ก่อนที่นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนในหุ้น จำเป็นต้องทำการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด โดยเฉพาะงบการเงินซึ่งเป็นข้อมูลหลักในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม การบันทึกรายการที่มีความซับซ้อนอาจนำไปสู่ความไม่แน่นอนและการบิดเบือนข้อมูล ซึ่งสามารถทำให้นักลงทุนได้รับความเสียหายได้ ดังนั้น การรู้เท่าทันกลลวงในงบการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
งบแสดงฐานะการเงิน อ่านอย่างไร ?? ความรู้เบื้องต้นในการอ่านงบการเงิน
ดูสัญญาณจากลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าคือบริษัทที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นเงินเชื่อโดยที่ลูกค้ายังไม่ชำระเงินในช่วงเวลานั้น (ลูกค้าได้สินค้าไปแล้วแต่จะจ่ายเงินภายหลัง) บริษัทมั่นใจว่าลูกค้าจะชำระเงินเต็มจำนวนเมื่อถึงเวลาจ่าย นั่นหมายความว่าลูกหนี้การค้าเป็นสินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับ กล่าวคือเป็นจำนวนเงินที่คาดหวังว่าจะสามารถเรียกเก็บได้
ลูกหนี้การค้าเป็นหัวใจหลักที่ส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัท หมายถึงถ้าบริษัทเก็บเงินจากลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีกระแสเงินสดที่ดี แต่ถ้าบริหารลูกหนี้ไม่ดี มีรายได้ค้างรับ เกิดขึ้น อาจต้องตัดลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ ทำให้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียนและต้องกู้เงินมาดำเนินการต่อ
ในบริษัทที่ดำเนินงานได้ปกติและมีประสิทธิภาพดี การเก็บเงินจากลูกหนี้จะไม่มีปัญหา สามารถสังเกตจากยอดขายและลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน และอัตราส่วนระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการสินเชื่อและการเรียกเก็บหนี้ระยะสั้น) ของแต่ละปีจะคงที่ ในขณะที่บริษัทที่มีปัญหาระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยจะยาวนานขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่ 1
|
งบปี 2563
31 ธันวาคม 2563
|
งบปี 2564
31 ธันวาคม 2564
|
งบปี 2565
31 ธันวาคม 2565
|
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (เท่า)
|
3.55
|
2.51
|
2.16
|
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน)
|
102.91
|
145.58
|
168.83
|
อัตราส่วนหมนเวียนสินค้าคงเหลือ (เท่า)
|
2.26
|
2.27
|
2.45
|
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน)
|
161.71
|
160.67
|
148.81
|
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (เท่า)
|
1.84
|
1.59
|
1.45
|
ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (วัน)
|
198.54
|
229.93
|
251.53
|
วงจรเงินสด (วัน)
|
66.08
|
76.32 |
66.10 |
จากตัวอย่างที่ 1 ผู้สอบบัญชีพบว่า ในงบการเงินมีการสร้างยอดขายเทียม ทำให้เกิดลูกหนี้เทียมในงบการเงิน และเมื่อคำนวณระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย พบว่าเริ่มใช้เวลานานขึ้นเรื่อย ๆ โดยปี 2563 - 2565 ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยยาวนานขึ้นจาก 102.91 วัน เป็น 145.58 วัน และ 168.83 วัน ตามลำดับ ทำให้วงจรเงินสดใช้เวลานานขึ้นด้วย ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท
ตัวอย่างที่ 2
งบแสดงฐานะการเงิน
สินทรัพย์
หน่วย : บาท
|
งบปี 2545
31 ธันวาคม 2545
|
งบปี 2546
31 ธันวาคม 2546
|
งบปี 2547
31 ธันวาคม 2547
|
สินทรัพย์หมุนเวียน
|
|
|
|
เงินสดและเงินฝากธนาคาร
|
1,277,311
|
457,646
|
22,490,332
|
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
|
3,315,123.057
|
2,136,940,314
|
1,224,649,331
|
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
|
835,471,617
|
843.247,376
|
518,086,762
|
ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
|
- |
- |
- |
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
|
|
|
|
ลูกหนี้เงินทดลองรอเรียกคืน
