เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 การยังชีพของมนุษย์ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์" จึงเป็นธุรกิจที่รุ่งเรืองตลอดกาล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้ว พร้อมทานได้เลย เพียงแค่ทำให้สุกก่อนทาน หรือนำไปต่อยอดประกอบเป็นอาหารอื่นๆ ได้ ทั้งยังสามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการที่คิดหารายได้จากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรุปเหล่านี้ต้องศึกษาเรื่อง "ภาษี" ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎหมายก่อประโยชน์ถึงการเจริญเติบโตของกิจการ และผลกำไรในอนาคตอีกด้วย
* ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร |
* ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้จากการขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี) |
* จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า |
นำเข้า |
ผลิต |
จำหน่าย |
ส่งออก |
ลงทะเบียน Paperless |
ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน |
ออกใบกำกับภาษี |
ลงทะเบียน Paperless |
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า |
ขออนุญาตสถานที่ผลิต |
จัดทำรายงานภาษี |
ขั้นตอนพิธีการส่งออก |
ขออนุญาตสถานที่ผลิต |
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษีี |
จัดทำรายงานภาษี |
ขอรับรองจากปศุสัตว์ |
จัดทำรายงานภาษี |
|
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ |
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
|
|
จัดทำรายงานภาษี |
|
|
|
ยื่นแบบฯ และเสียภาษี |
|
|
|
บอกเล่าก่อนเข้าเรื่อง
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ถือเป็นกิจการถนอมอาหารประเภทหนึ่ง ที่ใช้วัตถุดิบ (เนื้อสัตว์) ตามแต่ละท้องถิ่นมาแปรรูป เช่น แหนม หมูยอ ไส้กรอก หมูส้ม และกุนเชียง เป็นต้น โดยกรรมวิธีการผลิตจากเดิมมักจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันได้มีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาทดแทน เพื่อการผลิตที่ได้มาตรฐาน อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์"
ผลิตภัณฑ์ |
กรรมวิธี |
แหนม |
เนื้อหมูล้วน >> บด+ผสมเครื่องปรุง >> บรรจุถุง
|
หมูยอ
|
เนื้อหมูล้วน >> บด+ผสมเครื่องปรุง >> อัดเป็นแท่ง >> นำไปต้ม
|
ไส้กรอกและหมูส้ม
|
เนื้อหมูและสามชั้น >> ผสมเครื่องปรุง >> ใส่เครื่องอัด >> บรรจุถุง
|
กุนเชียง
|
ตัดแต่งเนื้อหมู >> บด >> ผสมเครื่องปรุง >> บรรจุในไส้ >> พัก 7 วัน
|
ก้าวสู่การเป็น "ผู้ผลิต"
เมื่อคิดจะประกอบอาชีพใดๆ ที่จะสร้างรายได้คุณต้อง การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากรก่อน และหากรายได้ของคุณมาจากการค้าขายหรือบริการคุณต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยยื่นจดตามหน่วยงานที่กรมสรรพากรกำหนด
เรื่องน่ารู้คู่ภาษี
แหนม หมูยอ ไส้กรอก และกุนเชียง หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน คือผลิตภัณฑ์อันเกิดจาก "เนื้อสัตว์" ซึ่งหากเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปใดๆ แล้ว ในทางกฎหมายไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขาย "เนื้อสัตว์" เกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยอัติโนมัติ (เฉพาะกรณีเป็นเนื้อสัตว์จำหน่ายในประเทศเท่านั้น)
แต่เมื่อ "เนื้อสัตว์" ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ข้างต้น คุณจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ในกรณีมีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามจริง) ซึ่งหากรายได้จากการขายสินค้าของคุณไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณก็สามารถเลือกที่จะจดหรือไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โดยที่
- ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงตนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร
- ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คุณต้องทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายในแต่ละปี เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรต่อไป
- เป็นผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบ หรือส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ว่าจะมีรายได้จากยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ก็ตาม)
ทั้งนี้ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ "จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" ไม่ว่าเนื่องจากกรณีใดๆ คุณต้อง
- จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้นำเข้า)
- จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และ/หรือเป็นผู้ส่งออก)
จากนั้นจึง ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน แจ้งกำหนดแรงม้า และเครื่องจักรรวม กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นต้อง ขออนุญาตสถานที่ผลิต โดยตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการต้อง เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วย
ทั้งยังต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตามหลักการที่ว่า ‘ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าอะไร อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม หากคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์
