ขั้นตอนการส่งออก
- ได้รับตราสารเครดิต (Letter of Credit)
- ออกใบส่งชั่วคราว (Proforma invoice)
- เคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลัง
- ดำเนินการทางศุลกากร และ
- ยื่นรายได้ (กรณ์จดภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ส่งมอบสินค้า และ บันทึกบัญชี
- ได้รับเงิน
วิธีดำเนินการ และ การบันทึกบัญชี
1.ได้รับตราสารเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) คือใบแจ้งความประสงค์จะซื้อสินค้า เพื่อแจ้งให้ผู้ขายเตรียมสินค้าดังกล่าว
2.ออกใบส่งชั่วคราว ( proforma Invoice )ผู้ขายออกใบส่งสินค้า เพื่อทำการขออนุมัติส่งออก จากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร
3.ย้ายสินค้าออกจากคลัง เมื่อได้รับอนุมัติ สามารถย้ายสินค้าจากคลังไปที่จุดส่งได้ ขั้นตอนนี้ผู้ขายสามารถตัด stock สินค้า และเปลี่ยนสถาน่ะ สินค้าเป็นสินค้าระหว่างทาง่
Dr. สินค้าระหว่างทาง
Cr. สินค้า
4.ดำเนินการทางศุลกากร และ ยื่นรายได้ (กรณีจด vat) ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เจ้าพนักงานกรมศุลกากร เพื่อรับใบส่งสินค้า ขาออก และเมื่อมีการชำระภาษีอากร ให้ถือวันที่ชำระเป็นวันที่ในการยื่น vat แก่สรรพากร
- ฐานภาษี(ผู้ขาย) : เฉพาะเงื่อนไข F0B จะใช้ ราคาสินค้า ณ ด่านส่งออก +ภาษีสรรพสามิต *ค่าธรรมเนียมอื่นตามกำหนด(ไม่รวมค่าประกัน, ค่าส่งออกไปต่างประเทศ, อากรขาออก) = รายได้ที่จะต้องยื่นแก่สรรพากร
- อัตราภาษี : ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - อัตราภาษีคือ ศูนย์
5.ส่งมอบสินค้า และ บันทึกบัญชี ตามเงื่อนไขแล้วผู้ขายจะถือว่าได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อ ณ วันที่สินค้า ถูกย้ายไปที่เรือส่งสินค้า ณ ต้นทาง จะบันทึกบัญชีดังนี้
Dr. ลูกหนี้การค้า
Cr. รายได้
|
และบันทึกสินค้าระหว่างทางเป็นต้นทุนสินค้าเพื่อขาย
Dr. ต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการขาย
ภาษีซื้อ
|
6.ได้รับเงิน เมื่อลูกค้าชำระเงินตามใบ 1/C บันท็กบัญชีโดย นำเงินที่ได้รับ x อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เงินเข้าธนาคาร (ตาม BOT Rate หรือธนาคารแห่งประเทศไทย)
Dr. เงินฝากธนาคาร
Cr. ลูกหนี้การค้า
Dr./Cr. กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
7.หากไม่ได้รับเงินภายในงวดบัญชีให้ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้ที่บันทึกไว้ให้เป็นอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่สิ้นรอบบัญชี โดยบันทึก
กรณียอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น
Dr. ลูกหนี้การค้า
Cr. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
|
กรณียอดลูกหนี้ลดลง
Dr. ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
Cr. ลูกหนี้การค้า
|
ที่มา เพจ รู้ไว้ใช่ว่าเรื่องภาษี by family accounting