3 สาเหตุหลักที่ทำให้ “สินค้าคงคลังไม่ตรง”

ปัญหาเรื่องสินค้าคงคลัง (สต็อก) เป็นปัญหาระดับต้นๆที่ไม่ว่าจะไปบริษัทไหน โรงงานไหน ล้วนแล้วแต่จะมีปัญหาเรื่องนี้ทั้งสิ้น หนึ่งในนั้นคือปัญหาเรื่องสินค้าคงคลังไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเรียกสั้นๆว่า “สต็อกดิฟ” (Stock diff)

สินค้าคงคลังไม่ตรงกัน (สต็อกดิฟ) คืออะไร?

การที่สินค้าคงคลังจริง (Physical inventory) กับสินค้าคงคลังที่บันทึกในระบบมีจำนวนชิ้นไม่ตรงกัน การที่มีสินค้าคงคลังมากกว่าหรือน้อยกว่าที่บันทึกในระบบนั้นไม่ดีทั้งคู่ เพราะนั่นหมายความว่าระบบการจัดเก็บและควบคุมสต็อกสินค้าคุณไม่มีคุณภาพแล้ว จึงขอรวบรวม 3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสต็อกดิฟมาอธิบาย รับรองว่าสาเหตุที่ทำให้สต็อกดิฟยังไงแล้วก็จะไม่พ้นไปจาก 3 สาเหตุหลักๆนี้แน่นอน

สาเหตุที่ทำให้สินค้าคงคลังไม่ตรงกัน (สต็อกดิฟ)

1.ไม่มีกระบวนการ (Procedure) ที่ชัดเจน

การที่ไม่มีกระบวนการที่ชัดเจนนั้นก็เหมือนการไม่มีหางเสือ เรือก็จะลอยไปซ้ายที ขวาที พนักงานเกิดความไม่ชัดเจนแต่ก็ต้องปฏิบัติงานไปก่อน จึงทำให้ต่างคนต่างทำ ไม่มีวิธีการปฏิบัติเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการบริหารเศษ กรณีที่สต็อกเก็บไว้เป็น bulk หรือกล่องใหญ่ๆ แล้วสต็อกโดนตัดออกไปใช้แค่เพียงบางส่วนทำให้เหลือเศษ หากกระบวนการไม่มีเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าต้องจัดการเศษอย่างไรต่อ ก็จะทำให้พนักงานหน้างานหาวิธีทำในแบบของตนเอง ลองจินตนาการว่ามีพนักงาน 10 คน ทำ 10 แบบก็ทำให้การจัดการสต็อกยากขึ้นไปอีก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือสต๊อกดิฟ หาของไม่เจอ เก็บไม่เป็นที่เป็นทาง

2.การปฏิบัติงานผิดพลาดของพนักงาน

พนักงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดเก็บสต๊อกจะเป็นฟันเฟืองหลักในการจัดการสต๊อกให้ดีและมีประสิทธิภาพ การให้ความรู้ความใจในเนื้องานของพนักงานเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพื่อพนักงานจะได้มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง การที่พนักงานปฏิบัติผิดพลาดนั้นมีทั้งพวกที่ตั้งใจ นั่นคือรู้ว่าสิ่งที่ทำไปจะทำให้สต๊อกดิฟแต่ก็ยังทำ หรืออีกพวกคือพวกที่ไม่ตั้งใจเพราะไม่รู้ถึงผลกระทบที่ตามมา และก็มีบางพวกที่มองข้ามขั้นตอนการทำงานที่สำคัญไป เช่น รับของเข้าคลังสินค้าแล้วแต่ยังไม่ลงบันทึกสต๊อกในระบบ หรือ พนักงานจ่ายของไปแล้วแต่ไม่ตัดสต๊อกออกจากระบบ เป็นต้น

3.พื้นที่และแผนผังในคลังสินค้าคงคลังไม่เอื้ออำนวยกับการทำงาน

หลายที่ที่พื้นที่และแผนผังของคลังสินค้าเป็นอุปสรรคกับการทำงาน เรื่องแรกที่เห็นบ่อยคือการสถานที่จัดเก็บไม่เหมาะสมกับจำนวนสต๊อกที่จะต้องเก็บ จึงไม่สามารถระบุที่เก็บที่แบบ fixed location ได้ว่าสินค้าชิ้นไหน ควรจัดเก็บที่ไหน ฟังแล้วดูเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกบริษัทและโรงงานควรทำให้เป็นมาตรฐาน การไม่มี fixed location ทำให้การเก็บสต๊อกไม่เป็นระเบียบ ฉันพอใจจะวางตรงไหนฉันก็จะวาง จึงส่งผลให้สต๊อกดิฟ อีกประเด็นที่เคยพบเจอบ่อยๆ และปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอนี้ ทำให้พนักงานหน้างานจะต้องหาที่จัดเก็บเอง วางไม่อยู่ในที่ๆควรอยู่ ส่วนในระบบก็จะไม่มี location สินค้านั้นๆระบุด้วยจึงส่งผลให้สต๊อกดิฟ

