“ซองยา” สามารถใช้ประกอบการลาป่วยได้เพราะซองยามีกฎหมายกำหนดไว้โดยมีข้อมูลมากพอที่จะเชื่อได้ว่าป่วย รวมถึงฝ่ายบุคคลสามารถตรวจสอบกลับไปที่ผู้จำหน่ายยาไม่ว่าจะเป็นเภสัช หรือแพทย์
แต่การนำซองยาซองพลาสติกใสๆไม่มีข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ มายื่นก็ย่อมไม่พอฟังว่าป่วยแน่นอน
ปัญหานี้เป็นปัญหาของ “ผู้ได้รับอนุญาตให้ขายยา” อันได้แก่ เภสัชกรณ์หรือแพทย์ ที่ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายและสิทธิของผู้ป่วย
ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ซองยามีข้อมูลที่ประกอบไปด้วย
๑) วันที่จ่ายยา
๒) ชื่อผู้รับบริการ
๓) ชื่อยาที่เป็นชื่อสามัญ หรือชื่อการค้า
๔) ความแรงของยา
๕) จำนวนยา
๖) ข้อบ่งใช้
๗) วิธีใช้ยาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ข้อมูลเหล่านี้ฝ่ายบุคคลใช้ประกอบการพิจารณาว่าลูกจ้างป่วยจริงหรือไม่
นอกจากนั้นต้องระบุข้อมูล “สถานบริการ” ประกอบไปด้วย
๑) ชื่อสถานบริการ ชื่อโรงพยาบาล หรือชื่อคลีนิก อีกทั้งต้องมีที่อยู่ หรือเบอร์โทร (ซึ่งฝ่ายบุคคลที่สงสัยก็อาจโทรไปสอบถามได้)
๒) ชื่อแพทย์ หรือเภสัชผู้จ่ายยา
๓) วันที่จ่ายยา (ฝ่ายบุคคลก็มาตรวจสอบว่าตรงกับวันลา หรือช่วงที่ลาหรือไม่)
แพทย์ เภสัชหากไม่ปฎิบัติตามกฎหมายข้างต้น นอกจากผิดกฎหมายข้างต้นแล้วแพทย์ หรือเภสัชกร ซึ่งมีองค์กรวิชาชีพควบคุมอาจผิดจรรยาบรรณอีกด้วย
เช่นนี้ เมื่อมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับซองยา ฝ่ายบุคคลจึงสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยสิทธิลาป่วยของลูกจ้างได้เพราะการระบุรายละเอียด ที่ซองยาตามที่กฎหมายกำหนดก็พอให้เชื่อได้ว่าป่วยและต้องกินยาอะไร
อ้างอิง : กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับซองยา และ หมอเมย์ - แม่บ้านมีเลข ว
ที่มา : กฎหมายแรงงาน