1. กรณีการขายสินค้าทั่วไป ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า
เว้นแต่ 1. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า 2. ได้รับชำระราคาสินค้า 3. ออกใบกำกับภาษี หากเกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้าให้ ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นแล้ว
เลขที่หนังสือ : กค 0702/4353
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษี
ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด (บริษัทฯ) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ขายสินค้า ให้กับสหกรณ์ที่ประกอบกิจการขนส่งและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ ขายสินค้าให้กับสหกรณ์โดยไม่ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้สหกรณ์ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีที่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายสินค้าหรือให้บริการกับลูกค้า บริษัทฯ มีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งในทันที่ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ลูกค้า ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าลูกค้าดังกล่าวจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ตาม
2. กรณีขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ หรือซื้อขายผ่อนชำระ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด เว้นแต่ 1. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ 2. ออกใบกำกับภาษี หากเกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นแล้ว
เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./9210
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าซื้อ
แนววินิจฉัย : การที่บริษัทฯ ขายรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อได้ชำระเงินล่วงหน้าเป็นค่ารถจักรยานยนต์บางส่วน และทำสัญญาเช่าซื้อกำหนดจำนวนเงินผ่อนชำระเป็นงวดๆ โดยเงินส่วนที่เหลือ บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวดนั้น เป็นการปฏิบัติชอบด้วยกฎหมายแล้ว สำหรับกรณี ผู้ซื้อขอเปลี่ยนเป็นการขายซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยชำระเงินตามราคาขายเงินสดและ ชำระราคารถจักรยานยนต์ก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดแรก เข้าลักษณะเป็นการขาย สินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อที่ได้มีการรับชำระราคาสินค้าก่อนถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่กำหนดตามมาตรา 78(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าสินค้าส่วนที่เหลือจึงเกิดขึ้นเมื่อได้มีการรับชำระราคาสินค้า บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่เหลือ
ที่ได้รับชำระทันทีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีการส่งออก/นำเข้า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงชำระอากรขาออก/ขาเข้า เว้นแต่ 1. ไม่ต้องเสียอากรขาออก/ขาเข้า หรือ 2. ได้รับยกเว้นอากรขาออก/ขาเข้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้า
เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.01936
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษี
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและส่งออกสินค้า รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เมื่อบริษัทฯ ได้รับใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศโดยมีเงื่อนไขการชำระเงินโดยให้ลูกค้าต่างประเทศจ่ายเงินมัดจำค่าสินค้าล่วงหน้า 50% ก่อนส่งมอบสินค้า และจ่ายเงินส่วนที่เหลืออีก 50% เมื่อส่งสินค้าลงเรือแล้ว
การส่งเงินชำระค่าสินค้าทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวข้างต้นลูกค้าต่างประเทศจะส่งผ่าน
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยโอนมาจากต่างประเทศ (T/T) บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อได้รับเงินมัดจำและเมื่อส่ง สินค้าลงเรือเรียบร้อยแล้วโดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จึงขอทราบว่าความเข้าใจของบริษัทฯถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : ตามมาตรา 78 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออกวางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก และตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าและการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้เก็บรักษาไว้
4. กรณีการให้บริการ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ 1. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ 2. ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเอง หรือบุคคลอื่น หากเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ
เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/1082
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจ้างผลิต
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างผลิตรูปลอกสำหรับติดเซรามิคต่าง ๆ เฉพาะที่มี ผู้ว่าจ้างเท่านั้นมิได้ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นการทั่วไป กรณีที่ลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่น (บริษัทญี่ปุ่น) สั่งให้บริษัทฯ ผลิตรูปลอกสำหรับติดเซรามิค บริษัทญี่ปุ่นจะเปิด
L/C ให้กับบริษัทฯ เป็นค่ารูปลอกที่ว่าจ้าง และให้บริษัทฯ ส่งสินค้าให้แก่บริษัท ก. จำกัด สำนักงานอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตภาชนะเซรามิค เพื่อทำการติดเผารูปลอกลงบนภาชนะเซรามิคของบริษัท ก. แล้วจึงบรรจุหีบห่อภาชนะเซรามิคที่ติดรูปลอกแล้วส่งออกไปยังบริษัทญี่ปุ่น เมื่อบริษัทฯ ส่งมอบรูปลอกให้แก่บริษัท ก. จำกัด ก็แจ้งไปยังบริษัทญี่ปุ่น เพื่อให้โอนเงินมาชำระค่าจ้างผลิตรูปลอก ดังนี้จะถือว่าการให้บริการดังกล่าวได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร หรือต่างประเทศเนื่องจากผู้จ่ายเงินค่ารูปลอกคือบริษัทญี่ปุ่น
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่บริษัทฯ รับจ้างผลิตรูปลอกตามคำสั่งจ้างของบริษัทญี่ปุ่น แต่ส่งสินค้าให้ผู้ผลิตภาชนะเซรามิคในประเทศไทยถือเป็นการรับจ้างทำของ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อมีการชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ10.0 จากบริษัทญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
5. กรณีพิเศษ
กิจกรรม VAT |
ความรับผิดในการเสีย VAT |
เว้นแต่ |
การขายกระแสไฟฟ้า/ น้ำประปา
/ สินค้าไม่มีรูปร่าง |
ได้รับชำระราคาสินค้า
|
มีการออกใบกำกับภาษีก่อน
รับชำระราคา
|
การขายสินค้าโดยชำระราคาด้วย
การใช้บัตรเครดิต
|
ส่งมอบสินค้า
|
1.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2.เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้
บัตรเครดิต หรือ
3.ได้ออกใบกำกับภาษี |
การให้บริการโดยชำระราคา
ด้วยการใช้บัตรเครดิต
|
มีการออกหลักฐานการใช้บัตร เครดิต
|
มีการออกใบกำกับภาษีก่อน
การออกหลักฐานการใช้บัตร เครดิต |
การขายสินค้าตามสัญญาจะ
ขายสินค้า
|
ส่งมอบสินค้า
|
1.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2.ได้รับชำระราคาสินค้า
3.ได้ออกใบกำกับภาษี |
การให้บริการที่กระทำใน
ต่างประเทศและใช้บริการ
นั้นในประเทศไทย
|
ได้มีการชำระราคาค่าบริกาทั้งหมด
หรือบางส่วน(ผู้จ่ายเงินค่าบริการ
มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 83/6(2)) |
|
กรณีรับโอนสิทธิในบริการที่
เคยเสีย VAT อัตรา 0% |
ได้รับชำระราคาค่าบริการ
|
|
เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการฯ ต้องออกใบกำกับภาษีทันที พร้อมกับส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร หากไม่ปฏิบัติตามจะมีความรับผิด ดังนี้
• กรณีไม่จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทันที
- รับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89(5)
- และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 90/2(3)
• กรณีจัดทำใบกำกับภาษี แต่ไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทันที
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 90/2(3)
ที่มา www.dst.co.th