อาชีพขายของออนไลน์ มีอิสระในการทำงานอย่างสูง หลายๆคนจึงนิยมหันมาขายของออนไลน์กัน ทั้งทำกันเป็นอาชีพเสริมหรือบางคนยึดเป็นอาชีพหลักเลย แต่รู้ไหมว่าการขายของออนไลน์นั้น มองเผินๆเหมือนอาจจะง่าย และสนุก แต่คุณก็ควรมีการวางแผนในการขายที่ดี ดังนั้นวันนี้เราไปทำความเข้าใจ 6 เรื่องบัญชีที่แม่ค้ามือใหม่ต้องรู้ เพื่อเตรียมตัวเปิดร้านรับออเดอร์รัวๆ พร้อมแล้วไปดูกันเลย
1.แยกบัญชีขายของออนไลน์ไว้ต่างหาก
ไม่ว่าจะขายของอะไร ร้านค้าเล็กหรือใหญ่ การแยกบัญชีร้านค้าออนไลน์ออกมาจากบัญชีส่วนตัวเป็นเรื่องแรกที่ต้องทำ บัญชีนี้จะต้องเป็นบัญชีที่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการขายของแบบออนไลน์เท่านั้น
2.จดทะเบียนทุกอย่างให้เรียบร้อย
มีคนเคยสอนไว้ว่า ถ้าริอาจจะทำธุรกิจสิ่งหนึ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด ก็คือ “ห้ามทำผิดกฎหมาย”
ขายของออนไลน์เริ่มยังไงให้ถูกกฎหมาย เราต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง ลองเช็คด้านล่างนี้เลย
1) จดทะเบียนพาณิชย์
“ทะเบียนพาณิชย์” หมายถึง การจดทะเบียนเพื่อบอกกับคนอื่นว่าเราทำการค้าอะไร ที่ไหน ภายใต้ชื่ออะไร
ร้านค้าออนไลน์ทุกร้านต้องเริ่มต้นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ
จดทะเบียนพาณิชย์ทำได้ง่ายๆ ที่สำนักงานเขต เทศบาลหรือ อบต. ให้เรียบร้อย ค่าธรรมเนียมก็อยู่ที่ 50 บาทเพียงเท่านั้น
2) จดภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง การจดทะเบียนเพื่อเรียกเก็บภาษีจากการขาย 7% นำส่งให้สรรพากร
เคสนี้ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่บังคับสำหรับคนที่รายได้เข้าเงื่อนไขของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) มี 2 นี้เท่านั้น
- เป็นรายได้ที่ไม่ได้รับการยกเว้น เช่น ขายหนังสือออนไลน์ ขายพืชผัก
- รายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปี
โดยสรุปแล้ว สองทะเบียนนี้เป็นเรื่องที่คนเริ่มต้นขายของออนไลน์ต้องทำความเข้าใจ อย่างที่เราเคยได้ยินว่า ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด เราก็ยังออกจากบ้านไม่ได้
3.เข้าใจรายได้-ค่าใช้จ่าย
ขายของออนไลน์เริ่มยังไงถึงมีกำไร แม่ค้าทั้งหลายต้องตั้งสติแล้วทำความเข้าใจรายได้-ค่าใช้จ่ายของตัวเองเสียก่อน ลองเขียนรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่มีลงไป และคิดเล่นสักนิดว่าถ้าเราเริ่มต้นขายของออนไลน์บนกระดาษแผ่นนี้เราจะกำไรหรือขาดทุน
รายได้ |
ค่าใช้จ่าย |
ค่าขายสินค้าอะไร |
ค่าต้นทุนเท่าไหร่ |
จำนวนเท่าไหร่ |
ค่าใช้จ่ายในการขาย/การบริหารเท่าไหร่ |
4.ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ถ้าใครเป็นแม่ค้ามือใหม่ ยังไม่ได้จดเป็นบริษัท การทำบัญชีรายได้รับ-รายจ่าย เป็นเรื่องที่เราทำเองได้ โดยไม่ต้องจ้างสำนักงานบัญชี
ข้อดีของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มันจะทำให้เรามั่นใจว่ามีกำไรในทุกๆ วันที่ทำธุรกิจ
5.คุมสต๊อกสินค้าให้เป็นระบบ
สต๊อกสินค้านั้นเป็นปัญหาของแม่ค้าออนไลน์หลายๆ คน เพราะเราลงทุนซื้อสินค้ามาตุนไว้ แต่ในบางครั้งมันก็ไม่ได้ยอดขายปังอย่างที่คิด หรือในบางทีขายดีมาก ลูกค้า CF รัวๆ แต่แม่ค้าเองไม่รู้ว่าเหลือสต๊อกสินค้าเท่าไร ทำให้เสียโอกาสในการขายถ้าสั่งของมาไว้ไม่เพียงพอ ฉะนั้น นอกจากจะขายของเก่งแล้ว อย่าลืมทำรายงานคุมสต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ จะได้วางแผนสั่งซื้อแบบไม่ขาดมือ หรือตัดสินใจเคลียร์สินค้าที่ล้นมือได้ง่ายขึ้น
6.วางแผนภาษี
เรื่องสุดท้ายที่อยากฝากไว้สำหรับแม่ค้าออนไลน์ก็คือ เรื่องการวางแผนภาษีร้านค้าออนไลน์ เพราะเรื่องนี้เป็นหนามยอกอกแม่ค้าทั้งหลายที่เปิดหน้าร้านออนไลน์ live สดรัวๆ และพี่ๆ สรรพากรเองก็เช็คข้อมูลได้ง่ายเสียเหลือเกิน เพราะเค้าเข้า Shopee, Lazada, Facebook ก็เช็คได้ว่าเราลูกค้าเยอะไหม และที่สำคัญการขายของออนไลน์ต้องรับเงินแบบโอนเท่านั้น จึงมีหลักฐานการรับเงินเบ็ดเสร็จใน Bank Statement
แต่ยังไงก็ตาม แม่ค้าออนไลน์ต้องจำไว้ว่าจะไม่มีใครสามารถวางแผนภาษีให้เราได้เลย ถ้าเราไม่มีข้อมูลรายได้ว่ามีเท่าไหร่และค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ฉะนั้นแม่ค้าออนไลน์ควรมีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันช่องทางการขายของออนไลน์มีมากมาย ทั้ง Instragram Facebook Tiktok และแพลตฟอร์มดังอย่าง Shopee LAZADA วันนี้เราไปดูว่าหากเราเลือกขายของ Lazada มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
จะรู้ว่า Lazada เก็บค่าใช้จ่ายอะไรจากเราบ้าง แม้จะไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดทุกเดือน แต่ Lazada จะหักจากรายได้ของเราทุกๆ รอบบิล วิธีสังเกตให้เรา download บิลค่าใช้จ่ายจากระบบมาลองเช็คดู ซึ่งจะมี 2 บิล ตามนี้
1. ค่าขนส่งจาก Lazada Express
บิลนี้จะเรียกชาร์ตแม่ค้าออนไลน์เฉพาะค่าขนส่งล้วนๆ ว่าในรอบ 7 วันที่ผ่านมามีค่าขนส่งจำนวนเท่าไร
เหลือง ชื่อรูปภาพ alt tag: ตัวอย่างบิลค่าขนส่ง Lazada
คิดยังไง: ค่าขนส่งคำนวณจากน้ำหนักสินค้า x อัตราค่าขนส่งของ Lazada ที่แม่ค้าต้องรับผิดชอบ
สิ่งที่เราต้องวางแผนและตัดสินใจ คือ
- ตอนเปิดร้านต้องตัดสินใจก่อนว่าให้ “ร้านค้า” หรือ “ลูกค้า” จ่ายค่าขนส่งสินค้า ถ้าเราเลือก “ร้านค้า” เราก็ต้องรับภาระตรงนี้เอง
- ค่าขนส่งสินค้าที่ต้องรับภาระไว้ล่วงหน้า โดยเช็คจากน้ำหนักและขนาดสินค้า x อัตราค่าขนส่ง
ภาษีที่เกี่ยวข้อง: อย่าลืมขอคืนหัก ณ ที่จ่าย 1% จาก Lazada กรณีที่ขายของแบบบริษัท เพื่อไปนำส่งสรรพากรด้วยนะ
2. ค่าบริการจาก Lazada Limited
บิลนี้เป็นค่าบริการทุกอย่าง Lazada หักจากเรา และแน่นอน Lazada ก็จะสรุปยอดมาให้เช่นกันว่ามีค่าใช้จ่ายประเภทอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร
เหลือง ชื่อรูปภาพ alt tag: ตัวอย่างบิลค่าบริการ Lazada
จากตัวอย่างบิลนี้เป็นค่าบริการที่ Lazada สรุปมาให้ประจำงวด ประกอบด้วย
Payment Fee คือ ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่เรียกเก็บจากผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อซื้อสินค้าผ่าน Lazada โดยจะคิดเฉพาะคำสั่งซื้อที่สำเร็จเท่านั้น
คิดยังไง: อัตราค่าธรรมเนียม (2%) x ราคาสินค้ากรณีลูกค้าชำระผ่านบัตร
Commission Fee คือ ค่าธรรมเนียมการขาย มีอัตราต่างกันไปตามประเภทสินค้าสินค้า เช่น เฟอร์นิเจอร์จะเสียค่าคอมมิชชั่น 8-10% สินค้าเกี่ยวกับเครื่องสำอาง 7-8% สินค้าเมือถือ TV ปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประมาณ 1-2%
คิดยังไง: อัตราค่าธรรมเนียม x ราคาสินค้า
