"กะ" มาจากภาษาจีนว่า "กะจื้อ" แปลว่า รอบการเข้าเวร ระยะเวลาที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงาน
Shift Work หรือ การทำงานเป็นกะ หมายถึง การแบ่งช่วงเวลา และสลับเวลาในการดูแลงานหรือรับผิดชอบกิจกรรมขององค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ โดยการแบ่งคนเป็นมาประจำตำแหน่งงานในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
มีหลักกฎหมายดังนี้
- มาตรา 23 กำหนดว่าการทำงานนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงไม่ได้
- ให้อำนาจ นายจ้างเป็นผู้ประกาศเวลาทำงาน ว่าแต่ละวันจะเริ่มเวลาทำงานกี่โมง ถึงกี่โมง
- แต่ปัญหาว่านายจ้างจะเปลี่ยนเวลาทำงาน เปลี่ยนไปทำงาน "เป็นกะ" แล้วแต่นายจ้างจะประกาศ
- แต่เมื่อนายจ้างประกาศเวลาการทำงานซึ่งอาจเขียนไว้ในข้อบังคับในการทำงานแล้ว การจะเปลี่ยนเวลาก็อาจเป็นการเปลียนสภาพการจ้าง ซึ่งถ้าไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างก็อาจเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างได้
หากจะดำเนินการ "ทำข้อบังคับ" ควรทำดังนี้
- ในข้อบังคับที่กำหนดเวลาในการทำงาน จะต้องเขียนเอาไว้ตอนท้ายทำนองว่า "...กำหนดวันเวลาในการทำงานข้างต้น นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาได้ตามความเหมาะสมโดยจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆ ไปตามความจำเป็นและเหมาะสม"
- ในการออกประกาศปฎิทินการทำงานจะต้องไม่เกินจำนวนชั่วโมงที่ได้ประกาศเอาไว้ในข้อบังคับการทำงาน และไม่เกินกว่าที่ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23 กำหนด คือวันละ 8 ชั่วโมง (เว้นแต่จะนำกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างทำงานวันละ 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 48 ชั่วโมงมาใช้)
- ในการออกประกาศนายจ้างควรเขียนด้วยถ้อยคำที่ว่า "ประจำปี...." เอาไว้ด้วย ก็จะยิ่งทำให้เห็นว่าสภาพการจ้างในเรื่องวันเวลาดังกล่าวไม่ได้ผูกพันตลอดไป
- ในกรณีที่เปลี่ยนเวลาทำงานไปทำงานเป็นกะ น่าจะเป็นการเปลี่ยนเวลาการทำงานที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงควรทำข้อตกลง หรือให้ลูกจ้างตกลงยินยอมเปลี่ยนเวลาในการทำงานด้วย
- ประกาศปฎิทินการทำงาน สามารถทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
- ถ้าเป็นกรณีประกาศเวลาทำงานเกิดขึ้นจากการยื่นข้อเรียกร้อง อันเป็น "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ที่มา กฎหมายแรงงาน
29 November 2023
View
735