว้น้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่ม เรียกว่าเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้างภายในเดือนมีนาคม
- หากค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริง นายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไป
อัตราเงินสมทบจะอยู่ระหว่าง 2% – 1.0% ของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงภัยในการทำงานของแต่ละกิจการโดยค่าจ้างรายปีที่นำมาคำนวณสูงสุดอยู่ที่ 240,000 บาท (หากค่าจ้างที่ประมาณไว้น้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่ม เรียกว่าเงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง ภายในเดือนมีนาคม หากค่าจ้างที่ประมาณการสูงกว่าค่าจ้างจริงนายจ้างก็จะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืนไปด้วยเช่นกัน โดยค่าจ้างรายปีที่คำนวณสูงสุดอยู่ที่ 240,000 บาท) กองทุนเงินทดแทนจะคุ้มครองดูแลในกรณี ดังนี้
8.1 ค่ารักษาพยาบาล กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
- นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท
- กรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
8.2 ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตราย ได้รับตามอัตรา ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ โดยให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัด ไม่เกินวันละ 200 บาม และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและผ่าตัด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 110,000 บาท โดยคณะกรรมการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นชอบ
- ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท
8.3 ค่าทำศพ ผู้จัดการทำศพของลูกจ้างที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงานจะได้รับค่าทำศพเป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
8.4 ค่าทดแทน เงินที่จ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือสูญหายของลูกจ้าง นอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานหรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างตามระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดดังนี้
- ค่าทดแทนกรณีที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป ลูกจ้างได้รับเงินเป็นรายเดือนทุกเดือนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 12,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ไม่เกิน 1 ปี
- ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย หลังสิ้นสุดการรักษาลูกจ้างสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
- ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ ลูกจ้างที่สูญเสียอวัยวะจนส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ จะได้รับค่าทดแทนในร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
- ค่าทดแทนกรณีตาย หรือสูญหาย ผู้มีสิทธิ์ตามกฏหมาย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร ของลูกจ้างจะรับค่าทดแทน ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลา 8 ปี
ที่มา jobsdb