ลดการสูญเสีย เพิ่มกำไร ด้วย Bplus ERP

ตัวช่วยตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมน้ำหนักวัตถุดิบในธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูป

การควบคุมน้ำหนักของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปและการขายส่ง

ในกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพและปริมาณของวัตถุดิบที่มีน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยในการตรวจสอบและควบคุมปริมาณวัตถุดิบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่มาของการใช้เครื่องชั่งในการควบคุมน้ำหนักของวัตถุดิบ การควบคุมน้ำหนักของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตสามารถช่วยลดการสูญเสีย (Loss) ที่เกิดขึ้นจากการผลิตได้ การสูญเสียสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น จากการตัดชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการออก จากการตัดแต่งเกิดเศษชิ้นส่วนที่ใช้งานไม่ได้ เป็นต้น โดยปัญหาที่พบบ่อยในธุรกิจผลิตอาหารสดและเนื้อสัตว์แปรรูป

ธุรกิจผลิตอาหารสดและเนื้อสัตว์แปรรูปมักพบปัญหาในการควบคุมสต๊อกสินค้า โดยเฉพาะการควบคุมน้ำหนักและปริมาณ เช่น ในการซื้อหมูจากฟาร์ม ธุรกิจต้องการทราบน้ำหนักของหมูแต่ละตัว และในขั้นตอนการขายเนื้อหมูแปรรูปเป็นแพ็คก็ต้องการทราบน้ำหนักของแต่ละแพ็คเช่นกัน เนื่องจากค่าความสูญเสีย (Loss) ที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องควบคุมให้ดี

Bplus ERP ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับปัญหาของธุรกิจนี้

ประโยชน์ของระบบการผลิตที่ต้องการการควบคุมน้ำหนัก โดยการใช้เครื่องชั่งบาร์โค้ดเป็นเครื่องมือร่วมในการควบคุมน้ำหนักของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตไม่เพียงช่วยในการควบคุมปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบ แต่ยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดค่าสูญเสียในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย Bplus ERP ได้พัฒนาระบบขึ้นมารองรับปัญหาของธุรกิจนี้ โดยมีขั้นตอนการทำงานง่ายๆ ดังนี้

1. ทำการตั้งค่ารูปแบบรหัสบาร์โค๊ดของเครื่องชั่ง ซึ่งรองรับรูปแบบของเครื่องชั่งได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บาร์โค้ด 18 หลัก ระบบจะตัดสต็อก ตามน้ำหนักที่ชั่งได้ บาร์โค้ด 13 หลัก ระบบจะตัดสต็อก โดยประมาณด้วยการนำยอดขายรวม หาร ด้วยราคาต่อกิโลกรัม เพื่อให้ได้จำนวนน้ำหนักประมาณ

2. กำหนดรหัสสินค้าสำหรับที่ต้องใช้กับเครื่องชั่งแต่ละรายการ

3. ทำการชั่งสินค้า เพื่อให้เครื่องชั่งทำการพิมพ์ป้ายบาร์โค๊ดที่แสดงรายละเอียดตามที่กำหนดข้างต้น

คำอธิบาย จากข้อมูลตัวอย่างบาร์โค๊ด กำหนดรหัสสินค้า 6 หลัก มูลค่าสินค้า 6 หลักรวมทศนิยม 2 ตำแหน่ง (ตัวอย่างเช่น 999.99) น้ำหนักสินค้าจำนวน 5 หลัก หน่วยเป็นกรัมและตัวเลขตรวจสอบ 1 หลัก

4. บันทึกรับเข้าวัตถุดิบตามน้ำหนัก

ระบบ Bplus ERP พัฒนาให้สามารถบันทึกรับเข้าวัตถุดิบตามน้ำหนักได้ เช่น การรับเข้าหมูเป็นตัว ซึ่งในแต่ละตัวมีน้ำหนักไม่เท่ากัน โดยระบบจะบันทึกน้ำหนักของหมูแต่ละตัวไว้ในเอกสารใบรับสินค้า หลังจากบันทึกรับเข้าวัตถุดิบแล้ว ระบบ Bplus ERP จะมีรายงานให้ตรวจสอบได้ว่าหมูแต่ละตัวมีน้ำหนักเท่าไหร่

ประโยชน์

  • ช่วยให้บันทึกรับเข้าวัตถุดิบได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
  • สามารถตรวจสอบข้อมูลการรับเข้าวัตถุดิบได้อย่างละเอียด
  • ช่วยให้ควบคุมสต็อกวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. บันทึกการแปรรูปสินค้าตามน้ำหนัก

ระบบ Bplus ERP สามารถบันทึกการแปรรูปสินค้าตามน้ำหนักได้ เช่น การแปรรูปหมู 1 ตัว ได้เนื้อหมูสันในกี่กิโล จากนั้นทำการแพ็คเนื้อหมูพร้อมชั่งน้ำหนักว่าหมูแต่ละแพ็คมีน้ำหนักเท่าไหร่ หลังจากบันทึกการแปรรูปสินค้าแล้ว ระบบ Bplus ERP จะมีรายงานให้ตรวจสอบได้ว่าได้เนื้อหมูสันในกี่กิโล และหมูแต่ละแพ็คมีน้ำหนักเท่าไหร่

ประโยชน์

  • ช่วยให้บันทึกการแปรรูปสินค้าได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
  • สามารถตรวจสอบข้อมูลการแปรรูปสินค้าได้อย่างละเอียด
  • ช่วยให้ควบคุมสต็อกสินค้าแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.บันทึกเอกสารขายสินค้า กรณีที่ขายสินค้าเป็นแพ็คซึ่ง

ระบบ Bplus ERP ได้รับการปรับปรุงให้สามารถบันทึกเอกสารขายสินค้ากรณีที่ขายสินค้าเป็นแพ็คได้ โดยแต่ละแพ็คจะมีน้ำหนักและราคาที่ไม่เท่ากัน โดยสามารถทำการขายได้โดยการยิงบาร์โค้ดที่ติดมากับสินค้าได้เลย

หลังจากบันทึกเอกสารขายสินค้าแล้ว ระบบ Bplus ERP จะมีรายงานให้ตรวจสอบได้ว่าสินค้าที่ขายไปกี่แพ็ค และยังสามารถทราบได้ว่าแต่ละแพ็คมีน้ำหนักเท่าไหร่

ประโยชน์

  • ช่วยให้บันทึกเอกสารขายสินค้าได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
  • สามารถตรวจสอบข้อมูลการขายสินค้าได้อย่างละเอียด
  • ช่วยให้ควบคุมสต็อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของระบบการผลิตที่ใช้ Bplus ERP  ควบคุมสต๊อกน้ำหนัก

1. ตรวจสอบการสูญเสีย (Loss) ได้อย่างแม่นยำ: ระบบจะคำนวณการสูญเสียจากการผลิตโดยอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้จัดการสามารถระบุสาเหตุของการสูญเสียและวางแผนกลยุทธ์เพื่อลดการสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วิเคราะห์ข้อมูลยอดซื้อและขายได้อย่างครอบคลุม: ระบบจะรวบรวมข้อมูลยอดซื้อและขายทั้งหมด ช่วยให้ผู้จัดการสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการขาย คาดการณ์ความต้องการ และปรับกลยุทธ์การจัดซื้อให้เหมาะสม

3. รับทราบจำนวนและน้ำหนักที่แท้จริงของสินค้า: ระบบจะติดตามน้ำหนักของสินค้าในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ทำให้ผู้จัดการสามารถมั่นใจได้ว่ามีการบันทึกน้ำหนักที่แท้จริงของสินค้าในสต๊อก

4. ตรวจสอบสต๊อกสินค้าคงเหลือได้อย่างแม่นยำ: ระบบจะอัปเดตสต๊อกสินค้าคงเหลือแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้จัดการสามารถตรวจสอบความพร้อมของสินค้าได้อย่างแม่นยำ ลดความเสี่ยงของการขาดแคลนสินค้าหรือการสั่งซื้อสินค้ามากเกินไป