PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร
ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล ข้อมูลตามบัตรประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เบอร์โทรศัพท์ เลขทะเบียนรถ ข้อมูลโซเชียลมีเดียเช่น ชื่อ Facebook, Twitter, IG และอื่น ๆ ที่สามารถบ่งบอกถึงตัวเจ้าของข้อมูลได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

กรณีของการถ่ายภาพ จะถูกแบ่งเป็น 3 กรณีหลัก ๆ ดังนี้
1. กรณีถ่ายภาพเพื่อนำมาลง Social ที่ไม่ได้ถ่ายเพื่อหวังผลทางการค้า หรือไม่ได้สร้างรายได้จากภาพนั้น ๆ สามารถโพสต์ได้โดยไม่ได้ผิด PDPA แต่หากภาพนั้นสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น อาจโดนฟ้องละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับ PDPA แต่อย่างใด
2. กรณีที่เป็นการถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้แล้วมีหน้าคนอื่นเข้ามา แล้วนำภาพเหล่านั้นไปโปรโมท เพจ รีวิว ร้านค้า จะต้องขอความยินยอมก่อนที่จะนำภาพมาลง โดยขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป
หรือกรณีงานอีเว้นต์ "ผู้ควบคุมข้อมูล" คือเจ้าของงาน เพราะช่างภาพคือ "ผู้ถูกจ้าง" ไปเก็บภาพบรรยากาศ แต่อาจมีกรณีผู้ร่วมงานบางท่านไม่อยากให้ตัวเองถูกถ่ายรูป เจ้าของงานต้องจัดการแก้ปัญหานี้ด้วยตนเอง อาจแปะสติ้กเกอร์หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อบ่งบอกถึงผู้ร่วมงานที่ไม่อยากถูกถ่ายรูป เป็นต้น
3. กรณีที่เป็นภาพคลิปวิดีโอต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกันกับกรณี 1 และ 2 นั่นคือ ถ้ามีการถ่ายทำแบบสนุก ๆ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ต้องดูว่าสถานที่ถ่ายทำคือสถานที่สาธารณะหรือไม่ ถ้าสถานที่นั้นสามารถถ่ายวิดีโอได้ ก็จะไม่เข้าข่าย PDPA แต่อย่างใด

แต่ในกรณ๊ของการนำคลิปจากกล้องหน้ารถ กล้องวงจรปิด มาโพสต์ลงโซเชียลจะต้องดูว่ามีโอกาสละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ถูกถ่ายหรือไม่และควรมีป้ายสัญลักษณ์บ่งบอกว่ามีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในอาคาร แต่โดยทั่วไปข้อมูลส่วนนี้ไม่ควรนำมาใช้โพสต์สาธารณะ แต่ควรเก็บไว้เป็นหลักฐานมากกว่า

 

เจ้าของข้อมูลทำอะไรได้บ้าง?
เจ้าของข้อมูลจะต้องทำการยินยอมในการให้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเก็บรักษาและนำไปใช้ในเชิงธุรกิจได้ไม่ว่าจะผ่านทางเอกสารหรือหน้าเว็บไซต์ โดยสามารถสอบถามผู้ที่ติดต่อมาได้ว่า ได้ข้อมูลเรามาจากไหน ถ้าผู้ติดต่อมาไม่ยอมแจ้งที่มาของข้อมูล เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ หลังจาก พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลบังคับใช้จริง

แต่ถ้าหากบริษัทที่มีข้อมูลของเราอยู่ถูกเจาะระบบแล้วทำข้อมูลส่วนตัวของเราหลุดไป ก็ถือเป็นปัญหาเรื่องความปลอดภัย ถึงแม้จะไม่มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็ถือว่ามีความผิดอยู่แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันที


บทลงโทษ
- โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
- โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
- โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

โดยทั้งหมดนี้จะถูกบังคับใช้จริงภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ดังนั้นพวกเราทุกคนควรรักษาข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง ไม่ให้หลุดรอด ถูกนำไปใช้ในทางมิชอบได้ และโดยเฉพาะผู้ที่ต้องมีการเก็บข้อมูล ควรวางแผนการจัดการกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่ให้ทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

 

ลงทะเบียนรับคู่มือ PDPA ที่ HR ควรทราบ คลิก

VDO HR ต้องรู้ เพื่อรับมือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


EP.01

 


EP.02

 


EP.03

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ PDPA

อ่านเพิ่มเติม นายจ้าง และ HR ควรรู้! แนวทางจัดการเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

อ่านเพิ่มเติม เจ้าของธุรกิจควรรู้ ไม่ทำ Privacy Policy เสี่ยงผิดพรบ.คุ้มครองข้อมูล

อ่านเพิ่มเติม HR สามารถตอบคำถามที่ทำงานใหม่ของอดีตลูกจ้างโทรมาสอบถามถึงสาเหตุการลาออกได้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม นายจ้างสามารถส่งข้อมูลชื่อ นามสกุลและอัตราเงินเดือนของลูกจ้าง ให้แก่บริษัทรับจ้างทำจ่ายเงินเดือนได้หรือไม่