ตัวอย่างเคส
มีพนักงานคนนึง เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้เลย นายจ้างพยายามไกล่เกลี่ย และย้ายให้หลายแผนกแล้ว ก็ไม่มีใครมีความสุขที่ได้ร่วมงานด้วยเลย ไม่สามารถประสานงานร่วมได้ แบบนี้หากนายจ้างประสงค์จะเลิกจ้าง โดยยอมจ่ายค่าชดเชยครบถ้วน เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไหม
คำแนะนำ
เราคงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่าในการทำงานในบริษัทหรือองค์กรองค์กรหนึ่งการให้ความร่วมมือมีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ดี ดังนั้น หากมีพนักงานคนหนึ่งขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จนถึงขั้นไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ไปแผนกไหนคนก็เอือมระอา นายจ้างเองก็ได้พยายามในการแก้ไขโดยให้ลองเปลี่ยนแปลงบทบาทของงานแล้ว แต่ก็ยังเกิดความขัดแย้ง และไม่สามารถประสานงาน ทำงานร่วมกับใครได้
เหตุเช่นว่านี้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของบริษัท ทำให้การผลิตและการบริการของบริษัทขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายได้
ดังนั้น การเลิกจ้างด้วยเหตุนี้จึงเป็นธรรมเเล้ว และเมื่อนายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยแล้ว เมื่อลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลจึงพิพากษาว่า การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นธรรมแล้ว
อ้างอิง: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2545)
ที่มา เพจ คลีนิกกฎหมายแรงงาน
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน
ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม
ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง
เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้
เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่
เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่
เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?
เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่
“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?