|
29,531,083
|
13,900,576
|
20,813,153
|
ลูกหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
2,445,641
|
2,552,496
|
1,537,361
|
อื่น ๆ
|
3,973,343
|
2,055,392
|
1,585,485
|
รายได้
|
|
|
|
ขาย
|
3,525,541,989
|
3,336,261,379
|
2,371,268,227
|
ดอกเบี้ยรับ
|
2,145,726
|
917,561
|
-
|
รายได้อื่น
|
3,691,830
|
9,196,812
|
20,310,723
|
รวมรายได้
|
3,531,379,545
|
3,346,375,752
|
2,391,578,950
|
ต้นทนและค่าใช้จ่าย
|
|
|
|
ต้นทุนขาย
|
3,404,806,790
|
3,273,374,707
|
2,166,279,692
|
ค่าใช้จ่ายทั่วไปและบริการ
|
177,672,379
|
177,110,799
|
158,971,204
|
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
|
- |
924,290,721 |
1,188,324,101
|
กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน(สุทธิ)
|
69,788,157
|
194,525,036
|
44,540,182
|
ค่าตอบแทนกรรมการ
|
1,335,000
|
1,410,000
|
1,250,000
|
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย
|
3,653,602,326
|
4,570,711,263
|
3,559,365,179
|
กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่าย
|
(122,222,781) |
(1,224,335,511) |
(1,167,786,229) |
ตัวอย่างที่ 2 พบว่าบริษัทมีปัญหาการขายและเก็บเงินไม่ได้ ทำให้มีลูกหนี้การค้าคงค้างในงบแสดงฐานะการเงินปี 2545 จำนวน 3,315,123,057 บาท ทำให้ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยปี 2545 – 2547 อยู่ที่ 324 วัน เป็น 342 วัน และ 486 วัน ตามลำดับ และเมื่อเก็บหนี้ไม่ได้ ทำให้ต้องตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ (ปัจจุบันใช้คำว่าผลขาดทุนด้านเครดิต) ปี 2546 – 2547 จำนวน 924,290,721 บาท และ 1,188,324,101 บาท ตามลำดับ
สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกหนึ่งอย่างในงบการเงินที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญ สินค้าคงเหลือ หรือที่เรียกว่าสต็อกสินค้า มักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับยอดขาย อย่างไรก็ตาม หากพบว่าสินค้าคงเหลือมีจำนวนมากอย่างผิดปกติและไม่สอดคล้องกับยอดขาย จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของปัญหานี้ ส่วนใหญ่สินค้าคงเหลือสูงอาจเกิดจากการประเมินผิดพลาดว่าจะสามารถขายสินค้าได้ดี จึงมีการสต็อกสินค้าไว้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อสินค้าขายได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ สินค้าก็จะค้างในสต็อก
ประสิทธิภาพในการบริหารสต็อกสินค้าของบริษัทสามารถตรวจสอบได้จากอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Ratio) หากค่านี้สูง แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการขายสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วหรือมีสินค้าคงเหลือน้อย ในทางกลับกัน หากค่านี้ต่ำ หมายความว่าบริษัทมีความสามารถในการขายสินค้าคงเหลือต่ำหรือมีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก
ปัญหาที่เกิดจากการสต็อกสินค้าเกินความต้องการคือระยะเวลาในการขายสินค้าจะยาวนานขึ้น และมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ หากสินค้าเหล่านั้นล้าสมัย อาจจำเป็นต้องลดราคาขาย ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องตั้งสำรองเพื่อรับมือกับขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ ซึ่งเป็นรายจ่ายในต้นทุนขาย ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมีสต็อกสินค้าสูง (อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือน้อย) อาจมาจากความไม่โปร่งใสของการดำเนินธุรกิจ คือ ไม่มีสต็อกสินค้า (สต็อกสินค้าเทียม) แต่เป็นเพียงตัวเลขในงบการเงิน โดยกรณีศึกษาที่แปลกที่สุด คือ บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) ดำเนินธุรกิจขายรถหรู โดยสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เข้าทำการตรวจสอบการดำเนินงาน พบว่าวันที่ 15 ธันวาคม 2551 มีรถยนต์คงเหลืออยู่ในบัญชีสินค้าคงเหลือจำนวน 501 คัน รวมมูลค่า 1,425,777,958.53 บาท แต่ปรากฏว่ารถยนต์จำนวน 493 คัน มูลค่าประมาณ 1,409 ล้านบาท ไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ที่ใด และน่าเชื่อว่าไม่มีอยู่จริง พูดง่าย ๆ บริษัทสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีจริง และจัดให้มีการบันทึกบัญชีซื้อรถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริง ทำให้ยอดสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อแยกตามอายุรถยนต์ มีรถที่อายุยาวในสัดส่วนมากขึ้น ทำให้ต้องตั้งสำรองขาดทุน
