Key Performance Indicators (KPIs) หรือ ดัชนีชี้วัดผลงานตลอดจนความสำเร็จของการทำงาน สำหรับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources - HR) มีหลายประการที่สามารถใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพและความสำเร็จของงานที่ทำในองค์กร
การใช้ KPIs เหล่านี้จะช่วยในการติดตามและวัดผลที่สำคัญสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
หมวดที่ 1 : งานด้านการวางแผนทรัพยากรบุคคล (HR Planning)
หมวดที่ 2 : งานด้านการสรรหาคัดเลือกบุคลากร (Recruitment & Selection)
หมวดที่ 3 : งานด้านการบริหารค่าตอบแทน (Compensation Management)
หมวดที่ 4 : งานด้านแรงงานสัมพันธ์ (Employee Relations)
หมวดที่ 5 : งานด้านการฝึกอบรม การพัฒนา และการจัดการ การเรียนรู้ (Training, Development & Learning)
หมวดที่ 6 : งานด้านการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Development)
หมวดที่ 7 : งานด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development)
หมวดที่ 8 : งานด้านการบริหารผลงาน (Performance Management)
หมวดที่ 9 : งานด้านสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (HRIS)
หมวดที่ 10 : ภาพรวมในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Overall)
ในแต่ละหมวดนั้นสามารถกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยที่จะประเมินผลการทำงานได้ตามความเหมาะสม โดยโครงสร้างตารางตัวอย่างดัชนีชี้วัดความสำเร็จสำหรับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR KPIs) ที่นำเสนอนี้จะเพิ่มรายละเอียดของการประเมินในแต่ละหัวข้อย่อยเข้ามาด้วยว่าหัวข้อในการประเมินผลแต่ละข้อนั้นสามารถประเมินผลได้ตามวัตถุประสงค์หลักใหญ่ๆ 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- ประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ประสิทธิผล (Effectiveness)
- ผลกระทบ / การส่งผล (Impact)
ประโยชน์ของการประเมินผลฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
1.กระตุ้นการทำงานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) ให้มีประสิทธิภาพขึ้น ปรับเปลี่ยนเป็นการปฎิบัติการเชิงรุกมากขึ้น
2.มีระบบตรวจสอบที่ใสสะอาด ยุติธรรม ไม่ก่อให้เกิดการทุจริต
3.งานสรรหามีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรสามารถคัดสรรคนที่มีศักยภาพมาร่วมงานได้มากขึ้น
4.บริหารจัดการงบประมาณได้ดีขึ้น
5.ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญสำหรับองค์กรได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ตลอดจนได้รับการพัฒนาศักยภาพ
6.มีศักยภาพในการแข่งขันกับองค์กรอื่นๆ
7.มีบุคลากรที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
8.มีการบริหารจัดการสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่าย
9.อัตราการลาออกน้อยลง และมีอัตราของการทำงานระยะยาวมากขึ้น
10.รู้ปัญหาต่างๆ ขององค์กรได้ทั้งในเชิงรายละเอียดปลีกย่อยและระดับมหาภาค
11.มีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาเสมอ มีการแก้ปัญหาเชิงรุก และสามารถช่วยดูแลตลอดจนแก้ไขปัญหา
12.บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น เกิดความก้าวหน้า และพัฒนาอย่างยั่งยืน
13.องค์กรมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมขึ้น ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์
14.บุคลากรมีวิสัยทัศน์มากขึ้น เนื่องมาจากองค์กรที่มีวิสัยทัศน์
15.เป็นฟันเฟืองที่ดีในการทำให้เศรษฐกิจพัฒนา, สังคมพัฒนา, ประเทศชาติพัฒนา, ตลอดจนสังคมโลกพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกัน
ที่มา hrnote.asia