ให้ทำ OT แต่ลูกจ้างไม่ทำ ถือว่าละทิ้งหน้าที่ไหม

        ตามหลักการ ว่า ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ทำงานล่วงเวลาให้แก่นายจ้าง นายจ้างจะสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ แต่ก็มีข้อยกเว้น 2 ข้อใหญ่ๆ คือ
1. เมื่อลูกจ้างให้ความยินยอมที่จะทำเอง (เป็นสิทธิของลูกจ้าง)
2. เมื่อมีเหตุจำเป็น กล่าวคือ โดยลักษณะหรือสภาพของงานจะต้องทำงานติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหาย หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรืองานอื่น 
กรณีนี้นายจ้างมีอำนาจสั่งฝ่ายเดียวได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ทำถือว่าจงใจขัดคำสั่ง โดยต้องพิจารณาลักษณะของงานที่ลูกจ้างทำประกอบด้วย กล่าวคือ ดูลักษณะงานถือเป็นเป็นเหตุจำเป็นหรือไม่ ถ้าไม่เป็นก็ไม่ถือว่าละทิ้งหน้าที่เด็ดขาด 


มีกรณีศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

          งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทำเป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชิ้นเล็กๆ เป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้นๆ แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไปก็ไม่ทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน แม้นายจ้างได้รับคำสั่งซื้อปลาสวรรค์จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ก็มิใช่งานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉิน งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ไม่ใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม การที่ลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลาไม่เป็นความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือเตือนและเลิกจ้าง

          การไม่ทำ OT อาจไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ทันที แต่การบริหารจัดการที่ดีและการสื่อสารที่ชัดเจนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม การที่ลูกจ้างไม่ทำงานล่วงเวลา (OT) แม้ว่าจะได้รับการสั่งให้ทำ อาจไม่ถือว่าละทิ้งหน้าที่เสมอไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ลูกจ้างอาจมีเหตุผลที่ไม่สามารถทำ OT ได้ เช่น มีเหตุฉุกเฉินส่วนตัว หรือปัญหาสุขภาพ การให้ลูกจ้างอธิบายเหตุผลและพิจารณาเหตุผลเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่หากลูกจ้างไม่ทำ OT โดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม องค์กรอาจต้องดำเนินการตามมาตรการทางวินัย เช่น การเตือน หรือการลงโทษตามนโยบายของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนด

 

ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน