กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างลาป่วยได้“เท่าที่ป่วยจริง”แต่การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ และในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ปัจจุบัน
กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ลาป่วยนั้นเท่ากับอัตราจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาป่วยแต่ในปีหนึ่งๆจะจ่ายไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน
แต่ทั้งนี้วันลาป่วยข้างต้นไม่รวมวันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเกิดขึ้น เนื่องจากทำงานและวันลาเพื่อคลอดบุตร
ส่วนปัญหาที่ว่า "ลาป่วย" ต้องป่วยหนักเพียงใดนั้นปัญหาข้อนี้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 2598/2541 วินิจฉัยว่า อาการของลูกจ้างที่ป่วยและมีสิทธิที่จะลาป่วยได้นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ เมื่อแปลในทางกลับกันก็จะเห็นได้ว่า อาการป่วยซึ่งแม้จะทำงานต่อไปได้ลูกจ้างก็สามารถลาป่วยได้ เพียงแต่ให้คำนึงว่ามีอาการผิดปกติทางร่างกายเท่านั้นเอง
ดังนั้น สิทธิที่จะลาป่วยไม่จำเป็นต้องป่วยหนัก ป่วยเบา ๆ ก็ลาป่วยได้
ที่มา เพจ กฎหมายแรงงาน
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
การลาป่วยโดยที่หมอนัดเป็นการรู้ล่วงหน้าถือว่าลาป่วยหรือไม่
อยู่ในช่วงทดลองงาน ลาป่วย นายจ้างหักเงินได้หรือไม่
ลาป่วยเท็จ นายจ้างจัดการอย่างไรดี
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้