1. แยกประเภทด้วยรหัสสินค้า และจัดการ SKU
ติดป้ายหรือ Barcode เพื่อแยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้าให้ตรงกับรายการสินค้าที่ขายเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ รวมถึงกำหนด Stock Keeping Unit (SKU) ให้สินค้าแต่ละประเภทมีความแตกต่างชัดเจน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น
2. เตรียมพร้อมสำหรับอีเว้นท์และฤดูกาลต่างๆ
วางแผนการขายล่วงหน้าสำหรับอีเว้นท์หรือเทศกาลต่างๆ ที่สอดคล้องกับสินค้าและพฤติกรรมของลูกค้าของคุณ เช่น หากคุณขายเครื่องเขียน เมื่อใกล้ช่วงวันเปิดเทอม แน่นอนว่าความต้องการซื้อสมุด ปากกา ดินสอต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นจึงต้องเตรียมสต็อกสินค้าให้พร้อม
3. รู้ระยะเวลาจัดหาสินค้า
สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาขายจะต้องรู้ระยะเวลาในการจัดหาว่ามากน้อยเพียงใดกว่าสินค้าจะเดินทางมาถึง เพื่อปรับเพิ่ม/ลดจำนวน สต๊อกสินค้าในระบบหลังบ้าน หรือระยะเวลาการจัดส่งให้สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
4. ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ
ควรตรวจสอบคลังสินค้าประจำ โดยสามารถกำหนดได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่ออัปเดตจำนวนสินค้าที่ขายได้ และนำมาคำนวณรายได้ กำไร และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าในล็อตใหม่ต่อไป
5. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า
แบ่งสถานที่เก็บสินค้าเป็นสัดส่วนชัดเจนสำหรับสินค้าแต่ละประเภท ทำรายการสินค้า โดยระบุตำแหน่ง เลขที่ชั้นวางสินค้า พร้อมทำป้ายกำกับชั้นวางสินค้าทุกชั้น และมีอัปเดตจำนวณสินค้าที่นำเข้า-ออกตลอดเวลา หากสินค้าชิ้นไหนที่มียอดการสั่งซื้อเยอะ คุณอาจจะปรับเปลี่ยนจุดวางสินค้าให้สามารถเข้าถึงง่าย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ที่มา www.peerpower.co.th