กรณีที่บริษัทรับพนักงานต่างด้าว (3 สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา) เข้ามาทำงานในองค์กร ต้องมีการแจ้งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะมี 3 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.จัดหางาน : ทาง HR ต้องตรวจสอบใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวและเตรียมพร้อมในการต่ออายุอยู่เสมอ จัดหางานเรา HR ต้องตรวจสอบใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวและเตรียมพร้อมในการต่ออายุอยู่เสมอ โดย ถ้าเป็นกลุ่มที่มีบัตรสีชมพูเวลาต่ออายุใบอนุญาตทำงานต้องรอฟังข่าว จาก มติ ครม. แต่ถ้าเป็นแรงงาน MOU แรงงานต่างด้าวจะมีสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ 4 ปี โดยถ้า MOU ครบ 2 ปี แล้วสามารถต่อได้อีก 2 ปี วิธีการ ต่อMOUครบ2ปี ยื่นเอกสารต่อล่วงหน้า 45 วัน แต่ถ้า MOU ครบ 4 ปี แล้ว สามารถต่อได้อีก 2ปี มีผลสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ หมดอายุตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 วิธีการต่อ MOUครบ4ปี ตามประกาศ มติ ครม. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 (ถ้าหมดอายุหลังจากที่กำหนด ต้องทำ MOU ให้แรงงาน ควรยื่นเอกสารล่างหน้าประมาณ 3 เดือน สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา)
2.ประกันสังคม : สำหรับงานกรรมกร ต้องแจ้งแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคมและนำเงินส่งสบทบทุกเดือน(เหมือนพนักงานสัญชาติไทย) ถ้าแรงงานต่างด้าวไม่เคยมีประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพ 3 เดือน เพื่อรอสิทธิประกันสังคม
3.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
– แจ้งที่พักอาศัยภายใน 24 ชั่วโมง
– แจ้งย้ายที่พักอาศัยเมื่อเปลี่ยนที่พักอาศัย
– รายงานตัวทุกๆ 90 วัน
– ตรวจสอบวีซ่าทำงานของแรงงานต่างด้าวและเตรียมพร้อมในการต่ออายุอยู่เสมอ โดย ถ้าเป็นกลุ่มที่มีบัตรสีชมพูเวลาต่ออายุวีซ่าต้องรอฟังข่าว จาก มติ ครม.แต่ถ้าเป็นแรงงาน MOU แรงงานต่างด้าวจะมีสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ 4 ปี โดยถ้า MOU ครบ 2 ปี แล้วสามารถต่อได้อีก 2 ปี วิธีการ ต่อMOUครบ2ปี ยื่นเอกสารต่อล่วงหน้า 45 วัน แต่ถ้า MOU ครบ 4 ปี แล้ว สามารถต่อได้อีก 2ปี มีผลสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ หมดอายุตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 วิธีการต่อ MOUครบ4ปี ตามประกาศ มติ ครม. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563(ถ้าหมดอายุหลังจากที่กำหนด ต้องทำ MOU ให้แรงงาน ควรยื่นเอกสารล่างหน้าประมาณ 3 เดือน สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา)
4.กรมการจัดหางาน ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2564
- การลงทะเบียนอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (3 สัญชาติ)
กรมการจัดหางานมี ระบบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (3 สัญชาติ) ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มี นายจ้าง(นายจ้างดำเนินการเอง)
VDO ขั้นตอนการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบ มีนายจ้าง
ระบบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (3 สัญชาติ) ทางอิเล็กทรอนิกส์
- คู่มือการใช้งานระบบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว (3 สัญชาติ) ทางอิเล็กทรอนิกส์
- เช็คลิสต์ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2564
- บริการเสริม ต่อบัตรชมพู 2564 บัตรต่างด้าวที่ ลงทะเบียนมาแล้ว
- สำหรับท่านที่ลงทะเบียนทำบัตรชมพู 2564 ในระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว
- เกิดความไม่สะดวกที่จะไปดำเนินการในขั้นตอนอื่นๆ ที่มีอีกมากหลายขั้นตอนเช่น
- การจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) หมดเขตวันที่ 16 มิถุนายน 2564
- การพาแรงงานไปตรวจโควิด-19 หมดเขตวันที่ 13 กันยายน 2564
- การพาแรงงานไปตรวจ 6 โรคต้องห้าม หมดเขตวันที่ 13 กันยายน 2564
- การพาแรงงานไปทำประกันสุขภาพ 2 ปี หมดเขตวันที่ 13 กันยายน 2564
- ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานที่ 7-11 หรือ ธนาคารกรุงไทย หมดเขตวันที่ 13 กันยายน 2564
- ยื่นคำขออนุญาตทำงานผ่านระบบออนไลน์ หมดเขตวันที่ 13 กันยายน 2564
- จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย(บัตรชมพู) หมดเขตวันที่ 31 มีนาคม 2565
- บริการทำหนังสือเดินทาง เมียนมา ลาว กัมพูชา
ทำไมแรงงาน พม่า ลาว กัมพูชา ต้องทำหนังสือเดินทางใหม่ ?
