ขอลากิจ แต่ไม่อนุญาตให้อ้างว่าไม่ใช่ธุระจำเป็น ตามหลักลากิจต้องพิจารณาว่าต้องไปทำกิจธุระด้วยตนเองหรือไม่
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นให้ลูกจ้างลาได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 3 วันทำงาน แต่ถ้านายจ้างจะให้ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นมากกว่า 3 วัน แต่จ่ายค่าจ้าง 3 วันก็ได้ หรือจะให้ลามากว่า 3 วัน และจ่ายค่าจ้างมากกว่า 3 วันก็ได้เช่นกัน
กิจธุระอันจำเป็นมีหลักการพิจารณาอย่างไร??
หมายถึง “กรณีลูกจ้างมีกิจธุระอันจำเป็นที่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง” หรือ “ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นของครอบครัว” โดยได้ยกตัวอย่างไว้ เช่น
- ทำบัตรประจำตัวประชาชน
- ทำใบอนุญาตขับขี่
- จดทะเบียนสมรส
- ลาอุปสมบท
- ลาปฎิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฎิบัติ
- จัดงานศพบุคคลในครอบครัว
- จัดงานสมรสบุตร
- จัดงานอุปสมบท
- เป็นต้น (แปลว่ายังมีกรณีอื่นได้อีก ข้างบนเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง)
ในทางปฎิบัติกรณีใดบ้างที่จะถือเป็นเหตุลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นและจะต้องปฎิบัติอย่างไร สามารถกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ชัดเจนและเป็นธรรม หรือดำเนินการตามธรรมวิธีปฎิบัติที่เป็นธรรมตามที่ได้ถือปฎิบัติกันมาก็ได้
ที่มา กฎหมายแรงงาน