ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ธุรกิจก็เช่นกัน เราต่างก็อยากให้ธุรกิจของเรามีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะสุขภาพด้านการเงินซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ มาดูกันว่าการมีสุขภาพการเงินที่ดีนั้นดูได้จากอะไร
1. ความสามารถในการชำระหนี้ สะท้อนถึงสภาพคล่องของธุรกิจ โดยดูว่ามีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากกว่าหนี้สินแค่ไหน หรือมีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดหรือไม่ ซึ่งดูได้จากสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน เรียกว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
ควรมีค่ามากกว่า 1 ยิ่งได้มากก็ยิ่งดี แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูงสามารถชำระหนี้ได้ และหากค่าที่คำนวณได้น้อยกว่า 1 นั่นก็แปลว่าธุรกิจมีปัญหาสภาพคล่อง มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจไม่พอจ่ายหนี้ แต่ถ้าหากคำนวณได้ค่าสูงมาก ต้องพิจารณาว่าบริหารสินทรัพย์ได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือไม่ เพราะเป็นไปได้ว่าจะเกิดมาจากการมีสินค้าคงเหลืออยู่มาก เนื่องจากเราไม่รู้ว่าสินค้าในสต็อกจะขายออกเมื่อไหร่ จึงถือว่ามีสภาพคล่องต่ำ เพราะเปลี่ยนเป็นเงินได้ช้าที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรนำสินค้าในสต็อกมาคำนวณด้วย เพื่อสะท้อนสภาพคล่องที่แท้จริง โดยใช้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio)
ค่าที่คำนวณได้ยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดี บ่งบอกว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูง
2. ความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ คือใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าที่ธุรกิจของคุณจะเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าได้ โดยปกติแล้วไม่ควรนานเกินไป เพราะจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของธุรกิจหรือเงินหมุนเวียนในธุรกิจ แต่ก็ไม่ควรน้อยเกินไปเพราะจะทำให้แข่งขันลำบาก เนื่องจากลูกหนี้จะหันไปซื้อสินค้าจากเจ้าอื่นที่ให้เวลาการจ่ายหนี้นานกว่านั่นเอง โดยสามารถคำนวณได้จากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่าสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็ว และควรพิจารณาควบคู่กับระยะเวลาเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ว่าใช้เวลากี่วัน ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
ค่าที่ได้ยิ่งน้อยยิ่งดี บ่งบอกว่าธุรกิจเรียกเก็บหนี้ได้ในระยะเวลาสั้น ตามจำนวนวันที่คำนวณได้
3. ความสามารถในการต่อรองหนี้ ใช้วัดช่วงระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้การค้า ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจสามารถเจรจาต่อรองระยะเวลาการจ่ายเงินกับเจ้าหนี้ได้เพียงใด ซึ่งหากมีระยะเวลาในการชำระหนี้นาน ก็ยิ่งเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจดูได้จากอัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover)
ค่าที่ได้ยิ่งน้อยยิ่งดี ทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง เพราะธุรกิจสามารถเอาเงินมาใช้ในกิจการก่อนจ่ายหนี้ได้ และสามารถหาระยะเวลาเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ว่าใช้เวลากี่วันได้ดังนี้
ค่าที่ได้ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่าธุรกิจต่อรองระยะเวลาการจ่ายหนี้ได้นาน ตามจำนวนวันที่คำนวณได้
4. ความสามารถในการขายสินค้า ซึ่งมีผลโดยตรงกับรายได้ของธุรกิจ เพราะการที่สินค้าค้างอยู่ในสต็อกนาน นั่นหมายถึงเงินทุนของเราที่จมอยู่กับสินค้า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจได้ ดังนั้นอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) จะช่วยให้ธุรกิจวางแผนการบริหารสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับยอดขายที่คาดการณ์ไว้
ค่าที่คำนวณได้ยิ่งมากยิ่งดี เพราะแสดงว่าสามารถระบายสินค้าในสต็อกได้เร็ว นั่นหมายถึงธุรกิจจะได้รับเงินเร็วตามไปด้วย หากค่าที่ได้น้อยก็บอกได้เลยว่ามีสินค้าค้างสต็อกมาก ซึ่งหมายถึงเงินทุนที่จมอยู่ในกองสต็อกนั้นด้วย ทั้งนี้สามารถคำนวณระยะเวลาในการขายสินค้า ซึ่งก็คือสินค้าคงเหลือที่ค้างอยู่ในสต็อกใช้เวลากี่วันกว่าจะขายได้
ค่าที่ได้หรือจำนวนวันที่ได้ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่มีข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางชนิดที่อาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้จำนวนวันที่คำนวณได้มีค่ามาก เช่น ฤดูกาล ความผันผวนของราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้เกิดการกักตุนสินค้าเอาไว้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีธรรมชาติในการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน ทำให้ตัวเลขที่คำนวณได้นั้นแตกต่างกันตามไปด้วย จึงควรนำไปเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือมาตรฐานของอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจของคุณด้วย เพื่อวิเคราะห์ดูว่าตัวเลขของธุรกิจคุณที่ออกมาดูดีนั้น แท้จริงแล้วมีสุขภาพดีตามมาตรฐานคนในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณหรือไม่
ที่มา : www.kasikornbank.com
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
การจัดทำงบกระแสเงินสดแบบง่าย
เทคนิคการบริหารเงินสดให้มีสภาพคล่อง
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
ตารางสรุป อัตราส่วน ทางการเงิน
เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสด ให้เพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ ต้องทำอย่างไร
6 กฎเหล็ก บริหารกระแสเงินสดให้ธุรกิจรุ่ง