หลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. การฝากขายโดยไม่มีสัญญาการตั้งตัวแทน
1.1 รับรู้รายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการฝากขาย โดยถือว่าผู้รับฝากขายเป็นผู้ซื้อสินค้า
1.2 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้า ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น คือ
2. การฝากขายโดยมีสัญญาการตั้งตัวแทน
2.1 กิจการสามารถรับรู้รายได้เมื่อตัวแทนผู้รับฝากสินค้าขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ
2.2 ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้นๆ ด้วย
- ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ
- ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า
- ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
- ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น
- สำหรับการจัดทำสัญญาตั้งตัวแทนเพื่อขาย จะต้องเป็นการจัดทำสัญญาตั้งตัวแทนตามหลักเกณฑ์ ที่อธิบดีฯ กำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขาย มีดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
2. สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
3. ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
4. ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา
5. ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่
6. ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ที่มา www.twentyfouraa.com
อ้างอิง: คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 และ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)