ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเตือนที่จะมีผลถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น ต้องเป็นการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร การเตือนด้วยวาจาไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหากเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งหนังสือตักเตือน ไม่มีฟอร์มตายตัว หากมีรายละเอียดครบ ก็สามารถบังคับใช้ได้เลย
1.ต้องทำเป็นหนังสือ
(กรณีที่เตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อ นายจ้างไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในหนังสือเตือนได้ เพราะลูกจ้างไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องลงลายมือชื่อรับทราบคำเตือน ดังนั้นกรณีที่มีการเตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างไม่เซ็นรับหนังสือเตือนนั้น ให้อ่านให้ลูกจ้างและพยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแทน หรือ ไปยังที่อยู่ของลูกจ้าง )
2. ระบุให้ชัดเจนถึงผู้กระทำความผิด
ลักษณะของความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิด
3.ต้องมีข้อความระบุห้าม ไม่ให้ลูกจ้างทำ"ความผิดเดียวกัน"อีก หากยังกระทำซ้ำจะต้องถูกลงโทษ
หากลูกจ้างทำความผิดในความผิดเดียวกันภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่ทำความผิดครั้งแรก นายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (เว้นแต่ในข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดเป็นอย่างอื่น เช่นจะต้องมีการเตือน 3 ครั้ง ดังนั้นจึงต้องว่าไปตามข้อบังคับ)
ที่มา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน