ท่านกำลัง งง!! กับการคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชีและในทางภาษีหรือไม่

หากกิจการซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน10คน มาใช้ในกิจการ สามารถคิดค่าเสื่อมราคาเพื่อนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการในแต่ละงวดได้ โดยการคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชี และในทางภาษีมีความแตกต่างกัน คือ

ตัวอย่างที่ 1  วันที่ 1 มกราคม บริษัทได้ซื้อรถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 10 คน) มูลค่า 1.5 ล้านบาท  และมีค่าซาก 3 แสนบาท 

ค่าเสื่อมราคารถยนต์ทางบัญชี สามารถคำนวณได้ตามมูลค่าจริง มีวิธีการคำนวณดังนี้  การหักค่าใช้จ่ายรถยนต์นั่งคิดค่าเสื่อมราคา (ค่าใช้จ่ายจากการใช้งาน) ได้สูงสุด 5 ปี อัตรา 20 % ตามตัวอย่าง

ท่านกำลัง งง!! กับการคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชีและในทางภาษีหรือไม่

ค่าเสื่อมราคารถยนต์ทางภาษี สามารถคำนวณได้ตามมูลค่าจริง แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีวิธีการคำนวณดังนี้

ท่านกำลัง งง!! กับการคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชีและในทางภาษีหรือไม่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชี และทางภาษีในแต่ละปีมีความแตกต่างกัน (240,000-140,000 = 100,000) ในทางภาษีจึงต้องนำค่าเสื่อมราคารถยนต์ในส่วนที่เกินมาบวกกับเพื่อคำนวณกำไรทางภาษีสิ้นปีอีกครั้ง

 

ตัวอย่างที่ 2  

คำถาม รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งสำหรับกิจการทั่วไป หากมีราคาเกินกว่า 1 ล้านบาท ย่อมไม่สามารถหักค่าเสื่อมราคาในส่วนที่เกินกว่า 1 ล้านบาทในบัญชีภาษีอากรได้ ซึ่งเท่ากับว่าในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี 5 รอบ กิจการได้บวกกลับค่าเสื่อมราคาไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 รอบบัญชีละ 2แสนบาท และได้ชำระภาษีเงินได้จากรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว

สมมติว่ากิจการซื้อรถยนต์นั่งในราคา 2 ล้านบาท ระหว่างระยะเวลาบัญชี 5 รอบ กิจการคิดค่าเสื่อมทางบัญชีวิธีเส้นตรงปีละ 4 แสนบาท ในทางภาษีอากรได้บวกกลับค่าเสื่อมราคาปีละ 2 แสนบาทไปแล้วเป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชี อัตราภาษีเงินได้ 20% เท่ากับได้เสียภาษีเงินได้เพิ่ม จากค่าใช้จ่ายต้องห้ามดังกล่าวปีละ4หมื่นบาท เป็นระยะเวลา 5ปีเท่ากับ2แสนบาทต่อมากิจการได้ขายรถยนต์นั่งในปีที่ 6 ในราคา 1.4 ล้านบาท
ในบัญชีการเงิน กิจการมีกำไรจากการขายรถยนต์นั่ง 1.4ล้านบาท แต่ในทางภาษีอากร
ต้องนำต้นทุนรถยนต์นั่ง 1 ล้านบาทมาบวกกลับด้วย ทำให้กำไรฯทางภาษีอากรเป็น 2.4ล้านบาท

การบวกกลับค่าเสื่อมราคาปีละ
2 แสนบาทเป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชี เท่ากับกิจการได้เสียภาษีของมูลค่ารถยนต์ 1ล้านบาทแล้วแต่ในปีที่6การไม่ให้นำต้นทุนรถยนต์นั่ง 1 ล้านบาทไปถือเป็นรายจ่ายในปีที่ขาย เท่ากับว่ากิจการเสียภาษีจากต้นทุนรถยนต์ 1 ล้านบาทซ้ำซ้อนอีกหรือไม่

คำตอบ กรณีบริษัทฯ ซื้อรถยนต์นั่งราคา 2 ล้านบาท โดยเลือกตัดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง ที่อายุการใช้งาน 5 ปี (แบบไม่มีค่าซาก) ซึ่งจะได้เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในทางบัญชีปีละ 4 แสนบาท ในทางภาษีอากรบริษัทฯ ได้บวกกลับในแบบ ภ.ง.ด.50 ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 แสนบาท รวม 5 ปีเป็นเงิน 1,000,000 บาท เมื่อครบ 5 รอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปในราคา 1.4 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นกำไรจากการขายทรัพย์สิน (ทางบัญชี) ทั้งจำนวน เพราะไม่มีต้นทุนที่จะหักอีกแล้ว
เช่นนี้ ในทางภาษีอากร บริษัทฯ ไม่มีอะไรต้องบวกกลับอีกตามที่เขียนถามไปแต่อย่างใด เพราะกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว มีจำนวนเท่ากับกำไรจากการขายทรัพย์สินในทางภาษีอากร

ลองมาสมมติโจทย์กันใหม่ เป็นว่า บริษัทฯ มีตีราคามูลค่าซากรถยนต์หลังจากหมดอายุการใช้งานที่ 500,000 บาท ค่าสึกหรอและเสื่อมราคาทางบัญชีคำนวณได้ปีละ (1,500,000/5 = 300,000 บาท ในทางภาษีอากรบริษัทฯ ได้บวกกลับในแบบ ภ.ง.ด.50 ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ (300,000 - 200,000) = 100,000 บาท รวม 5 ปีเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อครบ 5 รอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปในราคา 1,400,000 บาท ซึ่งจะเป็นกำไรจากการขายทรัพย์สิน (ทางบัญชี) จำนวน 900,000 บาท ในกรณีนี้ บริษัทฯ ต้องบวกกลับต้นทุนทางบัญชี 500,000 บาท ทำให้มีกำไรจากการขายทรัพย์สินรถยนต์ทางภาษีอากรเป็นเงิน 1,400,000 บาท ซึ่งจะเท่ากับวิธีที่ 1 ข้างต้น ทุกประการ

 

ตัวอย่างที่ 3

บริษัทซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง รายละเอียดมีดังต่อไปนี้

ราคาซื้อ 1,250,000 บาท
ราคาซาก 100,000 บาท
อายุการใช้งาน 5 ปี
วันที่เริ่มต้นใช้งาน 1 ม.ค. 65

ในปี 2565 กิจการมีค่าเสื่อมราคาเท่าไหร่

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี

สูตรการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
(ราคาทุน – ราคาซาก) / อายุการใช้งาน (ปี) = ค่าเสื่อมราคาต่อปี

ตามที่กฏหมายกำหนด รถยนต์ประเภทรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบที่นั่ง
ต้องใช้ราคาทุน ไม่เกิน 1 ล้านบาท
จะได้เป็นวิธีคำนวณ ดังนี้

มูลค่าราคาทุนที่นำมาคำนวณค่าเสื่อมราคาทางภาษี (A) 1,000,000
หัก ราคาซาก (B) 100,000
มูลค่าราคาทุน หลังหักราคาซาก A – B = (C) 900,000
หาร อายุการใช้งาน (ปี) (D) 5
ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี C / D = (E) 180,000

สรุปคือ ในปี 2565 กิจการมีค่าเสื่อมราคาทางภาษี จำนวน 180,000 บาทต่อปี

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี

สูตรการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
(ราคาทุน – ราคาซาก) / อายุการใช้งาน (ปี) = ค่าเสื่อมราคาต่อปี

มูลค่าต้นทุนที่นำมาคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี 1,250,000 บาท
จะได้เป็นวิธีคำนวณ ดังนี้

มูลค่าราคาทุนที่นำมาคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี (A) 1,250,000
หัก ราคาซาก (B) 100,000
มูลค่าราคาทุน หลังหักราคาซาก A – B = (C) 1,150,000
หาร อายุการใช้งาน (ปี) (D) 5
ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี C / D = (E) 230,000

สรุปคือ ในปี 2565 กิจการมีค่าเสื่อมราคาทางบัญชี จำนวน 230,000 บาทต่อปี

สรุป คือ ข้อแตกต่างทางบัญชีและภาษีของค่าเสื่อมราคารถยนต์อยู่ที่ราคาทุนที่นำมาใช้คำนวณนั่นเอง 

ที่มา cpdacademy.co

 

รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

ท่านกำลัง งง!! กับการคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางบัญชีและในทางภาษีหรือไม่

ซื้อรถยนต์นั่งเข้ากิจการดีไหม? 

วิเคราะห์ด้วยเหตุผลแรก คือ ค่าใช้จ่าย คนทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท ห้างหุ้นส่วน) ส่วนใหญ่มักจะมีความจำเป็นในเรื่องของการซื้อรถยนต์นั่งเข้ามาใช้ในกิจการ และคิดว่าจะเอามาเป็นค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้ด้วย แต่ประเด็นที่ต้องรู้ก่อนคือ ทางภาษีนั้นให้เป็นค่าใช้จ่ายได้เท่าไร และมีการคิดยังไงบ้าง

1. ถ้าหากตัดสินใจซื้อรถที่ถือว่าเป็นรถยนต์นั่งทางกฎหมาย (มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) ทางภาษีให้ถือว่าต้นทุนของรถยนต์นั่งที่ซื้อมานั้น มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท (พระราชกฤษฎีกา 315)

2. นอกจากนั้นทางภาษียังบอกว่า การหักค่าใช้จ่ายรถยนต์นั่งคันนี้ สามารถคิดค่าเสื่อมราคา (ค่าใช้จ่ายจากการใช้งาน) ได้สูงสุด 5 ปี คิดเป็นปีละ 200,000 บาท (พระราชกฤษฎีกา 145)

3. นั่นคือสรุปได้ว่า ค่าใช้จ่ายรถยนต์นั่ง หากมีการซื้อจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้สูงสุดคือ 200,000 บาทต่อปี

ทีนี้ถ้าหากตัดสินใจเช่าแทน กฎหมายบอกว่าให้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 1,200 บาทต่อวัน หรือ 36,000 บาทต่อเดือน ลองคิดในเงื่อนไขเดียวกัน ถ้าเช่า 1 ปี จะคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 432,000 บาท (คิดราคา 12 เดือน) ถ้าหากเช่า 365 วันก็จะได้ 438,000 บาท ดังนั้นในยกแรกนี้ หากมองที่ค่าใช้จ่ายทางภาษีต่อปี การเช่าจะได้สิทธิหักค่าใช้จ่ายสูงกว่านั่นเอง

ที่มา https://www.facebook.com/BizTaxThai/

ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์

 

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ

 

Bplus Fixed asset  Control โปรแกรมที่ช่วยในการบริหารทรัพย์สินของกิจการ ช่วยจัดการครบตั้งแต่สั่งซื้อ ซื้อ ซ่อมแซม คำนวณค่าเสื่อมราคา ลงบัญชีอัตโนมัติ คำนวณ กำไร ขาดทุน จากการขายทรัพย์สิน หรือจากการเลิกใช้  ครบจบงานบัญชีภาษี Audit เชื่อถือ มั่นใจ ข้อมูลครบอ้างอิงได้ มีรายงานตรวจสอบเพื่องานบัญชี เชื่อมโยง Bplus ERP พร้อมอำนวยความสะดวกการตรวจนับ ยืนยันสภาพทรัพย์สินได้ด้วย Application Bplus Fixed Asset Tracking โปรแกรมตรวจนับทรัพย์สิน เปลี่ยนวิธีการตรวจนับทรัพย์สินแบบเดิมๆ