กฎหมายคุ้มครองแรงงาน บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยเรื่องการเกษียณอายุการทำงาน ดังนี้
- กรณีกำหนดการเกษียณอายุ "ก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์" ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
- กรณีกำหนดการเกษียณอายุ "เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด" ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย
- ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
- ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน
- ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วัน
ที่มา เพจ กระทรวงแรงงาน