ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ของเซลล์ เป็นค่าจ้างหรือไม่

          พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ค่าจ้าง”  หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้

องค์ประกอบของค่าจ้าง

  1. เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน       
  2. นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง               
  3. สำหรับการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน

          ทั้งนี้ต้องเป็นเงินของนายจ้างถ้าเป็นเงินทิปของลูกค้าที่นายจ้างนำมาเฉลี่ยจ่ายให้ลูกจ้าง ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง และต้องจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน  ดังนั้น เงินที่นายจ้างจ่ายไม่ใช่เป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง 

          เซลล์ หรือพนักงานขายและเก็บเงิน นายจ้างมักกำหนดเงินเดือน และมีการจ่ายค่าพาหนะ ค่าที่พักโดยเหมาจ่ายเป็นเดือน

การที่จะคิดว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ มี 2 ประเด็นคือ

  1. เงินเดือนหากต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนั้นหากค่าพาหนะ ค่าที่พักไม่ใช่ค่าจ้างก็จะทำให้การจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
  2. หากค่าจ้าง คือ เงินเดือน+ค่าพาหนะ ค่าที่พัก  มีผลต่อฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าตอบแทน ค่าชดเชย

เคยมีคำพิพากษาตัดสินว่า ค่าที่พัก ค่าพาหนะที่เหมาจ่ายถือเป็นค่าจ้าง เพราะถือเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของลูกจ้าง คดีนี้จึงต้องนำเอาเงินทั้ง 2 ยอดมารวมกัน เพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย

 

ที่มา กฎหมายแรงงาน