บริษัทขายสินทรัพย์บันทึกบัญชีอย่างไร!?

ผู้ประกอบหลายท่านอาจจะยังเข้าใจผิดว่า…สินทรัพย์ของบริษัทว่าหากมีการพังชำรุดก็สามารถทิ้งไปได้เลย โดยที่ไม่ต้องทำอะไรซึ่งเป็นความคิดคิดที่ผิด เมื่อบริษัทซื้อสินทรัพย์เข้ามาก็ต้องจัดทำทะเบียนทรัพย์สินคิดค่าเสื่อม ในแต่ละปีหากสินทรัพย์นั้นพัง หรือชำรุด ใช้งานไม่ได้ต้องทำการตัดจำหน่ายออกจากทะเบียน

บริษัทขายสินทรัพย์บันทึกบัญชีอย่างไร!?

กรณีขายสินทรัพย์ที่มีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 ทำรายการหยุดคิดค่าเสื่อมราคา
  • ขั้นตอนที่ 2 ขายสินทรัพย์
  • ขั้นตอนที่ 3 บันทึกขาดทุน/กำไรจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์

ตัวอย่างโจทย์ : ทางบริษัทได้ทำการซื้อโต๊ะทำงานมา 2 ชุด ราคา 12,000 บาท โดยทำการซื้อสินทรัพย์

เมื่อวันที่ 01 พ.ย.2564 และในปีถัดมาได้มีการขายสินทรัพย์นี้ในวันที่ 31 ม.ค. 2565 ในราคา 10,000 บาท (ราคาที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นราคาไม่รวม VAT 7% )

ขั้นตอนที่ 1 ทำรายการหยุดคิดค่าเสื่อมราคา

ค่าเสื่อมสะสมยกมาปี 64 เท่ากับ 401.06 (12,000-1) x20%x61/365)

ค่าเสื่อมสะสมของปี 65 เท่ากับ 197.24 (12,000 -1)x20%x30/365)

รวมค่าเสื่อมสะสมจนถึงวันที่ขาย 598.30

ขั้นตอนที่ 2 ขายสินทรัพย์ (กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อกิจการขายสินทรัพย์จะต้องทำการออกใบกำกับภาษีขายให้กับผู้ซื้อ

โดยจะต้องไม่ขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด

โดยไม่มีเหตุอันควร โดยต้องยื่นยอดขายนี้

ในแบบรายงานภาษีขายของกิจการตามปกติ

ขั้นตอนที่ 3 บันทึกขาดทุน/กำไรจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์

หากผลต่างอยู่เดบิต – จะเกิดผลขาดทุน

หากผลต่างอยู่เครดิต-จะเกิดผลกำไร

Dr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร

ค่าเสื่อมราคาสะสม-สินทรัพย์

ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์

Cr. สินทรัพย์

ภาษีขาย

กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์

 

ที่มา www.taitoebanchee.com