ตอนที่เราซื้อทรัพย์มีการอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี เราจะไม่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที ณ วันที่ซื้อ เราจะต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินเอาไว้ก่อน เพราะถ้าบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อซื้อ จะเป็นการรับรู้ค่าใช้จ่ายเร็วเกินไป เนื่องจากทรัพย์มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะบัญชี ดังนั้นเราจะต้องทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ใช้งานทรัพย์สินในรูปของ "ค่าเสื่อมราคา" ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ที่ดินไม่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้, อุปกรณ์ให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี เป็นต้น
มาตรา 65 ตรี (5) บอกว่า “รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินเป็นรายจ่ายต้องห้าม”
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่อกิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง : ตามงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) กำหนดให้รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่อกิจการเป็นระยะวลานานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีงินได้
ทันทีที่เราซื้อคอมพิวเตอร์มูลค่า 20,000 บาท มาใช้ในกิจการเราจะไม่สามารถบันทึกคอมพิวเตอร์ 20,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที เพราะอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ไม่ได้หมดไปทันทีเมื่อเราซื้อ จะทำให้เรารับรู้ค่าใช้จ่ายเร็วเกินไป
ชื้อทรัพย์สินที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี > บันทึกเป็นทรัพย์สินถาวร > รับรู้ค่าใช้จ่ายในรูปของค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานของทรัพย์สิน
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามที่สรรพากรกำหนด
ประเภททรัพย์สิน
|
อัตราหักค่าเสื่อม |
(1) อาคาร
- อาคารถาวร
- อาคารชั่วคราว
|
ร้อยละ 5 [20 ปี)
ร้อยละ 100 (1 ปี)
|
(2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรรรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้
|
ร้อยละ 5 (20 ปี)
|
(3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
- กรณีไม่มีหนังสือสัญญาช่า หรือสามารถต่ออายุได้เรื่อยๆ
- กรณีมีกำหนดอายุสัญญาช่า
|
ร้อยละ 10 [10 ปี)
ตามอายุสัญญาเช่า
|
(4) เครื่องหมายการค้า สิทธิประกองกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
- กรณีไม่จำกัดอายุการใช้
- กรณีจำกัดอายุการใช้
|
ร้อยละ 10 (10 ปี)
ตามอายุ
|
(5 ทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น คอมผิวเตอร์ เครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน |
ร้อยละ 20 (5 ปี) |
**ที่ดินหักค่าเสื่อมราคาไม่ได้
ตัวอย่างการคำนวนค่าเสื่อมราคา
เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2562 บริษัทซื้อคอมพิวเตอร์ราคา 20,000 บาท ผู้บริหารประมาณอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ 5 ปี หลังครบอายุการใช้านจะมีราคาซาก 5,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาทุน - ราคาซาก) / อายุการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (20,000 - 5,000) / 5
ค่าเสื่อมราคาต่อป = 3,000 บาท
บริษัทจะมีค่ใช้จ่ายในรูปแบบของค่าเสื่อมราคาปีละ 3,000 บาทจากการซื้อคอมพิวเตอร์
หมายเหตุ: กรณีซื้อสินทรัพย์ในระหว่างปีให้คิดค่าเสื่อมราคาตามจำนวนวันที่ใช้งานในปีนั้น
แล้วสรุปว่าถ้าเราซื้อทรัพย์สินถาวรที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่???
คำตอบก็คือ… ตอนที่เราซื้อทรัพย์มีการอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี เราจะไม่สามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที ณ วันที่ซื้อ เราจะต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินเอาไว้ก่อน
เพราะถ้าบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อซื้อ จะเป็นการรับรู้ค่าใช้จ่ายเร็วเกินไป เนื่องจากทรัพย์มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะบัญชี ดังนั้นเราจะต้องทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ใช้งานทรัพย์สินในรูปของ “ค่าเสื่อมราคา”
ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ที่ดินไม่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้, อุปกรณ์ให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี เป็นต้น
ข้อควรระวัง
ไม่ว่าสินทรัพย์จะมูลค่ากี่บาท ถ้าอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปีต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ถาวรเช่น ซื้อเครื่องคิดเลข 150 บาท ถ้าเราบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที ค่าใช้จ่ายดังนั้นจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีทันที
ที่มา www.iliketax.com