เคล็ดลับ… กับภาษีอากร
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายได้เดือนมกราคม–มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายได้เดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป
ผู้ประกอบการที่จะทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง
-
ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือน (ครึ่งรอบ) ของรอบระยะเวลาบัญชี
-
ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีแบบฟอร์ม รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ของกรมสรรพากร เพื่อจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐานเพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษี (ตามมาตรา 87, 87/3 แห่งประมวลรัษฎากร)
เมื่อเอกสารพร้อมก็สามารถดำเนินการผลิตเพื่อจำหน่ายได้ แต่เนื่องจาก "อาหาร" เป็นสิ่งที่จะเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น คุณภาพและความปลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง คุณจึงต้อง ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบความสะอาดและคุณภาพของ "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว" ของคุณตาม พระราชบัญญัติอาหาร ด้วย
เรื่องน่ารู้คู่ภาษี
- การนำเข้า "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" มาผลิตแล้วขายในประเทศการนำเข้า อัตราภาษี 7%
- "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" มาผลิตแล้วส่งออก อัตราภาษี 0%
- ซื้อ "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" ในประเทศ มาผลิตแล้วขายในประเทศ อัตราภาษี 7%
- ซื้อ "เครื่องจักร/วัตถุดิบ" ในประเทศ มาผลิตแล้วส่งออก อัตราภาษี 0%
รู้ลึกเรื่อง "นำเข้า"
เมื่อ จดทะเบียนพาณิชย์ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้ว คุณจะต้อง ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (ลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น) และ ส่งข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านระบบพิธีการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามช่องทางการนำเข้า ได้แก่ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางไปรษณีย์ พร้อมทั้งศึกษาเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อสัตว์ และ เครื่องจักร เพื่อจดตัวเลข 8 หลักมาใช้ในการประเมินราคาการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
นอกจากนี้ คุณจะต้องมีใบอนุญาตและหนังสือรับรองจาก "กรมปศุสัตว์" เพราะผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เป็นสินค้าที่ควบคุมการนำเข้า ขออนุญาตสถานที่ผลิต หน่วยงานราชการท้องถิ่นใดที่รับผิดชอบ และ ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อเอกสารได้รับการอนุญาตจากทุกหน่วยงานอย่างสมบูรณ์ ระบบจะทำการปล่อยสินค้าอัตโนมัติ คุณสามารถติดต่อโรงพักสินค้าเพื่อออกและนำของออกอารักขาศุลกากรได้จากหน่วยงานที่ศุลกากรกำหนดไว้
ซึ่งคุณจะต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ และ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อใช้ประกอบการยื่นเสียภาษีในเวลาต่อมาด้วย
พร้อม "ส่งออก"
สิ่งแรกที่ต้องทำในขั้นตอนการส่งออกหลังจดทะเบียนพาณิชย์ มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คือ ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกตามคู่มือระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (เฉพาะครั้งแรกของการส่งออกหรือนำเข้าเท่านั้น) และส่งข้อมูลเพื่อจัดทำ ใบขนสินค้าขาออก ผ่านระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน
ผู้ส่งออกต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ว่าส่งออกไปช่องทางไหน ทางเรือ ทางรถยนต์ ทางอากาศ หรือทางไปรษณีย์ และควรตรวจสอบข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศปลายทางที่นำเข้าไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น
ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์นั้นจะได้รับการยกเว้นอากรในใบขนส่งสินค้าขาออกโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในเรื่องการบรรจุสินค้า คุณจะต้องปรึกษา หรือ ติดต่อ ตัวแทนออกของ ดูแลให้ ซึ่งสถานที่ในการบรรจุจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรด้วย และการเป็นผู้ส่งออกนั้นคุณต้องจัดทำ รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ด้วย
กิจกรรมภาษีประจำปี...เมื่อมีรายได้
ยอดขายหรือรายได้ที่คุณได้รับจากการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศนั้น ทำให้คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ของคุณ ได้แก่ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม
-
ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
-
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในการผลิตสินค้า การบรรจุ การขนส่ง ฯลฯ ต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
-
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อ/นำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต ราคาที่คุณซื้อมักบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย
ที่มา คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง