เทคนิคการจัดการคลังสินค้าที่นำไปใช้ได้จริง

ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมในทุกยุคสมัยต่างต้องการการผลิตที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่ทราบว่าวิธีการจัดการคลังสินค้าก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถลดเวลาในการทำงานได้อย่างมาก เราไปทำความรู้จักกับวิธีการจัดการคลังสินค้าเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงข้อควรระวังในการจัดการคลังสินค้า

เสริมการผลิตด้วยการจัดการคลังสินค้า

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการจัดการคลังสินค้าเป็นเพียงการจัดเรียงสิ่งของอย่างง่าย ๆ ขอแค่มีพื้นที่เพียงพอและวางอะไรตรงไหนก็ได้ แต่แท้จริงแล้ว การจัดการคลังสินค้าที่มีคุณภาพนั้นมีผลต่อการผลิตในหลายด้าน เช่น

  • ลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว
  • เพิ่มพื้นที่ในโรงงาน
  • ใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

เหตุผลเหล่านี้ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ในปัจจุบันเน้นให้ความสำคัญกับการจัดการคลังสินค้าอย่างมาก หลายบริษัทจึงมีการสร้างหุ่นยนต์ขนย้ายเพื่อจัดการคลังสินค้าโดยเฉพาะ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น หุ่นยนต์ IoT และระบบ AI เข้ามามีส่วนร่วม

วิธีจัดการคลังสินค้า

หากคุณเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ต้องการจัดการคลังสินค้าของตนเอง ควรทำความเข้าใจกับ 3 ปัจจัยหลักสำหรับการทำคลังสินค้าเสียก่อน

  • รู้จักตนเอง ก่อนที่จะดำเนินการจัดการคลังสินค้า คุณควรทำความเข้าใจกับหัวข้อหลัก ๆ ได้แก่ งบประมาณการจัดการสินค้า คลังสินค้า พื้นที่ในโรงงาน ระบบขนส่งสินค้า ระบบจัดการ รวมไปถึงระบบไอทีภายใน ผู้ประกอบการหลายรายมุ่งเน้นการจัดการโดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ทำให้เกิดการใช้พื้นที่และงบประมาณอย่างสิ้นเปลือง ทางที่ดีฝ่ายวางแผนควรปรึกษากับทุกฝ่ายในบริษัทเพื่อจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้ดีที่สุด
  • รู้จักวัตถุดิบและสินค้า แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะไม่ใช่อาหาร แต่หลายอย่างก็ต้องการการดูแลเรื่องอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้นที่แตกต่างกัน การจัดการที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้สินค้าหรือวัตถุดิบเสื่อมคุณภาพ ใช้งานไม่ได้ตามต้องการ หรือทำให้ราคาตกได้
  • รู้จักตลาด การรู้จักตลาดมีผลต่อการผลิตที่มีคุณภาพ สินค้าหลายชนิดต้องมีการ “ผลิตล่วงหน้า” ตามความต้องการของตลาด การที่ฝ่ายการตลาดสามารถคาดการณ์ความต้องการเหล่านี้ล่วงหน้าได้ จะช่วยให้ไม่มีการผลิตมากเกินไป ซึ่งจะช่วยลดการขาดทุนทั้งในเรื่องเวลาและเงินตรา

จัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ

  • จัดหมวดหมู่ การกำหนดหมวดหมู่สินค้าและวัตถุดิบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการแบ่งรหัสสินค้าทุกอย่างอย่างชัดเจน จะทำให้ทั้งระบบสามารถจัดการและตรวจสอบได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นควรกำหนดโซนสินค้าโดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ เช่น การแยกสินค้าและพื้นที่การทำงานของบุคลากร หรือการแยกสินค้าที่นิยมกับสินค้าที่ไม่นิยม การแบ่งหมวดหมู่ที่มีระเบียบจะทำให้การขนส่งภายในและนอกโรงงานทำได้ไหลลื่น ลดอุบัติเหตุ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่
  • กำหนดจำนวนที่เหมาะสม แม้ว่าสินค้าจะขายดีเพียงใด แต่การจัดการคลังสินค้ามีขีดจำกัด ฝ่ายการผลิตควรกำหนด “ลิมิต” ในการผลิต เพื่อไม่ให้สินค้าล้นคลัง หรือหากจำเป็นควรมีการจัดการคลังสินค้าแยกชั่วคราวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการจัดการและคุณภาพก่อนส่งถึงมือลูกค้า
  • กำหนดระยะเวลา การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการจัดการแบบพอดี (Just in Time) ที่สามารถตรวจสอบและจัดส่งสินค้าได้ทันทีโดยไม่มีอะไรขาดเกิน
  • จัดระเบียบความปลอดภัย “Safety First” คือหลักสากลในการจัดการที่ผู้ประกอบการทุกท่านควรคำนึงถึง การจัดการคลังสินค้าควรคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน เช่น ไม่จัดเรียงสินค้าที่สูงเกินไป หรือวางของแบบไร้ระเบียบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายและสูญเสียมากกว่าที่คาดคิด
  • ตรวจสอบคลังสินค้าเป็นประจำ แม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยให้รับรู้สถานะสินค้าแบบเรียลไทม์ แต่ผู้ประกอบการควรเข้าไปประเมินและตรวจสอบสินค้าด้วยตนเอง การตรวจสอบนี้ไม่เพียงแต่ยืนยันว่าการจัดการคลังสินค้าเป็นไปอย่างถูกต้อง ยังช่วยระบุช่องโหว่ในระบบคลังสินค้า ทำให้มั่นใจว่าการจัดการเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด

ข้อควรระวังเมื่อจัดการคลังสินค้า

ไม่ว่าคุณจะจัดการคลังสินค้าได้ดีแค่ไหน ก็ยังมีข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึงทุกครั้งที่ดำเนินการสร้างหรือตรวจสอบคลังสินค้า โดยมีหลัก 3 ประการที่ต้องระวังดังนี้

  • อุปกรณ์ต้องได้มาตรฐาน เพื่อการจัดการทุกอย่างแบบเรียลไทม์ ไม่ขาดตกบกพร่อง และส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า อุปกรณ์ควรมีคุณภาพ อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดการความปลอดภัยที่ดีเพียงพอเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากผู้อื่น
  • พนักงานทุกคนต้องเข้าใจความสำคัญ แม้งานบางส่วนอาจกินเวลา แต่พนักงานควรเห็นว่าการจัดการคลังสินค้าเป็นเรื่องสำคัญ การสร้างความเข้าใจนี้จะช่วยให้พนักงานไม่ละเลยการทำงานในส่วนนี้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ต้นทุนการจัดการต้องสอดคล้องกับการใช้งาน การจัดการคลังสินค้าควรคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม หากมีสินค้ามากและมีรายรับมาก ก็ควรเพิ่มความจัดการให้มีระบบมากขึ้น ในทางกลับกัน หากมีสินค้าน้อยและมูลค่าน้อยก็อาจไม่ต้องลงทุนมาก เน้นการจัดการที่ดีเป็นเพียงพอ

 

การทำความเข้าใจในหลักการเหล่านี้จะช่วยให้คุณจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การจัดการที่ดีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและเพิ่มความสำเร็จในธุรกิจของคุณ

ที่มา www.sumipol.com