หลายธุรกิจประสบปัญหาในการจัดการเอกสารที่ไม่เป็นระบบ ส่งผลให้การคำนวณต้นทุนผิดพลาดและเกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น กิจการผลิตที่มีการบันทึกเอกสารใบโอนย้ายสินค้าและใบแปรรูปในวันเดียวกัน หรือมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงธุรกิจที่มีหลายสาขาและมีการโอนย้ายสินค้าระหว่างกัน หากไม่มีการจัดลำดับการบันทึกเอกสารที่ถูกต้องและเหมาะสม การคำนวณต้นทุนอาจผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและการตัดสินใจทางธุรกิจ

ความสำคัญของการจัดลำดับประเภทเอกสาร

การจัดลำดับประเภทเอกสารในการคิดต้นทุนมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการสร้างความแน่นอนในการคำนวณต้นทุนที่ถูกต้อง หากลำดับเอกสารผิดพลาด เช่น บันทึกเอกสารการขายก่อนการรับสินค้า จะทำให้ต้นทุนที่คำนวณได้ต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่ไม่แม่นยำ และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการขาดทุน

ตัวอย่าง: หากบันทึกการขายสินค้า 100 ชิ้น โดยที่ยังไม่ได้รับสินค้าจริง ต้นทุนที่คำนวณจะไม่รวมสินค้าที่ควรจะถูกนำมาคิดต้นทุน ทำให้ผลลัพธ์ทางการเงินแสดงกำไรสูงเกินจริง ซึ่งอาจทำให้การวางแผนการผลิตและการบริหารสินค้าคงคลังผิดพลาดได้

การปิดต้นทุนอัจฉริยะของ Bplus ERP

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Bplus ERP ได้พัฒนาระบบที่สามารถจัดลำดับการทำงานและการประมวลผลต้นทุนของเอกสารได้ตาม Flow การทำงานของธุรกิจ ช่วยให้การคำนวณต้นทุนมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความเป็นจริง ลดความเสี่ยงในการขาดทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

ขั้นตอนการปิดต้นทุน

  1. ตรวจสอบรอบการปิดต้นทุนของแต่ละกลุ่มเอกสาร
  2. คำนวณต้นทุนจากเอกสารที่มีผลต่อการเพิ่มของสต็อก เช่น ใบรับสินค้า ใบรับจากการผลิต
  3. คำนวณต้นทุนเพิ่มหรือลดตามใบปรับต้นทุนสินค้า
  4. คำนวณต้นทุนเอกสารโอนย้ายคลัง
  5. นวณต้นทุนจากใบแปรรูป
  6. คำนวณต้นทุนด้านออกของสินค้า เช่น ใบขาย ใบส่งคืนจากการซื้อ
  7. นวณต้นทุนจากใบปรับปรุงสินค้าตามการตรวจนับสต็อกหรือเอกสารยอดยกมา

ตัวอย่างการจัดลำดับเอกสารที่ถูกต้อง

  1. ใบซื้อสินค้า (รอบการปิดทุน รอบ 1)
  2. ใบโอนย้ายวัตถุดิบ (รอบการปิดทุน รอบ 1)
  3. ใบแปรรูปสินค้า (รอบการปิดทุน รอบ 2)
  4. ใบโอนย้ายสินค้าสำเร็จรูป (รอบการปิดทุน รอบ 3)
  5. ใบขายสินค้า (รอบการปิดทุน รอบ 3)

ตัวอย่าง หน้าจอและรายงานแสดงผลลัพธ์จาก Bplus ERP

 

การคำนวณปิดต้นทุนระบบจะทำทีละวัน โดยตามลำดับของประเภทเอกสารตามรอบการปิดทุนที่กำหนด ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้

1. รอบการปิดต้นทุนของเอกสาร กรณีมีกลุ่มเอกสารหลายกลุ่ม ทำการตรวจสอบรอบการปิดต้นทุนของแต่ละเอกสาร ว่ากำหนดรอบการปิดต้นทุนเป็นรอบใด เช่น 1 2 3 เรียงตามลำดับ

