ทะเบียนทรัพย์สินคืออะไร ?
เป็นการสรุปรายละเอียดทรัพย์สินของกิจการว่าปัจจุบัน ณ ตอนนี้มีอะไรบ้างที่สามารถตรวจสอบได้และตรวจนับได้ ทำให้รู้ว่าในกิจการนั้นมีข้อมูลเท็จจริงของทรัพย์สินเพื่อป้องกันการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ เวลาทำธุรกิจ ซึ่งทะเบียนทรัพย์สิน (Fix Asset Register) นั้นก็ใช้คำนวณค่าเสื่อมราคาในทางบัญชีและภาษีได้ แต่ก็ยังทำอย่างอื่นได้นะ โดยเฉพาะการปกป้องการทุจริตการตรวจสอบการมีตัวตนของทรัพย์สินด้วย
ทะเบียนทรัพย์สินนั้นก็จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
เอกสารทะเบียนทรัพย์สินนั้นสำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการใช้ก็หาได้ตามไฟล์ฟรีมีให้ดาวน์โหลดกันง่าย ๆ และสิ่งที่ประกอบอยู่ในนั้นด้วยจะมีดังด้านล่างนี้
1. ต้นทุนของสินทรัพย์
2. วันที่สินทรัพย์พร้อมใช้พร้อมกับคิดค่าเสื่อม
3. เลขที่อ้างอิงสินทรัพย์
4. อัตราการคิดค่าเสื่อมของสินทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่น 5 ปี/20 %
5. ค่าเสื่อมในปีนี้และค่าเสื่อมสะสม
6. เลขที่เอกสารอ้างอิง เช่น ใบอินวอยซ์ในการซื้อสินทรัพย์
ในการทำทะเบียนทรัพย์สินนั้นต้องมีฉลาก (Tag) ติดกำกับอยู่เพื่อให้รู้ถึงการมีอยู่ถึงสินทรัพย์นั้น ๆ เวลาตรวจสอบจะได้ง่ายและสะดวก แน่นอนว่ามันก็จะอารมณ์ประมาณเดียวกันกับการเช็คสต็อคสินค้าเลยนั่นเอง แนะนำว่าให้ทำแบบนี้มันจะเป็นการทำบัญชีที่ละเอียดมากทีเดียว
สินทรัพย์กับทรัพย์สินความหมายแตกต่างกันหรือไม่ ?
เคยสงสัยกันไหมว่าคำว่าสินทรัพย์กับทรัพย์สินจริง ๆ แล้วมันต่างหรือเหมือนกัน ซึ่งหลายคนก็อาจจะบอกว่ามันก็อันเดียวกันเพียงแต่คำมันสลับกันเท่านั้น แต่ว่าอยากจะให้มองที่ความหมายด้านลึกกว่านั้นจริง ๆ แล้วทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอยู่ โดยสินทรัพย์ (Asset) ความหมายจะค่อนข้างกว้างออกไปและรวมถึงความเป็นเจ้าของทั้งแบบมีและไม่มีตัวตนด้วย แต่ถ้าหากเป็นทรัพย์สิน (Property) จะเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนมากกว่า หากต้องการจะควบคุมและตรวจสอบจำนวนของสินทรัพย์ก็จะต้องมีการใช้ทะเบียนทรัพย์สิน ซึ่งจะทำให้ระบุได้และเห็นชัดเจนเลยว่ามีอะไรบ้างที่เป็นทรัพย์สินของกิจการและคิดค่าเสื่อมราคาอย่างไรด้วย
การคำนวณค่าเสื่อมราคากับทะเบียนทรัพย์สิน
หลายคนใช้การคำนวณค่าเสื่อมราคาผ่านทางทะเบียนทรัพย์สินอยู่แล้ว เพราะว่าก็ทำไปพร้อมกันกับการตรวจสอบเลย ซึ่งข้อมูลส่วนมากอยู่ในทะเบียนนั้นก็จะระบุชัดเจนในนั้นเลยว่าอะไรเป็นอะไร ต้นทุนของสินทรัพย์ วันที่ซื้อ วันที่ใช้งาน ซึ่งเวลาจะคำนวณค่าเสื่อมราคาจะค่อนข้างสะดวกมากในแต่ละรอบบัญชี แล้วก็ยังทำให้รู้ถึงสินทรัพย์คงเหลือได้เลยด้วย
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ?
