ประเด็นภาษี ซื้อของจับฉลากปีใหม่ให้พนักงาน

จะปีใหม่แล้ว บริษัทหลายๆที่อาจจะมีกิจกรรมซื้อของขวัญมาจับฉลากให้พนักงานร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการตอบแทนที่พนักงานตั้งใจทำงานเพื่อบริษัทมาตลอดทั้งปี โดยในเรื่องนี้ให้มองเป็นสวัสดิการพนักงาน ถ้ากิจการมีการกำหนดระเบียบพร้อมทั้งให้พนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อของสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
  • ภาษีซื้อขอคืนได้
  • ภาษีขายเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบของจับฉลาก ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพราะไม่ได้มีการขายจริง แต่ต้องยื่นภาษีขาย
  • พนักงานที่ได้รับของถือเป็นเงินได้ 40(1) ต้องนำไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไรไปดูกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากกิจการซื้อของมาจับสลากให้พนักงานลูกจ้างตามข้อกำหนดหรือระเบียบที่กิจการทำหนดไว้อย่างชัดเจน จึงมีสิทธินาเงินที่จ่ายไปแล้วนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

พนักงาน นายจ้าง

เมื่อพนักงานได้รับเงินรางวัล ควรถือเป็นค่าสวัสดิการพนักงาน เป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตาม ม. 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานที่ได้รับรางวัลต้องนำเงินรางวัลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลรรรมดา

กิจการผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม ม. 50 (1) กรณีไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบรรรมเนียมประเพณีตามมาตรา 42 [10) แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการไม่ต้องห้ามตาม ม.82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร
  • กิจการมีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกิจการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มVAT 7% ของมูลค่าของรางวัลที่กิจการจัดหามาเพื่อแจกรางวัลให้กับพนักงาน เพราะเข้าลักษณะเป็นการขายตามมาตรา 77/1 [8) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ซึ่งกิจการไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการมอบของรางวัลดังกล่าวก็ได้ ตามข้อ 2 [10) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/542ฯ
  • แต่ต้องนำรายการดังกล่าวไปลงในรายงานภาษีขายตามข้อ 7(6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)ฯ และให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เมื่อพนักงานได้รับรางวัลจากการจับสลากจะถูกกิจการ(นายจ้าง) หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

เพจ : เพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี