Karoshi Syndrome (คาโรชิ ซินโดรม) คือ คำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "การตายจากการทำงานหนัก" หรือ "การตายจากการทำงานเกินเวลา" อาการเหนื่อย หรือ อ่อนเพลียจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย เครียดสะสม จนทำให้เกิดความเครียดและภาวะสุขภาพที่แย่ลง ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิต และอาจเกิดอาการร้ายแรงที่นำไปสู่ชีวิต เช่น หัวใจวาย
นายจ้างควรรู้ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ ส่งเสริมการหยุดพัก จำกัดการทำงานล่วงเวลามากเกินไป การจัดลำดับความสำคัญของงาน รักษาสมดุลชีวิตและการทำงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกัน Karoshi Syndrome ช่วยลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของทุกคนในองค์กร สร้าง Work-life balance ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
มาตรวจสอบตัวเองว่า มีภาวะ Karoshi Syndrome หรือไม่
- คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน
- ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
- ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ
- เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
- แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
- แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริง ๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
- ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก
น้องบีพลัสมีวิธีที่สามารถช่วยป้องกัน Karoshi Syndrome มาฝากกัน
-
จัดการเวลา ควบคุมเวลาที่ทำงานอย่างรอบคอบ และให้เวลาพักผ่อนเพียงพอ เพื่อลดความเครียดและปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว
-
สร้างการทำงานที่สมดุล สนับสนุนสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และให้พนักงานมีโอกาสทำกิจกรรมที่สนใจและส่งเสริมสุขภาพ เช่นการออกกำลังกาย.
-
จำกัดการทำงานล่วงเวลา นายจ้างควรเป็นตัวอย่างในการควบคุมการทำงานล่วงเวลาและไม่บังคับพนักงานทำงานมากเกินไป และควรจัดการตารางงานให้เหมาะสม
-
ส่งเสริมการพักผ่อน สนับสนุนการพักผ่อนในช่วงทำงาน เช่นการให้โอกาสพนักงานมีช่วงพักเที่ยงวันที่เหมาะสมและวันหยุดประจำสัปดาห์
-
ส่งเสริมสุขภาพที่ดี นายจ้างควรสนับสนุนการออกกำลังกายและสุขภาพที่ดีในทีมงาน โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและให้บริการที่สามารถช่วยพนักงานในการรักษาสุขภาพ
-
การติดตามสุขภาพ นายจ้างควรติดตามสุขภาพของพนักงานอย่างสม่ำเสมอและสนับสนุนการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำ
-
อาจจะต้องมีกฎระเบียบ การสร้างกฎระเบียบที่สนับสนุนสุขภาพและความเป็นมนุษย์ของพนักงานอาจจำเป็น เพื่อป้องกันการทำงานเกินควร
ที่มา สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย