ค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกจ้าง (Service Charge) ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ ?

 

ค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกจ้าง (Service Charge) ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ ?
#คำพิพากษาศาลฎีกา 4852-4853/2560
ค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้มาใช้บริการในอัตราร้อยละ 10% ของค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้บริการของลูกค้าแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราว จำเลยก็จะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆกัน การที่ลูกจ้างจำเลยจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งไม่ปรากฎว่าหากเป็นกรณีที่จำเลยไม่ได้รับเงินค่าบริการไว้หรือเงินค่าบริการที่รับไว้มีจำนวนน้อยกว่าอัตราเฉลี่ยที่จ่ายประจำเดือนแล้วจำเลยจะต้องจ่ายของจำเลยเพิ่มให้แก่ลูกจ้างแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ได้มีส่วนได้เสียค่าบริการ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกค้าเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินได้ด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ค่าบริการมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 จำเลยจึงไม่ต้องนำค่าบริการเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์


ที่มา : คลีนิกกฎหมายแรงงาน