2. ในแต่ละรอบการการปิดทุน จะคำนวณตามลำดับเอกสารดังนี้

    ลำดับที่ 1. คำนวณต้นทุนของเอกสารที่มีผลกับการเพิ่มของสต็อก เรียงตามลำดับดังนี้

                      1.1 ใบรับคืนจากขาย

                      1.2 ใบคืนเบิกสินค้า

    ลำดับที่ 2. คำนวณต้นทุนเพิ่ม ลด ของสินค้า ตาม ใบปรับต้นทุนสินค้า

    ลำดับที่ 3. คำนวณต้นทุนเอกสารโอนย้ายคลัง โดยคำนวณต้นทุนของตำแหน่งเก็บจ่ายสินค้า ก่อน คำนวณตำแหน่งเก็บที่รับเข้า

    ลำดับที่ 4. คำนวณต้นทุนของเอกสารใบแปรรูป คำนวณต้นทุนวัตถุดิบที่ตัดออก และรับเข้าต้นทุนของผลผลิต

    ลำดับที่ 5. คำนวณต้นทุนด้านออก ของสินค้า เรียงตามลำดับเอกสารดังนี้

                      5.1 ใบขาย

                      5.2 ใบส่งคืนจากการซื้อ

                      5.3 ใบเบิกสินค้า

                      5.4 ใบตัดชำรุด

    ลำดับที่ 6. คำนวณต้นทุนใบปรับปรุงสินค้า ตามการตรวจนับสต็อกหรือเอกสารยอดยกมา

ตัวอย่าง ในการคำนวณปิดต้นทุนนั้นสำหรับกิจการผลิต อาจจะมีการบันทึกเอกสารใบโอนย้ายสินค้า หรือใบแปรรูป ในวันเดียวกัน หรือมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่าปกติ หรือกิจการที่มีหลายสาขาที่มีการโอนย้ายสินค้า โอนไปโอนกลับในวันเดียวกัน เพื่อให้การคำนวณต้นทุนในแต่ละรอบการทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงจำเป็นจะต้องกำหนดรอบในการปิดต้นทุนของแต่ละกลุ่มเอกสาร เพื่อให้ระบบคำนวณต้นทุนได้แม่นยำขึ้น

ตัวอย่าง การกำหนดรอบในการปิดทุน สำหรับกิจการผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยขั้นตอนการบันทึกเอกสารเป็นดังนี้

  1. รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า
  2. รวบรวมคำสั่งซื้อเพื่อโอนวัตถุดิบ ไปยังไลน์การผลิต
  3. ทำการผลิตตามคำสั่งซื้อ บันทึกเอกสารแปรรูป เพื่อตัดสต๊อกวัตถุดิบ และรับผลิตเข้าคลัง
  4. เมื่อผลิตเสร็จรับเข้าคลังเพื่อรอตรวจสอบคุณภาพ (QC)
  5. ซึ่งในวันเดียวกันเมื่อตรวจสอบคุณภาพเสร็จจะทำการโอนสินค้าไปยังคลังพร้อมจำหน่าย

จากขั้นตอนการทำงานข้างต้น กิจการจะต้องทำการกำหนดกลุ่มเอกสาร และรอบการปิดต้นของแต่ละเอกสารดังนี้

  1. ใบจองสินค้า ไม่ต้องกำหนดรอบปิดทุนเนื่องจากไม่มีผลต่อสต๊อกสินค้า
  2. ใบซื้อสินค้า รอบการปิดทุน รอบ 1
  3. ใบโอนย้ายวัตถุดิบ รอบการปิดทุน รอบ 1
  4. ใบแปรรูปสินค้า รอบการปิดทุน รอบ 2
  5. ใบโอนย้ายสินค้าสำเร็จรูป รอบการปิดทุน รอบ 3

จะเห็นได้ว่าเมื่อกิจการลำดับขั้นตอนในการทำงานที่ชัดเจน กิจการก็จะสามารถตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน การเข้าออกของเอกสาร และได้ต้นทุนที่ถูกต้องแม่นยำ

 

ตัวอย่าง รายงานที่ได้จากการคำนวณต้นทุนสินค้า สินค้าวัตถุดิบ

 

ตัวอย่าง รายงานที่ได้จากการคำนวณต้นทุนสินค้า สินค้าสินค้าสำเร็จรูป

ประโยชน์ของการจัดลำดับประเภทเอกสารอย่างถูกต้อง

  • ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ : ช่วยให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
  • ลดความเสี่ยงในการขาดทุน : การคำนวณต้นทุนที่แม่นยำช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุน
  • ปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง : ช่วยให้การวางแผนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน : ลดความซับซ้อนในการจัดเก็บและค้นหาเอกสาร
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย : ช่วยให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีได้อย่างถูกต้อง