-
-
ข่าวสาร
-
HRM
-
ลูกจ้างป่วย นายจ้างสั่งย้าย ไปทำงานที่เหมาะสม ถึงแม้เป็นงานที่มีลักษณะต่ำลง ก็สั่งย้ายได้
เพราะการย้าย การสับเปลี่ยนตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม เว้นแต่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณกับลูกจ้าง นายจ้างจึงจะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ซึ่งหลักเกณฑ์การย้ายหรือการเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ต้องไม่เป็นการ
- ไม่ลดตำแหน่ง
- ไม่ลดเงินเดือน
- ไม่ลดสวัสดิการต่าง ๆ
กรณีที่ลูกจ้างมีอาการป่วย นายจ้างจึงโยกย้ายไปทำงานส่วนอื่นที่เหมาะกับสภาพร่างกาย หากการย้ายไม่เป็นคุณแก่ฝ่ายลูกจ้าง เช่น ย้ายไปทำงานที่ไม่ถนัด หรือย้ายไปทำงานในตำแหน่งที่ตำกว่า หรือลดเงินเดือน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เป็นการลดทอนคุณค่าของตัวลูกจ้าง จะทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
หรือหากมีเหตุอันสมควร แม้จะเป็นการย้ายที่ต่ำลงก็ทำได้แต่ต้องไม่แตกต่างจากงานเดิมมาก ซึ่งการมีเหตุอันสมควรนั้นแม้จะทำให้ลูกจ้างไม่สะดวก ไม่ถนัด หรือรู้สึกงานหนักกว่าเดิมบ้างก็ถือเป็นอำนาจการบริหารจัดการที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่จะทำได้ เมื่อเป็นการย้ายเพื่อความเหมาะสมแก่สภาพร่างกายของลูกจ้างโดยมิได้กลั่นแกล้งจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อลูกจ้างได้รับคำสั่งให้ย้ายแล้วไม่ยอมย้ายงานเป็นเวลา 3 วัน นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ตามมาตรา 119(5) ได้
ที่มา กฎหมายแรงงาน
29 November 2023
View
714