เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่

กฎหมายแรงงาน "ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์"

แต่ในระหว่างมีครรภ์ ถ้านายจ้างยกเหตุ "อื่น" ขึ้นอ้างย่อมทำได้

มาตรา ๔๓ ว่าห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

ก็ทำให้ได้หลักสำคัญ ๒ ข้อคือ

๑) เลิกจ้าง "เพราะสาเหตุมีครรภ์" ไม่ได้

๒) เลิกจ้างลูกจ้างหญิงในขณะมีครรภ์ "เพราะสาเหตุอื่น" สามารถทำได้ เช่น ลูกจ้างหญิงขณะมีครรภ์ทำการทุจริต หรือละทิ้งหน้าที่ ฯลฯ เช่นนี้ เหตุแห่งการเลิกจ้างไม่ใช่เพราะมีครรภ์ สามารถเลิกจ้างได้

มีหลักการสำคัญดังนี้

๑) กฎหมายห้ามเฉพาะการเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์

๒) กฎหมายคุ้มครองรวมถึงการเขียนสัญญาไว้แต่ต้นว่า "หากตั้งครรภ์จะเลิกจ้าง" (ฎ. คำพิพากษาฎีกาที่ 1394/2549)

๓) “การเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์” เป็นข้อเท็จจริงที่ลูกจ้างยกขึ้นอ้าง เช่นนี้หากลูกจ้างจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างจะต้องเก็บพยานหลักฐานต่าง ๆ เอาไว้อย่างรอบคอบ

๔) กฎหมายคุ้มครองการเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ แต่หากนายจ้างยกเหตุอื่นมาเลิกจ้าง เช่น นายจ้างขาดทุน เป็นต้น นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ แม้จะอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ก็ตามก็สามารถทำได้

๕) การเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ของนายจ้างเป็น “คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เพราะต้องห้ามชัดแจ้งโดย พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย คำสั่งเลิกจ้างมีผลเป็นโมฆะ ทำให้แม้เลิกจ้างแล้ว “ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้างอยู่” และมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อค่าเสียหายได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๕๙/๒๕๔๘ วินิจฉัยว่า ในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงที่ใช้สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร คงมีเพียง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔๓ ที่บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์” แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์มีครรภ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา ๔๓

สิ่งที่นายจ้างต้องระมัดระวังให้มากในส่วนกฎหมายแรงงานคือกฎหมายมีโทษอาญา สำหรับการเลิกจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีโทษตามมาตรา ๑๔๔ กำหนดให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามมาตรา ๔๓ เรื่องห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ที่มา เพจกฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน "ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์"

การคุ้มครองลูกจ้างที่มีครรภ์นั้นมีหลักอย่างไร และหากนายจ้างฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง

ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม

ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?

หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง

เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้

เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่

เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่

เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?

“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?