ERP คืออะไร
ทำความรู้จักกับ Enterprise Resource Planning หรือ ERP
นิยามของ ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ผู้ที่ให้นิยามคำว่า ERP เป็นคนแรกๆ คือ Gartner Group ในช่วงยุค 1990 โดยรวมเอาคำว่า Material Requirement Planning, Manufacturing Resource Planning และ Computer-Integrated Manufacturing เข้ามาเป็น Enterprise Resource Planning เพื่ออธิบายถึงการวางแผนจัดการทรัพยากรในระดับองค์กร ต่อมาเริ่มนำใช้คำว่า ERP เพื่อสะท้อนถึงการรวมซอฟต์แวร์ของแต่ระบบในองค์กร นอกเหนือจากเดิมที่เน้นอธิบายแค่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม
ERP หรือ Enterprise Resource Planning เป็นเสมือนตัวช่วยในด้านการวางแผนพร้อมจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กรขั้นพื้นฐาน มีส่วนสำคัญในการสร้างระบบบริหารจัดการ เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm) การทำงานได้อีกด้วย
ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน ERP sotfware จะเป็นตัวเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น วางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานสินค้าคงคลัง( Inventory) , การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า CRM , งานด้านการซื้อ , งานด้านการบัญชีและการเงิน(Accounting/Finance) และ ระบบขายหน้าร้าน POS เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้
- เกิดการปฏิรูปการทำงาน เพราะต้องศึกษาทบทวนและจัดกระบวนการทางธุรกิจ(Business Process)
- เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการธุรกิจ
- การบริหารสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ช่วยคาดการณ์ที่แม่นยำ
ผู้บริหารมีจาก ERP เพื่อใช้คาดการณ์และตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้ โดยใน ERP จะมีเครื่องมือที่กรองและวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนออกมา
- การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ลดขั้นตอน มีข้อมูลในแหล่งเดียวกัน
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
- ทำให้รับรู้สภาพหรือสถานะโดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์ ทุกที่ ทุกเวลา
- ปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
- พนักงานมีเวลาเหลือเพื่อคิดสร้างสรรค์ของให้เกิดการพัฒนาองค์กร และ เกิดผลสำเร็จ
อ้างอิง
www.theeleader.com
www.shortcutbiz.net