กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องสิทธิ หน้าที่ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง เช่น การกำหนดจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดในเรื่องของแรงงานหญิง แรงงานเด็ก หากนายจ้างไม่รู้กฎหมายหมวดนี้และกำหนดค่าจ้างที่ขัดแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สัญญาจ้างก็จะเป็นโมฆะ
สรุปความเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่อดีตจนถึง5 พฤษภาคม 2562
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 19 สิงหาคม 2541
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2551
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 28 กุมภาพันธ์ 2551
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 บังคับใช้ 16 กรกฎาคม 2554
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 บังคับใช้ 23 กุมภาพันธ์ 2560
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 บังคับใช้ 1 กันยายน 2560
- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 บังคับใช้ 5 พฤษภาคม 2562
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF
สัญญาจ้างแรงงาน
เป็นการจำกัดเรื่องเสรีภาพ ในการทำสัญญาจ้างลูกจ้าง เป็นข้อสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ส่วนใหญ่จ้างโดยการทำเป็นหนังสือ ซึ่งลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “นายจ้าง” ต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้
กฎหมายประกันสังคม
เป็นกฎหมายที่กำหนดในเรื่องของหลักประกันแก่บุคคลในสังคม โดยมีการจ่ายเงินเข้ากองทุน แล้วเฉลี่ยคืนให้กับลูกจ้าง โดยแบ่งออกเป็น 7 กรณี ดังนี้ คือ
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีชราภาพ
4. กรณีทุพพลภาพ
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีตาย
7. กรณีว่างงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน
เป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นค่าทดแทนการรักษาพยาบาล หรือเป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสิทธิ กรณีเนื่องจากการทำงาน และค่าทำศพฃ
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เป็นระเบียบบังคับที่มีเพื่อพัฒนานิสัยในการทำงานด้วยความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังความปลอดภัยอยู่เสมอ หากขาดความระมัดระวัง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของตนเอง และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงทรัพย์สินของบริษัทหรือองค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด ท่านจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ระเบียบบังคับที่ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยฝึกให้บุคคลมีความรู้ความสามารถ ในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนากำลังแรงงาน และให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ใช้ในผู้ประกอบการกิจการ ประเภทอุตสาหกรรม ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายปีในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างขั้นต่ำ เว้นแต่จะจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตามกฎหมายกำหนดไว้ ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด
พระราชบัญญัติพัฒนาคุณภาพชีวิต
เป็นกฎระเบียบด้านคนพิการ นายจ้าง หรือ เจ้าของกิจการ หรือสถานประกอบการ กล่าวคือ ถ้ามีการรับคนพิการ เข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน ได้รับการยกเว้นภาษีร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
ระเบียบบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เน้นเกี่ยวกับการสภาพการจ้างของลูกจ้าง การเลิกจ้าง และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในสถานประกอบการ
รายละเอียดเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับลูกจ้าง
ที่มา เพจ Gen Z Manpower