เนื่องจากหนังสือเดินทาง พม่า ลาว กัมพูชา บางคน มี เหลืออายุไม่ถึง 1 ปี หรือ พาสปอร์ตหมดอายุก่อน วันที่ 31/3/2022 ทำให้เมื่อต่อวีซ่าแล้วจะเสียเงินค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนแต่จะได้อายุวีซ่าเท่าที่เหลือในหนังสือเดินทาง จึงต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เพื่อให้ได้วีซ่าครบตามสิทธิ์ที่กฎหมายอนุญาต
หลังจากที่ท่านทำการแจ้งเรื่องการจ้างพนักงานต่างด้าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ทาง HR สามารถเข้ามาทำงานตั้งค่าในโปรแกรมเงินเดือนสำเร็จรูป BUSINESS PLUS HRM เพื่อให้เก็บประวัติและเพื่อให้ตรวจสอบวันที่หมดอายุของเอกสารต่างๆได้ โดยมีขั้นตอนการบันทึก ดังนี้
1.บันทึกข้อมูลที่ประวัติพนักงาน แถบต่างชาติ : ซึ่งมีให้กรอกข้อมูล หนังสือเดินทาง ตรวจลงตรา หนังสืออนุญาตทำงาน และรายละเอียดเพิ่มเติมของต่างด้าว
วิธีการบันทึก : ไปที่หน้าจอการตั้งค่า > ระบบเงินเดือน > เลือกแผนก > ดับเบิ้ลคลิกชื่อพนักงานที่ต้องการบันทึกข้อมูลของต่างด้าว
2.ประกันสังคม : ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคมและนำเงินส่งสบทบทุกเดือน (เหมือนพนักงานสัญญาติไทย)
แจ้งเข้าพนักงานให้กับประกันสังคม : เมื่อรับพนักงานต่างด้าวเข้ามาแล้ว ทาง HR แจ้งเข้าประกันสังคมให้กับพนักงานได้ โดยมี 2 วิธี ดังนี้
- เรียกรายงาน สปส.1-03 ในโปรแกรม โดยมีตัวอย่างรายงาน ดังนี้
- ส่งข้อมูลรายชื่อพนักงานผ่านอิเล็คทรอนิคส์ ดังนี้
แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
การเข้าระบบประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว
ข้อควรรู้สำหรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา ที่ทำงานในประเทศไทย
3.การตรวจสอบวันที่หมดอายุของเอกสารต่างๆ : ระบบจะมีหน้าจอปฎิทินเพื่อให้ตรวจสอบ วันที่หมดอายุเอกสารของพนักงานได้ เช่น หนังสือเดินทาง, ตรวจลงตรา และหนังสืออนุญาตทำงานหมดอายุ เป็นต้น สามารถตรวจสอบได้จากในโปรแกรม โดยไปที่ปุ่มสอบถาม > เลือก แสดงปฏิทินบุคคล
- โปรแกรมจะโชว์ข้อมูลต่างๆแต่ละเดือน สามารถคลิกดูข้อมูลในวันนั้นๆได้ ว่ามีพนักงานกี่คน และ ชื่ออะไรบ้างที่เอกสารจะหมดอายุ เพื่อเตรียมวางแผนในการต่ออายุเอกสารได้ตามกำหนด
4.ตรวจสอบรายงานพนักงานต่างด้าว : โปรแกรมมีรายงานรองรับเพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลพนักงานต่างด้าวได้ โดยกรณีที่ต้องการเรียกรายงานสำหรับคนต่างด้าวในโปรแกรมเงินเดือน สามารถทำได้โดย
ไปที่หน้าจอ การตั้งค่า > ระบบเงินเดือน > เลือก รายงาน > รายงานสำหรับคนต่างชาติ
- ตัวอย่าง : รายงานใบรับแจ้งอยู่เกิน 90 วันของพนักงานต่างชาติ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม