Checklist “รายจ่ายต้องห้าม”
“รายจ่ายต้องห้าม” หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชี เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
รายจ่ายต้องห้าม |
รายจ่ายทางภาษี |
1.เกี่ยวข้องกับประกอบกิจการ? |
ไม่เกี่ยวข้อง |
เกี่ยวข้อง |
|
- จ่ายเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับกิจการผู้รับไม่มีความผูกพันทางธุรกิจการงานกับผู้ให้
- จ่ายให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ผู้รับไม่ต้องกระทำการใดตอบแทน
- มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
|
- เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
- เกี่ยวกับการก่อให้เกิดรายได้โดยตรง
- เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ
|
2.มีเอกสารหลักฐาน ? |
ไม่มีเอกสาร |
มีเอกสาร |
3.จ่ายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
เช่นค่ารับรอง
|
ส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด |
จ่ายไม่เกินที่กฎหมายกำหนด |
|
ต้องห้ามอื่นๆ ตามมาตรา 65 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร ?
|
|
แบบไหนคือรายจ่ายต้องห้าม
ตัวอย่างที่ 1
นาย A เป็นอดีตกรรมการที่เพิ่งลาออก
คำถาม : กิจการจ่ายค่าฝึกอบรม ค่าพาหนะเดินทาง ไปประเทศอังกฤษให้นาย A เป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่
คำตอบ : เป็นรายจ่ายต้อห้าม เพราะเข้าลักษณะเป็นการส่วนตัว ให้โดยเสน่หา ไม่ได้จ่ายเพื่อหากำไรเพื่อกิจการ
ตัวอย่างที่ 2
นาย ฺB ปัจจุบันเป็นกรรมการของกิจการ
คำถาม : กิจการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย ค่าซ่อม ค่าน้ำมัน และค่าภาษีรถยนต์ ของนาย B ซึ่งนำรถยนต์มาให้บริษัทใช้โดยไม่ได้ทำสัญญา เป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่
คำตอบ : ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม ถ้าหากสามารถพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งได้ว่า รายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในการหารายได้หรือใช้ประกอบธุรกิจของกิจการ
ที่มา SME Today และ เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี
VDO ความรู้จากกรมสรรพากร