เป็นที่ทราบกันดีว่างบกระแสเงินสดให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่าง มากมาย เช่น ใช้ในการประมาณความสามารถของฝ่ายบริหารของกิจการในการ ก่อให้เกิดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในอดีต (Backward Looking Information) ตลอดจนใช้พยากรณ์กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายในอนาคต (Forward Looking Information) รวมถึงการใช้งบกระแสเงินสดประกอบการ วิเคราะห์การเติบโตของกิจการ เป็นต้น บทความฉบับนี้ จึงขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงบกระแสเงินสด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 งบกระแสเงินสดในประเทศไทย และ ส่วนที่ 2 มุมมองของ IFRS* เปรียบเทียบกับ US GAAP
*IFRS คือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่าง ประเทศ (International Financial Reporting Standards: IFRS)
*US GAAP คือ มาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกา (US Generally Accepted Accounting Principles: US GAAP)
รวมทั้งบทความฉบับนี้ ยังแสดงตัวอย่างง่ายๆ ประกอบ ความเข้าใจ เพื่อนนักบัญชีรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นเล็กทุกท่าน ย้อนความทรงจำกลับไปในสมัยมหาวิทยาลัยที่เราได้มีโอกาสจัดทำงบกระแสเงินสดส่งอาจารย์อีกครั้งนั่นเอง
ส่วนที่ 1 งบกระแสเงินสดในประเทศไทย
วัตถุประสงค์หลักของงบกระแสเงินสด คือ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงินสดรับและเงินสด จ่ายของกิจการที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด โดยจะบ่งบอกถึงผลกระทบของเงินสดจากการ ดำเนินงาน รายการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและจัดหาเงิน และจำนวนเงินสดที่เพิ่มขึ้นและ ลดลงสุทธิในระหว่างงวด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุน เจ้าหนี้ ตลอดจนผู้ใช้งบการเงิน อื่นๆ เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรที่มีสภาพคล่องมากที่สุดขององค์กรได้ นอกจากนี้ งบกระแสเงินสดยังสามารถตอบคำถามสำาคัญเหล่านี้ได้อีกด้วย
1. เงินสดมาจากไหนในระหว่างงวด
2. ในงวดนี้ได้มีการใช้เงินสดไปเท่าใด และ
3. ยอดคงเหลือของเงินสดมีการเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
รายการในงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดจะจัดประเภทรายการ เงินสดรับและเงินสดจ่ายในระหว่างงวดตาม กิจกรรมที่เกิดขึ้น จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) แสดงผลกระทบจากเงินสดของ รายการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิ
2. กิจกรรมลงทุน (Investing Activities) ครอบคลุมถึงการให้กู้ยืมเงินและการ รับชำระหนี้ การได้มาและการขายไปของเงิน ลงทุน (ทั้งเงินลงทุนในตราสารหนี้และเงินลงทุน ในตราสารทุน) ตลอดจนการได้มาและการขาย ไปของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
3. กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities) เกี่ยวข้องกับรายการที่เป็นหนี้สินและ ส่วนของเจ้าของ
- การได้รับเงินทุนจากผู้เป็นเจ้าของ โดยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนแก่ผู้เป็น เจ้าของด้วย
- การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้และจ่ายชำระคืนด้วยจำนวนที่ยืมมา
การจัดทำงบกระแสเงินสด ในการจัดทำงบกระแสเงินสดนั้นอาศัยข้อมูลจาก หลายแหล่ง ได้แก่
1. งบแสดงฐานะการเงินเปรียบเทียบ
2. งบกำไรขาดทุนในงวดปัจจุบัน
3. ข้อมูลรายการค้าจากบัญชีแยกประเภท โดยขั้นตอนในการจัดท างบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คำนวณยอดเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไป
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรม ด าเนินงาน ซึ่งสามารถเลือกคำนวณได้จาก 2 วิธี คือ
ขั้นตอนที่ 3 คำนวณกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน
ขั้นตอนที่ 4 คำานวณกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน
ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ บริษัท อารมณ์ดี จำกัด เพิ่งเปิดดำเนินการเป็นปีแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 60,000 หุ้น ราคาตามมูลค่า (ราคา Par) หุ้นละ 1 บาท บริษัทได้เช่าพื้นที่สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ และ อุปกรณ์ โดยได้ให้บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีตลอดระยะเวลา 1 ปีแรก ข้อมูลงบแสดงฐานะการเงิน ณ วัน เริ่มต้นและวันสิ้นสุดของปี พ.ศ. 2559 รวมถึงงบกำไรขาดทุนสำหรับปี พ.ศ. 2559 และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มี รายละเอียดตามรูปที่ 1 และรูปที่ 2 ดังนี
ที่มา https://www.dbd.go.th/download/article/article_20170712101625.pdf คลิก