ลงทุนผิดพลาด
เมื่อบริษัทดำเนินการมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว บริษัทจำเป็นต้องพิจารณานโยบายการขยายธุรกิจเพื่อส่งเสริมการเติบโต หากไม่ดำเนินการขยายกิจการอาจทำให้ธุรกิจไม่สามารถรักษาการแข่งขันในตลาดได้ กลยุทธ์ในการขยายกิจการขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความพร้อม และโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ เพื่อให้การขยายตัวนั้นสามารถส่งผลดีต่อธุรกิจได้จริง
อย่างไรก็ตาม อาจมีบางกรณีที่เกิดความผิดพลาดด้านการลงทุน ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ จนสร้างความเสียหายในวงกว้าง เช่น บมจ.โพลาริส แคปปิตัล (POLAR) ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ตัดสินใจลงทุนธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ด้วยเหตุผลเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ โดยใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการรับรู้รายได้ พูดง่าย ๆ คือ ลงทุนไปแล้ว แต่รายได้ไม่มาตามนัด ซึ่งสามารถสังเกตได้เบื้องต้นจากเงินลงทุนสูง รายจ่ายสูงเกินความเป็นจริง (รายจ่ายเทียม) และซื้อสินทรัพย์สูงเกินความเป็นจริง ขณะที่ไม่มีกำไร ทำให้อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ เงินที่นำมาลงทุน บริษัท POLAR นำมาจากการระดมทุน แต่ถูกตั้งข้อสังเกต เช่น ปี 2556 – 2559 บริษัทเพิ่มทุนต่อเนื่องถึง 13 ครั้ง ปล่อยกู้บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เงินมัดจำที่ดิน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ขณะที่รายได้และกำไรกลับไม่มาตามนัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงให้ชี้แจงข้อมูล โดยเฉพาะรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน และรายการเกี่ยวกับค่าเผื่อด้อยค่าสินทรัพย์สำคัญ
ปัจจุบัน บริษัท POLAR ได้ถูกสำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษคณะกรรมการบริษัทต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI กรณีร่วมกันสร้างหนี้เทียมจำนวนประมาณ 3,600 ล้านบาท เพื่อให้บริษัท POLAR เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งลงข้อความเท็จในบัญชีหรือเอกสารที่เกี่ยวกับบริษัท พยายามเบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และพยายามแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งทำให้บริษัท POLAR เสียหาย ล่าสุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งความคืบหน้าในการสอบสวนหลังจากรับเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 โดยสอบสวนแล้วเสร็จ และได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษแล้ว โดยต่อมาอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีความเห็นแย้งส่งไปยังอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา
ปัญหาผิดนัดชำระหนี้
การผิดนัดชำระหนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทเผชิญกับปัญหาด้านสภาพคล่องซึ่งมักเกิดจากวงจรเงินสดที่ยืดเยื้อและการลงทุนที่มากเกินไปโดยที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ หนึ่งในสัญญาณที่ชี้ว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูงคือวงจรเงินสดที่สั้น, แสดงถึงการมีเงินสดเพียงพอสำหรับการหมุนเวียนในธุรกิจ ส่วนวงจรเงินสดที่ยาวชี้ให้เห็นถึงสภาพคล่องที่ต่ำ, ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บหนี้หรือขายสินค้าที่ใช้เวลานาน กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ หรือมีกำไรแต่กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานน้อยกว่ากำไร นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ที่อยู่ในระดับต่ำหรือมีการลดลง เนื่องจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นในขณะที่กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ต่ำ ก็เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาเหล่านี้เช่นกัน
