กรณีที่นายจ้างไม่ได้กำหนดการเกษียณไว้ หรือกำหนดไว้แต่เกิน 60 ปี จะมีผลอย่างไร

ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้กำหนดอายุเกษียณไว้ในสัญญาจ้างหรือข้อบังคับของบริษัท หรือกำหนดไว้แต่เกิน 60 ปี ผู้ใช้แรงงานจะยังคงสามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะมีการตกลงเกษียณหรือมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในภายหลัง สำหรับประเทศไทย อายุเกษียณอย่างเป็นทางการทั่วไปคือ 60 ปี แต่นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันเพื่อกำหนดอายุเกษียณที่แตกต่างไปจากนี้ได้ ตามกฎหมายแรงงาน

ถ้าหากนายจ้างกำหนดอายุเกษียณที่เกิน 60 ปี ผู้ใช้แรงงานก็จะมีสิทธิ์ทำงานต่อไปจนกว่าจะถึงอายุที่ถูกตกลงกันไว้นั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเกษียณจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการเลือกปฏิบัติทางอายุและจะต้องได้รับการตกลงระหว่างทั้งสองฝ่ายเสมอ

ข้อมูลทางกฎหมาย 

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118/1 ว 2

กำหนดไว้ว่า " ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงไว้หรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกิน 60 ปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป มีสิทธิเเสดงเจตนาเกษียณได้ โดยให้เเสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบ 30 วันนับแต่วันเเสดงเจตนาและให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามม.118 ว1"

กรณีแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1.กรณีไม่ได้กำหนดการเกษียณไว้ในข้อบังคับ ข้อตกลง ในสัญญาจ้าง หรือ

2. กรณีกำหนด หรือตกลงไว้ฯ เเต่เกิน 60 ปี เช่น กำหนดเกษียณไว้ที่ 80 ปี หรือ 90 ปี

ผลในทางกฎหมายทั้ง 2 กรณีคือ กฎหมายมอบสิทธิให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปี ที่จะขอเกษียณอายุต่อนายจ้าง ลูกจ้างจะไม่ใช้สิทธิก็ได้ ถ้าใช้สิทธิขอเกษียณก็เเจ้งให้นายจ้างทราบ ถ้าไม่ใช้สิทธิก็ทำงานต่อไปเรื่อยๆ ลูกจ้าง จะใช้สิทธิเมื่อใดก็เเจ้งให้นายจ้างทราบ เมื่อแจ้งเเล้วก็จะมีผลเมื่อครบ 30 วันนับแต่วันแจ้งหรือเเสดงเจตนาขอเกษียณอายุ

การมอบสิทธิให้ลูกจ้างตามหลักกฎหมายดังกล่าวมิใช่เรื่องใหม่ เพราะเดิมศาลฎีกาก็เคยตัดสินไว้ในหลายคดี เช่น ฎีกาที่ 1517/2557 นายจ้างกำหนดเกษียณในข้อบังคับฯ 60 ปี เมื่อครบกำหนดเเล้วนายจ้างยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และลูกจ้างก็ไม่ได้เกษียณอายุตามข้อบังคับ เเต่มาขอเกษียณอายเมื่อ 62 ปี

ศาลตัดสินว่า สิทธิในการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างจึงเกิดขึ้นตั้งแต่อายุครบ 60 ปี ตามข้อบังคับ การที่ลูกจ้างทำงานต่อมาอีก 2 ปีเเล้วขอเกษียณ ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แม้นายจ้างจะไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างตาม ม.118 ว 2 ก็ตามเพราะหากให้นายจ้างหยิบยกว่ามิได้เลิกจ้างขึ้นอ้างได้ ย่อมเป็นช่องทางให้เกิดการหลบเลี่ยงในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุโดยทำทีว่าคงจ้างต่อไปจนพนักงานทำงานต่อไปไม่ไหวแล้วขอลาออกเอง

การนำหลัการดังกล่าวมาเขียนไว้

ในกฎหมายย่อมเกิดความชัดเจน ทำให้ลูกจ้างเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้ง่าย สะดวก ทุกฝ่ายสามารถปฎิบัติตามกฎหมายได้ ช่วยลดข้อโต้แย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างได้

อ้างอิงข้อมูล FB Narongrit Wannaso

 

Q & A เรื่องเกษียณอายุ

Q. ลูกจ้างเกษียณอายุกับนายจ้าง ก. ซึ่งกำหนดไว้ที่ 55 ปี โดยนายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้ลูกจ้างเพราะเหตุเกษียณแล้ว

กรณีที่ 1 หากนายจ้างตกลงทำงานกับนายจ้างอีกต่อไปในตำแหน่ง และค่าจ้างเท่าเดิม โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ ลูกจ้างทำงานต่อไปจนอายุ 60 ปี ลูกจ้างจะขอเกษียณได้อีกหรือไม่

A.ลูกจ้างไม่อาจขอเกษียณอายุเพื่อรับค่าชดเชยได้อีก เพราะถือว่านายจ้างได้กำหนดเกษียณอายุไว้แล้วตามม.118/1 ว.1แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ และ

กรณีนี้ไม่เข้าม.118/1 ว 2

แต่หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามม.118 ว 2 โดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิดตามม.119 ลูกจ้างจึงจะได้ค่าชดเชยตามม.118

อนึ่ง หากลูกจ้างตกลงกับนายจ้างทำเป็นสัญญาจ้างมีกำหนดเวลา เช่น 5 ปี นับแต่เกษียณอายุ เช่นนี้ เมื่อครบ 5 ปี สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลงซึ่งเป็นการเลิกจ้างตามม.118 ว 2 เมื่อเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเช่นกัน

กรณีจะไม่ต้องจ่าย ต้องตกลงจ้างทำงานอิสระ /ไม่มีลักษณะเป็นการจ้างแรงงานกันอย่างแท้จริง

กรณีที่ 2 หากลูกจ้างมาทำงานกับนายจ้างรายใหม่ซึ่งไม่มีกำหนดการเกษียณอายุไว้ กรณีนี้ เมื่อลูกจ้างทำงานมาครบ 60 ปีจะขอเกษียณอายุต่อนายจ้างได้หรือไม่

A.แม้ลูกจ้างจะเกษียนณกับนายจ้างรายเดิมมาเมื่ออายุ 55 ปี มาแล้ว แต่เมื่อนายจ้างรายใหม่มิได้กำหนดหรือตกลงการเกษียนอายุไว้ กรณี้นี้จะเข้าม.118/1 ว 2 ที่ตะขอเกษียณอายุต่อนายจ้างได้หากอายุครบ 60 ปี เเละนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามม.118

อนึ่ง การขอเกษียณอายุตามม.118/1 ว 2 ในระหว่างการเเสดงเจตนาขอเกษียณอายุยังไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างเพราะยังไม่ครบ 30 วัน ลูกจ้างยังคงต้องมีหน้าที่ไปทำงานให้นายจ้างต่อไป ในระหว่างนั้น หากลูกจ้างตายก่อน หรือทำผิดวินัยร้ายแรงแล้วเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้าง ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงด้วยเหตุความตายของลูกจ้างหรือนายจ้างได้เลิกสัญญาจ้างแล้ว กรณีนี้ นายจ้างน่าจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะการเเสดงเจตนาขอเกษียณอายุไม่มี

ผลจึงยังไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

อ้างอิงข้อมูล FB Narongrit Wannaso