เมื่อพูดถึงค่าเสื่อมราคาก็มาทำความเข้าใจเพิ่มกันอีกสักนิด ค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expense) คือ การหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวร (FAR) ซึ่งเป็นตัวที่มีต้นทุนสูงและใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ซึ่งจะตัดเป็นรายจ่ายในแต่ละปีตามหลักการเลย ซึ่งทางบัญชีก็ต้องมีหลักการแบบนี้ หากไม่หักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เลย เงินที่ลงทุนไปกับสินทรัพย์นั้นจะกลายเป็นรายจ่ายทันที ซึ่งก็จะมีผลต่องบกำไรขาดทุน ก็เลยจะต้องมาทยอยหักค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งาน เวลาคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายจะได้ลงตัวเวลาที่คำนวณกำไรขาดทุนทางภาษี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(1) อาคาร
|
|
อาคารถาวร
|
ร้อยละ 5
|
อาคารชั่วคราว
|
ร้อยละ 100
|
(2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้
|
ร้อยละ 5
|
(3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
|
|
กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนด
|
|
ให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุ
|
|
การเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป
|
ร้อยละ 10
|
กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือ
|
|
มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน
|
ร้อยละ 100 หาร
|
|
ด้วยจำนวนปีอายุ
|
|
การเช่าและอายุที่
|
|
ต่อได้รวมกัน
|
(4) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธีสูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า
|
|
สิทธิประกองกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
|
|
กรณีไม่จำกัดอายุการใช้
|
ร้อยละ 10
|
กรณีจำกัดอายุการใช้
|
ร้อยละ 100
|
|
ด้วยจำนวนปีอายุ
|
|
การใช้
|
(5) ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรือ
|
|
เสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้า
|
ร้อยละ 20
|
รายละเอียดเพิ่มเติม www.rd.go.th
ทะเบียนทรัพย์สินกับการตรวจสอบภาษี
ในด้านของการทำภาษีการตรวจสอบภาษีนั้นการมีทะเบียนทรัพย์สินก็ยังสำคัญ โดยเฉพาะใครที่ทำงานเกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษีโดยตรงเลย ซึ่งจะสำคัญอย่างไรก็ตามด้านล่างนี้
1. ยืนยันการมีตัวตนของสินทรัพย์และจัดการระบบบัญชี
ซึ่งพอเรามีเอกสารทะเบียนทรัพย์สินก็จะเป็นการยืนยันการมีตัวตนของสินทรัพย์แบบทางอ้อมแล้วว่า สินทรัพย์นั้น ๆ มีตัวตนจริง ๆ นะ ซึ่งถ้าอยากจะให้เห็นชัดเจนไปพร้อมกันเลยก็จะต้องมีระบบตรวจนับไปพร้อมกัน การทำแบบนี้ก็แสดงว่ากิจการนั้นมีระบบการทำบัญชีที่ดีเลยทีเดียว เวลาส่งเรื่องการทำภาษีแก่ทางกรมสรรพพากรให้ตรวจสอบและขอทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการทำธุรกิจ
2. สินทรัพย์ที่มีเกี่ยวข้องกับกิจการอย่างแน่นอน
เวลามีการตรวจสอบหรือโดนสุ่มตรวจก็จะไม่มีปัญหาอะไร จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาตรวจนั้นเห็นได้ชัดเจนว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นได้ถูกใช้งานจริง ๆ และก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และหากใครที่เอาสินทรัพย์ส่วนตัวมาใช้เป็นรายจ่ายธุรกิจมันก็จะเห็นเลยในทะเบียนทรัพย์สิน เพราะว่ามันไม่สอดคล้องกัน โดนตรวจก็รู้เลยว่าไม่มีทรัพย์สินของกิจการแต่ทรัพย์สินนั้นดันไปอยู่ที่ส่วนตัวแทน มันค่อนข้างจะส่อแววทุจริตได้นั่นเอง
3. เวลาคำนวนณค่าเสื่อมราคาทางบัญชีและภาษีง่ายและสะดวก
ดังที่ได้กล่าวไปในหัวข้อทะเบียนทรัพย์สินกับค่าเสื่อมราคาแล้ว ว่าหากทำในนี้จะทำให้มั่นใจได้มากกว่า ค่อนข้างจะถูกต้องแน่นอน ซึ่งจะทำให้ได้เห็นทั้งการคำนวณจริงที่เป็นข้อมูลบนเอกสารและของจริงที่มีอยู่นั้นสอดคล้องกัน ทำให้กิจการไม่มีปัญหาเวลาทำบัญชีด้วย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก็ง่ายขึ้น หากต้องคำนวณบัญชีและภาษีหลายรายการก็อาจจะแยกกันออกมาคนละแผ่นเลยก็ได้เหมือนกัน
เป็นการติดตามสินทรัพย์ของบุคคลหรือองค์กรได้เป็นอย่างดีเลย ทุก ๆ บริษัท ทุกกิจการที่มีการทำบัญชีและยื่นภาษีนั้นจะต้องใช้เอกสารทะเบียนทรัพย์สิน และประเภทของสินทรัพย์ที่พบส่วนมากก็จะเป็นการลงทะเบียนสินทรัพย์ถาวร (FAR) ก็จะเป็นการติดตามเอาเฉพาะที่อยู่ในเงื่อนไขของการเป็นสินทรัพย์ถาวรเท่านั้นนั่นเอง มาทำความเข้าใจกันต่อว่าคืออะไรในหัวข้อต่อไป
สินทรัพย์ถาวรคืออะไร ?
สำหรับสินทรัพย์ถาวรนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงอย่างอื่นที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ยานพาหนะ ที่ดิน อาคาร อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะเป็นแบบไม่มีตัวตน ซึ่งก็จะรวมไปถึงสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และค่านิยม เป็นต้น การลงทะเบียนทรัพย์สินทุกวันนี้จะนับรวมรายการวัสดุสิ้นเปลืองสินทรัพย์ที่จ่ายล่วงหน้าและเงินสดในมือเฉพาะสินทรัพย์ที่เป็นส่วนมาตรฐานของกิจกรรม และในการคิดค่าเสื่อมราคาก็จะอยู่ในสินทรัพย์ถาวรเหมือนกัน
จุดประสงค์ของการลงทะเบียนทรัพย์สิน
เอกสารทะเบียนทรัพย์สินนั้นสำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการใช้ก็หาได้ตามไฟล์ฟรีมีให้ดาวน์โหลดกันง่าย ๆ และสิ่งที่ประกอบอยู่ในนั้นด้วยจะมีดังด้านล่างนี้
1. ติดตามสินทรัพย์ของกิจการ
2. ทำให้สะดวกในการบันทึกรายการข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ในองค์กร
3. นำมาใช้ในการคิดค่าเสื่อมราคา
4. ตรวจสอบและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ได้ง่าย
5. มีความน่าเชื่อถือเมื่อตรวจสอบเกี่ยวกับบัญชีและภาษีขององค์กร
6. ป้องกันการทุจริตต่อทรัพย์สินในองค์กร
เวลาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีได้ตรวจนั้นจะทำให้ผ่านง่าย เรื่องภาษีไม่มีปัญหาหากข้อมูลในเอกสารลงทะเบียนทรัพย์สินยังคงตรงกับความเป็นจริงอยู่ และยังทำให้เห็นว่าบริษัทนั้นยังคงสถานะแข็งแกร่งแค่ไหน ทรัพย์สินที่มี ณ ปัจจุบันมีอะไรบ้าง และหากมีร่องรอยการทุจริตก็จะพบได้ง่ายจะทำให้จัดการได้อย่างทันที
ที่มา www.station-account.com