ตัวอย่างที่ 3
งบแสดงฐานะการเงิน
|
ข้อมูลทางการเงิน
|
|
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
|
ตรวจสอบแล้ว
|
|
31 มีนาคม 2560
|
31 ธันวาคม 2559 |
|
(บาท) |
(บาท) |
สินทรัพย์ |
|
|
สินทรัพย์หมุนเวียน |
|
|
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
|
1,238,471.322
|
1,861,102,090
|
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น (สุทธิ)
|
5,733,706,168
|
4.571,401,183
|
สินค้าคงเหลือ (สุทธิ)
|
1,978,010,881
|
1,511,613,632
|
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย
|
- |
- |
เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า (สุทธิ) |
8,460.558.341
|
7,866,691,021 |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
169,507,244
|
97,557,641
|
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
|
8,942,958
|
8,973,312
|
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
|
17,589,196,914
|
15,917,338,879
|
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
|
|
|
เงินฝากสถาบันการเงินที่ติดภาระค้ำประกัน
|
90,805,965
|
91,960,011
|
เงินลงทุนในบริษัทย่อย
|
- |
- |
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (สุทธิ)
|
178,785,518
|
185,950,422
|
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ)
|
1,821,280,394 |
1,899,378,113
|
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (สุทธิ)
|
1,935,718 |
2,201,189 |
สิทธิในเหมืองถ่านหิน (สุทธิ)
|
8,207,440,200
|
8,536,356,760
|
เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า
|
7,607,897,941
|
7,185,042,914
|
ต้นทุนการเปิดหน้าดินของเหมือง
|
210,385,846
|
217,634,755
|
สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
|
7,083,793
|
10,468,851
|
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
|
10,135,880,991
|
9,901,613
|
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน |
18,135,880,991
|
18,138,894,628
|
รวมสินทรัพย์
|
35,725,077,905 |
34,056,233,507 |
จากตัวอย่างที่ 3 พบว่าบริษัทมีการจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องเพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ (ซึ่งจะแสดงอยู่ในงบกระแสเงินสด) ขณะเดียวกันก็ลงทุนในสิทธิในเหมืองถ่านหินและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า โดยแหล่งที่มาของเงินลงทุนก็มาจากการกู้ยืมและเพิ่มทุน ทำให้ขาดสภาพคล่องและผิดนัดชำระหุ้นกู้ และสถาบันการเงินก็หยุดปล่อยสินเชื่อด้วย
งบการเงินมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในด้านต่างๆ หากพบว่างบการเงินมีการบิดเบือนหรือความไม่ถูกต้อง แม้แต่บริษัทที่ดูเชื่อถือได้หรือผ่านการตรวจสอบจากบริษัทตรวจสอบบัญชีที่มีชื่อเสียง นักลงทุนควรให้ความสนใจอย่างละเอียด โดยเฉพาะงบกระแสเงินสดซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงกระแสเงินสดที่เข้าออกของบริษัทอย่างแท้จริง และเป็นส่วนที่ยากต่อการปลอมแปลง
นอกจากนี้ ทุกครั้งที่นักลงทุนตรวจสอบงบการเงินและพบความไม่ปกติหรือข้อมูลที่ดูดีเกินความเป็นจริง จำเป็นต้องให้ความสำคัญและลงทุนด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันความสูญเสียและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ที่มา FB GungGinkk School กุ๋งกิ๋ง สคูล และ www.setinvestnow.com