Affiliate Ads คือ ค่ายิงแอดโฆษณาโปรโมทสินค้า ผ่านทางพาร์ทเนอร์ของ Lazada ส่วนพาร์ทเนอร์นั้นก็จะมีหน้าที่นำสินค้าที่เข้าร่วมแคมเปญไปโปรโมทต่อยังช่องทางต่างๆ ค่าใช้จ่ายตรงนี้ไม่ได้บังคับแต่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจว่าร้านค้าอยากยิง Ads ให้เข้าถึงคนซื้อมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายตัวนี้ Lazada set ขั้นต่ำไว้ที่ 4% ของราคาสินค้า
คิดยังไง: อัตราค่าคอมมิชชั่นที่จะจ่ายให้ partner x ราคาสินค้า
Freeship Max Fee คือ ค่าใช้จ่ายจากการเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีพิเศษกับ Lazada ถ้าเราเข้าร่วมโปรแกรม ลูกค้าจะกดรับคูปองส่งฟรี 40 บาทจากร้านค้าเราได้เป็นต้น
คิดยังไง: อัตราค่าธรรมเนียม 4% ของราคาสินค้าต่อยอด ไม่เกิน 200 บาทต่อชิ้น
LCP Fee คือ ค่าธรรมเนียมโปรแกรมเงินคืนทุกวัน Daily Cashback
คิดยังไง: อัตราค่าธรรมเนียม 3% ของราคาขายสินค้าต่อชิ้นสูงสุดไม่เกิน 100 บาท
ภาษีที่เกี่ยวข้อง:
1. ลาซาด้าเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการข้างบนนี้จำนวน 7% สำหรับใครที่ทำธุรกิจแบบจด VAT ก็สามารถขอคืนเครดิตภาษีได้ แต่ถ้าไม่ได้จด VAT 7% นี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ
2. อย่าลืมขอคืนหัก ณ ที่จ่าย 3% จาก Lazada กรณีที่ขายของแบบบริษัท เพื่อไปนำส่งสรรพากรด้วยนะ
ทั้งหมดนี้เป็นค่าใช้จ่ายในการขายที่เราโดนเรียกเก็บอยู่ทุกขณะจิตที่มีสินค้าวางอยู่อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ ตั้งแต่ตอนเอาสินค้ามาวางขาย ไปจนถึงการขนส่งถึงมือลูกค้า
สิ่งที่เราต้องวางแผนและตัดสินใจ คือ
- การตั้งราคาขายสินค้าในลาซาด้า ควรเป็นเท่าไร เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนสินค้า และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- กดเข้าร่วมโปรแกรมกับ Lazada แล้วคุ้มไหม เช่น Affiliate ads, Freeship Max Fee, LCP Fee
สรุปค่าใช้จ่าย Lazada
ค่าใช้จ่ายที่ Lazada เรียกเก็บถือเป็นค่าใช้จ่ายประเภทไหนในงบการเงิน?
ค่าใช้จ่ายที่เราถูกเก็บจาก Lazada ถือเป็น ค่าใช้จ่ายในการขาย ในงบการเงิน
ค่าใช้จ่ายในการขายต่างกับต้นทุนขายตรงที่ว่า ต้นทุนขายนั้น เป็นค่าใช้จ่ายติดตัวสินค้ามาแต่แรกหรือเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมขาย
เจ้าของธุรกิจที่ติดตาม Zero to Profit มาสักพักแล้วอาจจะพอคุ้นหูกับงบกำไรขาดทุนอยู่บ้าง
งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจว่าทำได้ดีมีกำไรมั้ย
งบนี้เองเกิดจากสมการอมตะที่ว่า รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร
ในตัวค่าใช้จ่ายเองก็แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร
เวลาที่เราวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนทั้งงบ ควรแบ่งค่าใช้จ่ายในการขายที่เกิดขึ้นแยกออกมาวิเคราะห์ต่างหาก เพื่อทำความเข้าใจว่าโดยรวมแล้วมันมีเยอะหรือน้อยเพียงใด และในภาพรวมเรายังมีกำไรจากการวางขายสินค้าบน Lazada อยู่ไหม
โดยสรุปแล้ว แม้การเปิดร้านค้าออนไลน์ใน Lazada จะทำได้ง่ายและช่วยเพิ่มช่องทางขายสินค้าให้เราได้มากขึ้น แต่สิ่งที่เราต้องความเข้าใจนอกเหนือจากว่าจะเปิดร้านยังไง และจะขายอะไร คงหนีไม่พ้นว่า เรามีค่าใช้จ่ายในการขายอะไรบ้าง? เพื่อให้เรามันใจว่าเปิดร้านแล้วจะมีกำไรปังๆ
นอกจากของ Lazada แล้ว เราไปดูตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการขายที่แม่ค้าออนไลน์ไม่ควรมองข้าม ไปดูรายละเอียดกัน
ค่าใช้จ่ายในการขายคืออะไร ?
ค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดเพื่อให้ขายสินค้าได้ หรือเพื่อให้ยอดขายเพิ่ม ตามคอนเซพท์แล้วยิ่งเราจ่ายค่าใช้จ่ายนี้มากขึ้นเท่าไร เราก็ควรจะมียอดขายกลับคืนมามากขึ้นเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการขายต่างกับต้นทุนขายยังไง?
ค่าใช้จ่ายในการขายต่างกับต้นทุนขายตรงที่ว่า ต้นทุนขายนั้น เป็นค่าใช้จ่ายติดตัวสินค้ามาแต่แรกหรือเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมขาย
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราเปิดร้านขายเสื้อสกรีน ต้นทุนสินค้าจะมีตั้งแต่ค่าเสื้อ ค่าออกแบบลายสกรีน แล้วก็ค่าบล็อกสกรีน เป็นต้น นึกง่ายๆ ว่าถ้ามีเสื้อขาว 1 ตัวอยากจะทำให้มันออกมาเป็นสินค้าเสื้อสกรีนสวยๆ 1 ชิ้นบ้างเราต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง และถ้าตัดตอนที่เสื้อสกรีนผลิตเสร็จพร้อมขายแล้ว ต่อจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของค่าใช้จ่ายในการขาย
ยกตัวอย่างเช่น
เสื้อสวยมากแต่ขายไม่ออก เลยต้องเสียเงินจ้างช่างภาพถ่ายรูป จ้างกราฟฟิกทำโฆษณา ฯลฯ จ่ายไปจนกว่าสินค้าชินนี้จะเป็นที่รู้จักและขายได้
ฉะนั้น ถ้าใครสังเกตดีๆ ก็จะพบว่า ระหว่างต้นทุนขาย VS ค่าใช้จ่ายในการขาย มันมีเส้นบางๆ ระหว่างกันซ่อนอยู่คือ จุดที่ของผลิตเสร็จพร้อมขายนั่นเอง ถ้าเกิดค่าใช้จ่ายก่อนจุดนี้จะถือเป็นต้นทุนขาย และเมื่อเกิดค่าใช้จ่ายหลังจุดนี้ก็จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย
ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการขาย ร้านค้าออนไลน์ เช่น
- ค่าขนส่ง (กรณีที่แม่ค้าจ่ายเอง ไม่เก็บกับลูกค้า) เช่น ค่าไปรษณีย์, Kerry, Flash, J&T Express ค่าขนส่งพวกนี้คิดตามน้ำหนักและขนาดของกล่อง
- ค่าโฆษณา ขายของออนไลน์ก็ต้องมีโปรโมทสินค้ากันบ้าง ผ่านทาง Facebook, IG, Tiktok ฯลฯ ตอนกดโปรโมทส่วนใหญ่จะผูกกับบัตรเครดิตไว้ แต่ทำบัญชีสิ้นเดือนมักลืมเอาค่าใช้จ่ายตัวนี้มีรวมด้วย
- ค่ารีวิวสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอย่างเครื่องสำอางค์หรืออาหาร ต้องมี influencer รีวิวถึงจะขายดี
- แจก แถมสินค้า แม้จะไม่เสียเงินสักบาท แต่เรามีต้นทุนสินค้า ที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเหมือนกัน
- ค่าคอมมิชชั่น ถ้าขายอาหาร ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นที่เรียกว่า GP ให้ Grab, Food Panda ซึ่งบางที่สูงกว่า 30% แต่ถ้าขายของออนไลน์ใน Shopee ค่าคอมมิชชั่นนี้เค้าจะหัก 3-5% ทันทีที่ขายของได้
ที่มา เพจ Zero to Profit , ขายของออนไลน์เริ่มยังไง 6 เรื่องบัญชีที่แม่ค้ามือใหม่ต้องรู้ , ขายของบน Lazada มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง , ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการขายที่แม่ค้าออนไลน์ไม่ควรมองข้าม