 

จะเห็นได้ว่า การที่สินค้าคงคลังไม่ตรงกัน (สต็อกดิฟ) นั้นเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆด้วยกัน นั่นคือ การไม่มีกระบวนการทำงาน (Procedure) ที่ชัดเจน การหย่อนในวินัยของพนักงานผู้รับผิดชอบ และการที่พื้นที่และแผนผังของคลังสินค้าไม่เอื้ออำนวยกับการทำงาน ผมมองว่าหากบริษัทมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ระบุการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมทั้งอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติ ตรงนี้จะเป็น quick-win ของบริษัทที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและต้นทุนต่ำ จากนั้นค่อยมากันต่อว่าบริษัทจะสามารถปรับปรุงคลังสินค้าได้อย่างไรบ้าง

ที่มา supplychainguru.co.th

 

ข้อผิดพลาด สต็อกสินค้า ที่เกี่ยวกับการจัดการ

แน่นอนว่าบริษัทที่มีสต็อกสินค้าหรือสินค้าคงคลัง ต้องมีเรื่องท้าทายในการจัดการกับสต็อกสินค้าอย่างแน่นอน ทั้งเรื่องสต็อกไม่เพียงพอ จัดเก็บไม่ถูกที่ สินค้าสูญหาย และปัญหาอื่น ๆ เราได้รวบรวมข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการจัดการสินค้าคงคลังทั้งส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการดังนี้

1. พนักงานของบริษัทยังขาดความรู้ในการจัดการ สต็อกสินค้า

พนักงานที่จัดการสินค้าคงคลังได้ ต้องมีความรู้และมีความเข้าใจเป็นอย่างดี หลายครั้งที่บริษัทมักมองข้ามการจัดสินค้าคงคลัง โดยใช้พนักงานทั่วไป แต่ในความเป็นจริง กระบวนการในการจัดการสินค้า มีวิธีการที่ซับซ้อน และต้องมีการวางระบบอย่างดี เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ นอกจากใช้พนักงานที่มีความสามารถแล้ว ควรมีการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ หรือบริษัทควรมีการจัดหาผู้จัดการด้านการสต๊อกสินค้าโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถตัดสินใจและรับผิดชอบงานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การคาดการณ์ สต็อกสินค้า ที่ผิดพลาด

การคาดการณ์สินค้าคงคลังที่ผิดพลาด แน่นอนว่าจะทำให้บริษัทต้องสูญเสียรายได้จากการขายสินค้าหรือการผลิตสินค้า อีกทั้งยังส่งผลให้คู่แข่งได้เปรียบในการแข่งขัน และที่สำคัญที่สุด คือ สูญเสียลูกค้าที่คาดหวังว่าจะได้รับสินค้า ยิ่งสินค้าเป็นที่นิยมมากเท่าไร ค่าเสียโอกาสในการสต๊อกผิดพลาดยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หากบริษัทสต๊อกสินค้ามากจนเกินไป ย่อมทำให้บริษัทต้องแบกรับต้นทุนในการเก็บรักษา และเงินลงทุนย่อมจมไปกับสินค้าที่สต๊อกอีกด้วย  ฉะนั้นการคาดการณ์สต๊อกสินค้าผิดพลาดจึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการจัดการ

3. การไม่จัดเก็บข้อมูล สต็อกสินค้า อย่างเป็นระบบ

การเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังแบบไฟล์เอ็กเซล หรือแบบจดบันทึก ทำให้การจัดการจัดการสินค้าคงคลังมีปัญหา เนื่องจากข้อผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลการใส่รหัส ตัวเลข จำนวน หรือการทำข้อมูลสูญหาย สามารถผิดพลาดได้เสมอ ดังนั้นบริษัทควรมีโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยจัดการสินค้าคงคลังให้สามารถบอกจำนวนสินค้าที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องได้

4. ไม่มีการนับ สต็อกสินค้า อย่างสม่ำเสมอ

หลาย ๆ บริษัทมักตรวจนับสินค้าคงคลังเมื่อต้องมีการทำรายงานสินค้าคงเหลือ เพื่อปิดงบการเงิน หรือจะทำการนับแค่ปีละ 1-2 ครั้ง แต่ในความเป็นจริงการนับสินค้าคงเหลือควรนับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สินค้าคงเหลือเป็นปัจจุบันมากที่สุด ไม่ใช่นับเพื่อส่งรายงานเท่านั้น อีกทั้งการนับสินค้าคงเหลือยังมีประโยชน์ในการจัดการ คาดการณ์ และจัดหาสินค้าเพิ่ม เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตสินค้า หรือขายได้อย่างต่อเนื่อง  และยังเป็นผลดีอย่างมากในการทำรายงานสินค้าคงเหลือ

ที่มา www.getinvoice.net 

 

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