T-Shape Model คือ เก่งทั้งแบบลึกและเก่งในแบบกว้างๆ
1. สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนก็ปรับตัวได้เสมอ
เวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือโรคระบาด ทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ผู้บริหารประเมินแล้วว่าจะต้องลดต้นทุน คนที่เก่งหลายๆ ด้าน จะโดนผลกระทบน้อยกว่า ไม่โดนให้ออกง่ายๆ เพราะสามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา ไปทำงานในส่วนอื่นได้เพราะมีทักษะพร้อม อีกทั้งบริษัทก็ไม่จะไม่ค่อยปล่อยให้คนเก่งๆ หลุดมือไปง่ายๆ หรอก การหาคนเก่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่
แต่ถ้าหากต้องตกงานจริงๆ ก็ไม่คงตกงานยาว เพราะเอาความสามารถที่มีไปทำงานอย่างอื่นได้
2. ช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานของตัวเอง
T-Shape Model จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา และนำทักษะที่มีอยู่ไปเชื่อมโยงในเรื่องต่างๆ ทำให้ตัวเองทำงานต่อได้ คนกลุ่มนี้ปรับตัวเก่ง ทักษะที่มีก็จะช่วยลดความเสี่ยงและข้อจำกัดต่างๆ ที่จะสร้างผลกระทบต่อหน้าที่การงานได้อีกด้วย
3. ออกแบบช่องทางการสร้างรายได้หลายช่องทาง
ลองมาสำรวจตัวเองว่ามีความรู้ ความสามารถ และทักษะอะไรบ้าง และสิ่งเหล่านั้นสามารถเอาไปช่วยเหลือใครได้บ้าง บางทีเราอาจจะได้ช่องทางการหาเงินในรูปแบบใหม่ๆ ก็ได้
บางคนที่มีไอเดียเด็ดๆ ก็คงจะคิดหารายได้เพิ่มอีกเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างช่องดนตรีของตัวเองตามสื่อออนไลน์ การรับจ้างสอนดนตรี การแต่งเพลงขาย หรือไปรับงานเป็นดีเจเปิดเพลงก็ได้เหมือกัน เพราะฉะนั้นมีความสามารถอย่างเดียวไม่พอ ต้องลองออกแบบช่องทางการสร้างรายได้ที่หลากหลายไว้ด้วย
4. โอกาสต่อการเติบโตในองค์กร
การเติบโตตามตำแหน่งในองค์กรนั้น นอกเหนือจากต้องใช้ทักษะความสามารถเฉพาะทางแล้ว ความรู้รอบตัวก็สำคัญต่อตำแหน่งที่สูงขึ้นไม่แพ้กัน เพราะจำเป็นต้องอาศัยมุมมองที่หลากหลายต่อการตัดสินใจต่อเรื่องสำคัญอยู่เสมอ
ทุกคนมีสิ่งที่ตัวเองถนัดอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังไม่ลองศึกษาเพิ่มเติมให้ลึกเท่านั้นเอง หรือหากมีความสนใจหลายด้านก็ลองนำความรู้ในแต่ละด้านมาเชื่อมโยงกัน แล้วต่อยอดให้เป็นเรื่องใหม่ๆ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆ ที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันดู แนวทางนี้จะทำให้ทุกคนเก่งขึ้นและมีทักษะที่หลากหลายอย่างแน่นอน
ที่มา aommoney